posttoday

Top 5 สตรีทฟู้ดเมืองไทยที่พบเชื้ออีโคไลมากที่สุด

23 กันยายน 2562

อร่อยแค่ไหนก็อย่าไว้ใจเชื้ออีโคไล สาเหตุโรคท้องร่วง หลังพบ "ข้าวหมูแดง-หมูกรอบ -ข้าวมันไก่-ข้าวขาหมู-ส้มตำไทย" Top 5 อาหารริมบาทวิถีที่ตรวจพบเชื้ออีโคไลมากที่สุด

อร่อยแค่ไหนก็อย่าไว้ใจเชื้ออีโคไล สาเหตุโรคท้องร่วง หลังพบ "ข้าวหมูแดง-หมูกรอบ -ข้าวมันไก่-ข้าวขาหมู-ส้มตำไทย" Top 5 อาหารริมบาทวิถีที่ตรวจพบเชื้ออีโคไลมากที่สุด

Top 5 สตรีทฟู้ดเมืองไทยที่พบเชื้ออีโคไลมากที่สุด

กรุงเทพมหานคร เป็นสวรรค์ของคนรักสตรีทฟู้ด หรือร้านอาหารตามสองข้างทาง ซึ่งผูกพันกับการใช้ชีวิตประจำวันของประชาชนทุกระดับ จึงมีโครงการ “การพัฒนารูปแบบการจัดการอาหารริมบาทวิถีเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ”  เกิดขึ้นเพื่อบรรเทาปัญหาอันเนื่องมาจากการค้าขายอาหารสตรีทฟู้ดในทุกมิติ

ผศ.ดร.เรวดี จงสุวัฒน์ หัวหน้าภาควิชาโภชนวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นอุปนายกสมาคมฯ และหัวหน้าโครงการ “การพัฒนารูปแบบการจัดการอาหารริมบาทวิถีเพื่อเสริมสร้างสุขภาพ” ภายใต้การดูแลของสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และทุนสนับสนุนจาก กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เผยว่า โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการสตรีทฟู้ด หรืออาหารริมบาทวิถี พัฒนารูปแบบการจัดการอาหารริมบาทวิถีที่สร้างเสริมสุขภาพ และเพื่อเผยแพร่ความรู้ อันจะเป็นประโยชน์ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การบริโภคของประชาชนและการพัฒนาคุณภาพผู้ประกอบการ

Top 5 สตรีทฟู้ดเมืองไทยที่พบเชื้ออีโคไลมากที่สุด

Top 5 สตรีทฟู้ดเมืองไทยที่พบเชื้ออีโคไลมากที่สุด

Top 5 สตรีทฟู้ดเมืองไทยที่พบเชื้ออีโคไลมากที่สุด

Top 5 สตรีทฟู้ดเมืองไทยที่พบเชื้ออีโคไลมากที่สุด

Top 5 สตรีทฟู้ดเมืองไทยที่พบเชื้ออีโคไลมากที่สุด

ซึ่งกลุ่มตัวอย่างสำหรับการศึกษา ได้แก่ ผู้บริโภค ผู้จำหน่าย และผู้ใช้กฎหมาย โดยศึกษาจากอาหารริมบาทวิถี จากพื้นที่ที่ศึกษา 6 เขตในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ เขตพญาไท เขตราชเทวี เขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์-เยาวราช เขตสาทร-สีลม และเขตบางกอกน้อย จำนวน 50 ตัวอย่าง ผลการศึกษาคุณค่าทางโภชนาการและคุณภาพทางจุลชีววิทยา ตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์เกินค่ามาตรฐานถึง 21 ตัวอย่าง (42%) โดยเชื้อที่ตรวจพบส่วนใหญ่คือ เชื้ออีโคไล (E.coli) จำนวนถึง 19 ตัวอย่าง ส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ไม่ผ่านความร้อน ก่อนการจัดเสิร์ฟ โดยข้าวหมูแดง-หมูกรอบ และข้าวมันไก่ เป็นชนิดของอาหารริมบาทวิถีที่ตรวจพบเชื้ออีโคไลมากที่สุด รองลงมาคือ ข้าวขาหมู และส้มตำไทย

สำหรับโรคท้องร่วงจากเชื้ออีโคไล ยังเป็นโรคติดเชื้อติดอันดับต้นๆ ของประเทศไทย เป็นเชื้อที่อยู่ในอุจจาระ ไม่ควรจะมาอยู่ในอาหาร ซึ่งบางคนที่ไม่มีภูมิต้านทานจะมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรง เพราะสูญเสียเกลือแร่ อ่อนเพลีย ยิ่งถ้าเป็นผู้สูงอายุหรือเป็นเด็กเล็ก ก็จะอันตรายกว่าผู้ใหญ่ด้วย เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าอาหารริมบาทวิถี หรือสตรีทฟู้ด ไม่สะอาดปลอดภัยร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เราก็ยังคงรับประทานกัน ดังนั้น เหตุผลที่ได้ริเริ่มทำโครงการนี้ นอกจากจะทำเพื่อสุขภาพอนามัยสำหรับคนไทยที่ส่วนใหญ่นิยมรับประทานอาหารประเภทนี้แล้ว ยังทำเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศด้วย เพราะนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวบ้านเรา ไม่ได้มีภูมิต้านทานเหมือนคนไทย จึงควรมีการวิจัยเพื่อรณรงค์ สร้างจิตสำนึกร่วมกันในการทำให้อาหารริมบาทวิถีสะอาดปลอดภัยอย่างจริงจัง

จากข้อมูลผู้บริโภคอาหารริมบาทวิถีในพื้นที่ศึกษา พบว่าส่วนใหญ่เป็นนักเรียน/นักศึกษา และพนักงานเอกชน สถานภาพโสด รายได้ไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท โดยมีการใช้จ่ายเป็นค่าอาหารริมบาทวิถีวันละไม่เกิน 100 บาท มีความถี่ในการบริโภค 7 ครั้ง/สัปดาห์ นิยมซื้อบริโภคเป็นอาหารมื้อเย็น ซึ่งอาหารริมบาทวิถีที่ผู้บริโภครับประทานบ่อยที่สุด ได้แก่ อาหารปิ้ง/ย่าง/เผา และอาหารตามสั่ง เหตุผลหลักในการเลือกซื้ออาหาร คือ สะดวก/เข้าถึงง่าย และราคาถูก