posttoday

25 ตำรับยาพาราเซตามอลที่เพิกถอน เพราะอะไร มีอะไรบ้าง

17 กันยายน 2562

รู้แล้วหรือยัง อย.แก้ไขฉลากและเอกสารกำกับยา เรื่องขนาดการรับประทานยาพาราเซตามอล จากเดิมที่เขียนว่า "รับประทานครั้งละ 2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง" เป็นรับประทานตามน้ำหนักตัวของผู้ป่วย คือทุก 50 กิโลกรัม รับประทาน 1 เม็ด เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ยา

รู้แล้วหรือยัง อย.แก้ไขฉลากและเอกสารกำกับยา เรื่องขนาดการรับประทานยาพาราเซตามอล จากเดิมที่เขียนว่า "รับประทานครั้งละ 2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง" เป็นรับประทานตามน้ำหนักตัวของผู้ป่วย คือทุก 50 กิโลกรัม รับประทาน 1 เม็ด เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ยา

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่คำสั่งกระทรวงสาธารณสุข ที่ 780/2562 เพิกถอนทะเบียนตํารับยาพาราเซตามอล 25 ตำรับ เนื่องจากปัจจุบันพบปัญหาจากการใช้ยาพาราเซตามอลมากขึ้น โดยพบทั้งอาการไม่พึงประสงค์ในลักษณะการแพ้ยา และอาการผลข้างเคียง เช่น การเกิดพิษต่อตับ จากการใช้ยาไม่เหมาะสม การได้รับยาซ้ำซ้อน การใช้ยาเกินขนาดโดยไม่ตั้งใจ หรือการใช้ยาร่วมกับการดื่มเครื่องดื่ม ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นความเสี่ยงให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้ใช้ยา

25 ตำรับยาพาราเซตามอลที่เพิกถอน เพราะอะไร มีอะไรบ้าง

นพ.สุรโชค ต่างวิวัฒน์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ยาพาราเซตามอลที่ขึ้นทะเบียนตำรับยากับ อย. มีมากกว่า 100 ตำรับ ซึ่งจากการเดินหน้าเรื่องความปลอดภัยในการใช้ยาและการใช้ยาอย่างสมเหตุผล จึงได้มีคำสั่งให้ผู้ผลิตและผู้นำเข้ายาพาราเซตามอลให้แก้ไขฉลากและเอกสารกำกับยาในเรื่องของขนาดการรับประทานยาพาราเซตามอล จากเดิมที่เขียนไว้ว่า "รับประทานครั้งละ 2 เม็ด ทุก 4-6 ชั่วโมง" ให้เปลี่ยนมาเป็นรับประทานตามน้ำหนักตัวของผู้ป่วย คือทุก 50 กิโลกรัมรับประทาน 1 เม็ด อย่างคนที่น้ำหนัก 75 กิโลกรัม ก็รับประทาน 1 เม็ดครึ่ง เป็นต้น ที่กำหนดเช่นนี้ก็เพื่อความปลอดภัยในการใช้ยาพาราเซตามอล เพราะการรับยาพารายาเซตามอลมากเกินไป มีรายงานว่าจะทำให้เกิดภาวะตับอักเสบได้

หลังจากมีคำสั่งให้แก้ไขฉลากและเอกสารกำกับยาพาราเซตามอล ผู้ผลิตและผู้นำเข้าได้มายื่นแก้ไขเรียบร้อยแล้วเหลือเพียงยาพาราเซตามอล 25 ตำรับดังกล่าวที่ออกประกาศที่ไม่ได้มีการแก้ไข เนื่องจากเป็นยาที่ไม่ได้มีการผลิตแล้ว แต่ยังไม่หมดอายุทะเบียนตำรับยา จึงได้มีคำสั่งเพิกถอนทะเบียนดังกล่าว ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ยาทั้ง 25 ตำรับนั้นอันตรายหรือตัวยาอันตรายต่างจากยาพาราเซตามอลตำรับอื่นๆ เพียงแต่เมื่อไม่ได้มาเปลี่ยนเอกสารกำกับยาและฉลาก หากให้ใช้ต่อไปอาจเกิดอันตรายต่อผู้ป่วยได้ จึงขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนกหรือกังวลในเรื่องนี้

สำหรับยาพาราเซตามอลทั้ง 25 ตำรับ ที่เพิกถอนทะเบียนประกอบด้วย

  1. V-COLDTAC ทะเบียน 2A 501/27
  2. SALICAP ทะเบียน 2A 158/31
  3. V-COLDTAC ทะเบียน 2A 228/44
  4. ORPHENTA ทะเบียน 2A 4/52
  5. PARADROP ทะเบียน 1A 516/41
  6. PHENACOLD ทะเบียน 2A 108/32
  7. PONY SYRUP ทะเบียน 2A 31/38
  8. PARANIC TABLETS ทะเบียน 2A 2/41
  9. MICOLD ทะเบียน 2A 178/50
  10. REDDY TABLET ทะเบียน 1A 65/46
  11. UPCOPAN ทะเบียน 2A 32/38
  12. CETAMOL ทะเบียน 1A 1234/27
  13. CODAMOL TABLETS (WHITE) ทะเบียน 1A 1511/30
  14. CODAMOL TABLETS ทะเบียน 1A 1786/30
  15. PARACETAMOL 325 MG. TABLETS ทะเบียน 1A 175/37
  16. PARACETAMOL 325 MG. TABLETS (WHITE) ทะเบียน 1A 953/42
  17. PARACETAMOL 325 MG. TABLETS (GREEN) ทะเบียน 1A 955/42
  18. PARITER ทะเบียน 1A 125/48
  19. CODAMOL ทะเบียน 1A 663/50
  20. DAY TEMP PARACETAMOL 500 ทะเบียน 1A 51/55
  21. DAY TEMP PARACETAMOL 500 ทะเบียน 1A 66/55
  22. FARMARS(R) PARACETAMOL 500 ทะเบียน 1A 30/57
  23. CODARIN - A ทะเบียน 2A 250/27
  24. CODATAB ทะเบียน 2A 416/28
  25. KALA - SYRUP DROPS ทะเบียน1A 284/54

 

25 ตำรับยาพาราเซตามอลที่เพิกถอน เพราะอะไร มีอะไรบ้าง