posttoday

ไลฟ์สไตล์และการกินแบบไหน ช่วยให้หัวใจไม่ขาดการดูแล

07 กรกฎาคม 2562

หัวใจที่แข็งแรงช่วยให้อายุยืนยาว แต่ศัตรูตัวร้ายอย่าง "โรคหัวใจและหลอดเลือด" อันตรายซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรม กลับมีสถิติผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกวัน และยังเป็นสาเหตุที่คร่าชีวิตมนุษย์ก่อนวัยอันควรเป็นอันดับต้นๆ ดังนั้น มาเริ่มดูแลหัวใจให้อยู่กับเราไปนานๆ

หัวใจที่แข็งแรงช่วยให้อายุยืนยาว แต่ศัตรูตัวร้ายอย่าง "โรคหัวใจและหลอดเลือด" อันตรายซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรม กลับมีสถิติผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทุกวัน และยังเป็นสาเหตุที่คร่าชีวิตมนุษย์ก่อนวัยอันควรเป็นอันดับต้นๆ ดังนั้น มาเริ่มดูแลหัวใจให้อยู่กับเราไปนานๆ

ไลฟ์สไตล์และการกินแบบไหน ช่วยให้หัวใจไม่ขาดการดูแล

วิธีการดูแลหัวใจโดยสมาพันธ์หัวใจโลก (World Heart Federation) แนะนำให้ประชาชนเริ่มต้นดูแลสุขภาพหัวใจตั้งแต่ที่บ้าน เช่น กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพหัวใจเน้นผักสดผลไม้ เตรียมอาหารกลางวันจากบ้านไปกินที่ทำงานเอง เน้นอาหารเพื่อสุขภาพ ลดการกินอาหารสำเร็จรูปที่มีเกลือไขมัน และน้ำตาลปริมาณสูงเป็นส่วนผสม ไม่สูบบุหรี่ ไม่นั่งอยู่เฉยๆ หรือนั่งอยู่หน้าจอต่างๆ เกินวันละ 2 ชั่วโมง หมั่นออกกำลังกาย ทำกิจกรรมกลางแจ้ง และตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้หัวใจ

ไลฟ์สไตล์และการกินแบบไหน ช่วยให้หัวใจไม่ขาดการดูแล

วิธีการดูแลหัวใจโดยศาสตร์ของชาวจีน สำหรับคนทั่วไปหรือผู้ที่เป็นโรคหัวใจแล้วก็ตาม มีวิธีดูแลหัวใจให้แข็งแรงคือ 

- ควรหลีกเลี่ยงความเหนื่อยล้า ความเครียด และความวิตกกังวล ดูแลคืออาหารการกิน การใช้ชีวิต การอยู่ในสภาพสังคมที่เหมาะสม และการดูแลจิตใจและอารมณ์ของเราให้เป็นปกติก็จะช่วยลดภาระการทำงานของหัวใจได้

- อาหารที่ดีต่อหัวใจคือ อาหารรสจืดและรสขม เลี่ยงอาหารรสเค็ม หวานและมัน เช่น ของมัน ของทอด เนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง ขนมเบเกอรี่ อาหารที่ผ่านการแปรรูป และควรกินผักผลไม้มากๆ เน้นกินเนื้อปลาที่ไม่ใส่สารเคมี และให้กินอาหารในปริมาณน้อยแต่ต้องตรงเวลา อาจปรับการกินเป็นมื้อน้อยๆ วันละ 4-5 มื้อ ซึ่งรวมแล้วได้ปริมาณตามความต้องการของร่างกาย การกินจนเกินอิ่มทำให้หัวใจรับภาระมากเกินไปอาหารเค็มจัดก็จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นภาระของหัวใจ

- เข้านอนให้เป็นเวลาทุกวัน และไม่ควรนอนเกินสี่ทุ่ม การนอนดึกไม่ดีต่อหัวใจเพราะหัวใจต้องทำงานหนัก ควรนอนอย่างน้อยวันละ 7 ชั่วโมง และงีบหลังกินอาหารกลางวันแล้วสักครึ่งชั่วโมง และไม่ควรนอนเกินครึ่งชั่วโมงเพราะจะกระทบต่อการนอนในเวลากลางคืน

- ส่วนด้านการออกกำลังกาย คนทั่วไปที่สุขภาพแข็งแรงไม่ป่วยเป็นโรคหัวใจ ออกกำลังกายวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน โดยให้การเต้นของหัวใจสูงสุดอยู่ที่ไม่เกิน 170 ครั้งต่อนาที ส่วนผู้ป่วยโรคหัวใจควรแบ่งการออกกำลังกายออกเป็นช่วงๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เหนื่อยเกินกำลัง เช่น แบ่งเป็นวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 10 นาที ไม่ควรให้เกิน 15 นาที โดยการเดินเป็นการออกกำลังกายที่ดีที่สุด ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนเลือดและดีต่อระบบขับถ่าย ไม่ควรออกกำลังกายประเภทที่ใช้แรงยกน้ำหนัก

ไลฟ์สไตล์และการกินแบบไหน ช่วยให้หัวใจไม่ขาดการดูแล

นอกจากนี้ สมาคมโรคหัวใจสหรัฐอเมริกา แนะนำให้กินปลาหลากหลายชนิด ไม่แนะนำให้ปรุงด้วยการทอด เพราะอาจเพิ่มโอกาสการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว แต่ควรปรุงด้วยการอบ ต้ม หรือนึ่ง ควรกินอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 มื้อจะช่วยลดโอกาสเกิดภาวะหัวใจล้มเหลว

 

 

ภาพ freepik