posttoday

5 คำถามตามเทรนด์ฮอต Ketogenic Diet กินอย่างไรให้เห็นผล

19 มิถุนายน 2562

เมื่อเทรนด์การลดน้ำหนักเปลี่ยนบ่อยเหมือนเทรนด์แฟชั่น แล้วเราจะเหมาะกับวิธีนั้นๆ แค่ไหน วันนี้มารู้จัก "Ketogenic Diet" เคล็ดลับของคนอยากผอม พร้อมรู้ข้อดี-ข้อเสียก่อนลงสนามจริงกันเถอะ

เมื่อเทรนด์การลดน้ำหนักเปลี่ยนบ่อยเหมือนเทรนด์แฟชั่น แล้วเราจะเหมาะกับวิธีนั้นๆ แค่ไหน วันนี้มารู้จัก "Ketogenic Diet" เคล็ดลับของคนอยากผอม พร้อมรู้ข้อดี-ข้อเสียก่อนลงสนามจริงกันเถอะ

Ketogenic Diet คืออะไร?

อาหารคีโตเจนิก (Ketogenic Diet) เป็นวิธีการเลือกบริโภคอาหารที่มีผลทำให้ร่างกายเกิดการผลิตสารคีโตน (ketone) หลักการสำคัญ คือการเน้นบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันและโปรตีนในปริมาณสูง เพื่อให้ร่างกายได้สารอาหารและพลังงานที่มากพอให้อิ่มท้อง แต่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่ำมาก

การกินอาหารแบบ Ketogenic Diet เป็นวิธีการเลือกบริโภคอาหารที่มีผลทำให้ร่างกายเกิดการผลิตสารคีโตน (ketone) หลักการสำคัญ คือการเน้นบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของไขมันและโปรตีนในปริมาณสูง เพื่อให้ร่างกายได้สารอาหารและพลังงานที่มากพอให้อิ่มท้อง แต่มีปริมาณคาร์โบไฮเดรตต่ำมาก

5 คำถามตามเทรนด์ฮอต Ketogenic Diet กินอย่างไรให้เห็นผล

ลดแป้ง กินไขมัน แล้วจะช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือ?

การกินไขมันจะไปเบิร์นไขมันได้อย่างไรกัน คำตอบเรื่องนี้ก็คือ เมื่อเราลดปริมาณการกินคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลลงอย่างมาก ร่างกายอันน่าทึ่งของเราจากเดิมที่เคยนำกลูโคสในเลือดที่มาจากอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรต น้ำตาล มาใช้เป็นพลังงาน ร่างกายจำต้องหาแหล่งพลังงานอื่นมาแทนที่ นั่นคือมาจากไขมันนั่นเอง

กระบวนการนี้ก่อให้เกิดสภาวะการเผาผลาญที่เรียกว่า คีโตสิส (Ketosis) ทำให้เกิดสารที่เรียกว่า คีโตน (Ketone) ในตับ โดยหลังจากเริ่มการกินแบบคีโตเจนิกไปหลายวันหรือหลายสัปดาห์ ร่างกายและสมองอาจรู้สึกอ่อนล้า เหนื่อยง่าย มีกลิ่นปาก แต่จะค่อยๆ ปรับจนสามารถนำไขมันและคีโตนมาใช้เป็นพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแทนที่คาร์โบไฮเดรตนั่นเอง หรือเรียกง่ายๆ คือการเปลี่ยนร่างกายให้กลายเป็นเครื่องจักรกลเผาผลาญไขมันให้เป็นพลังงานในตัวเองนั่นเอง

การกินแบบ Ketogenic Diet ต้องกินอย่างไร?

หากอยากเริ่มต้นการกินแบบคีโตเจนิก สิ่งสำคัญที่ควรรู้คือการจำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตให้ต่ำมากๆ โดยกินไขมันและน้ำมัน แต่ต้องเป็นไขมันที่มาจากธรรมชาติ ทั้งพืชและสัตว์ โดยพยายามกินไขมันต่างชนิดควบคู่กันไป เช่น ไขมันจากเนื้อสัตว์ เนื้อติดมัน ไขมันจากพืช เนย ชีส น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก อาหารจำพวกถั่ว เป็นต้น

นอกจากนี้ สามารถเลือกกินเนื้อสัตว์และไข่ได้ แต่ในปริมาณที่เหมาะสม เน้นการกินผัก โดยเฉพาะจำพวกผักใบเขียว สามารถรับประทานอาหารที่ทำจากนม (แต่ควรเลี่ยงดื่มนม) โดยเน้นจำพวกที่ไม่พร่องมันเนย ดังนั้น เราสามารถสั่งกาแฟใส่ครีมแท้ ไม่รวมชีสเค้ก ชานมไข่มุก ชาเย็น ส่วนของกินเล่นเวลาว่างก็ควรจะเป็นถั่วและธัญพืชอย่างแมคคาเดเมียหรืออัลมอนด์

5 คำถามตามเทรนด์ฮอต Ketogenic Diet กินอย่างไรให้เห็นผล

ถ้าเลือกกินแบบ Ketogenic Diet แล้วต้องเลี่ยงกินอะไรบ้าง?

ควรเลี่ยงอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลสูงเป็นหลัก อาทิ อาหารจำพวกข้าวและแป้งต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นข้าวบาร์เลย์, ข้าวสาลี, ข้าวไรย์, ข้าวโพด, ข้าวโอ๊ต ฯลฯ รวมไปถึงข้าวเจ้าที่เรากินกันอยู่ทุกวันเช่นกัน และผลิตภัณฑ์จากข้าวต่างๆ ทั้งพาสต้า, พิซซ่า, คุกกี้, ขนมปัง, เค้ก ฯลฯ เพราะอย่าลืมว่าเรากำลังลดคาร์โบไฮเดรตอยู่

นอกจากนี้ ควรเลี่ยงอาหารแปรรูปจำพวกไส้กรอก หมูยอ ลูกชิ้น เนื่องจากมักมีสารสังเคราะห์ ไปจนถึงแป้งที่มักเป็นส่วนประกอบหนึ่งของการผลิต ที่สำคัญสิ่งหนึ่งที่เราจะลืมไม่ได้คือไขมันทรานส์ เพราะถึงแม้ว่าการกินแบบ Ketogenic จะเน้นให้กินแต่ไขมัน แต่ควรเป็นไขมันที่มาจากไขมันสัตว์ หรือพืชอย่างอะโวคาโด เป็นต้น

ทั้งนี้ สายไดเอทมักคิดว่าการลดน้ำหนักกินน้ำผลไม้แทนก็ได้ แต่ลืมคิดไปว่าผลไม้และน้ำผลไม้มักมีน้ำตาลสูง โดยเฉพาะน้ำสับปะรด แตงโม กล้วย หรือมะม่วงสุก รวมถึงผลไม้อบแห้ง แช่อิ่ม และดองต่างๆ ควรกินในปริมาณที่พอเหมาะหรือน้อยมากๆ จะดีกว่า

การกินวิธีนี้มีข้อเสียหรือข้อควรระวังอย่างไร?

สำหรับการกินแบบคีโตเจนิกนั้นอาจไม่เหมาะกับคนสายคลีนและมีข้อควรระวัง คือ

  • อาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ปวดศีรษะ เพลีย นอนไม่หลับ ท้องผูก (Keto Flu) ในระยะแรกๆ ของการทำ Ketogenic Diet
  • เพิ่มความเสี่ยงการเกิดนิ่วที่ไต โดยเฉพาะในคนที่มีประวัติครอบครัว หรือมีสัดส่วนของแคลเซียมต่อครีเอตินีนในปัสสาวะสูง
  • ผู้ที่มีภาวะผิดปกติเรื่องตับ ตับอ่อน หรือประวัติโคเลสเตอรอลในเลือด หรือไขมันในเลือดสูงควรระวังและปรึกษาแพทย์ หรือนักกำหนดอาหารก่อนทำ Ketogenic Diet เพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพอย่างถาวรได้
  • การจำกัดคาร์โบไฮเดรตมากๆ อาจทำให้ขาดสารอาหารบางชนิด รวมทั้งวิตามินและแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งอาจจะต้องกินเสริม
  • ในระยะยาวอาจจะมีปัญหา adherence หรือการทำ Ketogenic Diet ให้ต่อเนื่อง เนื่องจากการกินของคนไทยนั้น หนึ่งมักจะทานนอกบ้าน สองเป็นกิจกรรมหมู่ และสามเราเป็นประเทศที่เน้นกินข้าวเป็นหลัก
  • การเลือกกินไขมันดี คือไขมันไม่อิ่มตัวทั้งเชิงเดี่ยว (mono-unsaturated fat) และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน (poly-unsaturated fat) เป็นหัวใจสำคัญของการเลือกกินคีโตที่ถูกต้อง ไขมันอิ่มตัวจากแหล่งเนื้อสัตว์หรือพืช เช่น น้ำมันปาล์มหรือน้ำมันมะพร้าว อาจทำให้มีปัญหาหลอดเลือดหัวใจตามมาในอนาคต
  • การจำกัดอาหารหรือใช้วิธีการลดน้ำหนักแบบเร่งรัด อาจทำให้น้ำหนักที่ลดลงนั้นไม่ยั่งยืน และอาจก่อให้เกิดปัญหาพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติ (eating disorder) ตามมาในระยะยาว
  • เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวาน เนื่องจากการกินคีโตคือกินแต่ไขมัน งดแป้งและน้ำตาลที่เป็นคาร์โบไฮเดรตซึ่งให้พลังงานหลัก ทำให้เลือดกลายเป็นกรด เสียสมดุลของอินซูลิน ทำให้ไม่มีอะไรไปต้านระดับน้ำตาล จึงเสี่ยงเสียชีวิตเนื่องด้วยภาวะหมดสติ หายใจลึกกว่าปกติ

 

 

 

ภาพ : freepik