posttoday

6 ทักษะการให้ Feedback ที่หัวหน้าควรมีเพื่อทีมในฝัน

19 มิถุนายน 2562

Feedback อาจเป็นได้ทั้งยาหอมและยาขมของคนทำงาน แต่เพื่อใช้สำหรับการพัฒนาศักยภาพของลูกน้องหลายๆ ด้าน หัวหน้าที่ดีจึงควรมีกระบวนการในการใช้ Feedback เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างมาตรฐาน หรือเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตกลงกันไว้

Feedback อาจเป็นได้ทั้งยาหอมและยาขมของคนทำงาน แต่เพื่อใช้สำหรับการพัฒนาศักยภาพของลูกน้องหลายๆ ด้าน หัวหน้าที่ดีจึงควรมีกระบวนการในการใช้ Feedback เป็นเครื่องมือเพื่อสร้างมาตรฐาน หรือเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่ตกลงกันไว้

ซึ่งเรารวบรวมเคล็ดลับในการสร้างศักยภาพให้กับลูกน้อง ด้วยวิธีการให้คำติชมที่ถูกวิธีและได้ผลมากที่สุดมาไว้ให้แล้ว ดังนี้

1.ต้องมีทักษะในการให้ Feedback

ทักษะจะเกิดขึ้นได้ ย่อมเกิดจากการศึกษา หมั่นพัฒนาตัวเอง ฝึกฝนบ่อยๆ โดยเฉพาะการจดจำวิธีการ ขั้นตอนหรือกระบวนการจากผู้บังคับบัญชาของเราเอง ส่วนใหญ่แล้วการให้ Feedback มีสองด้าน คือ

  • Positive Feedback คือการแสดงความชื่นชมลูกน้อง ทั้งต่อหน้าคนอื่น หรือส่วนตัว สิ่งนี้จะเกิดแรงกระตุ้นได้เป็นอย่างดี
  • Negative Feedback คือหัวหน้างานต้องกล้าที่จะตำหนิ หรือแจ้งลูกน้องให้ทราบถึงข้อผิดพลาด ซึ่งสิ่งนี้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เทคนิคที่ดีควรมี Positive Feedback นำก่อน แล้วค่อยตามด้วย Negative Feedback

2.ต้องเข้าใจวัตถุประสงค์ของการให้ Feedback อย่างชัดเจน

ก่อนติชมหรือแสดงความคิดเห็นในเรื่องผลงานของลูกน้อง หัวหน้าต้องเข้าใจบทบาทและหน้าที่ของลูกน้อง โดยมีการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนและวัดผลได้ พร้อมกับให้ Feedback เป็นข้อๆ ตามหน้าที่และเป้าหมายที่ได้ตกลงกันไว้

6 ทักษะการให้ Feedback ที่หัวหน้าควรมีเพื่อทีมในฝัน

3.ต้องไม่เกรงใจลูกน้องและกล้าที่จะให้ Feedback ทันที

เมื่อเกิดสถานการณ์ที่ลูกน้องต้องได้รับคำติชมในผลงาน หัวหน้าควรแสดงทัศนะของตัวเองทันที เช่น กล่าวคำชมทันทีเมื่อพนักงานทำงานดี ถ้าเจอลูกน้องทำงานผิดพลาดก็ควรให้ Negative Feedback ได้เช่นกัน

4.ต้องไม่ให้ Feedback หลายเรื่องในเวลาเดียวกัน

เพราะการกระทำเช่นนี้อาจทำให้ลูกน้องรู้สึกแย่ หัวหน้าควรให้ Feedback เป็นประเด็นที่ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้ฟังมีโอกาสชี้แจง และอธิบายเพื่อให้เข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่าย

6.ต้องเตรียมเอกสาร ข้อมูลที่จะ Feedback

หลังจากที่จบการให้ผลตอบสนองกลับด้านความคิดเห็นเสร็จแล้วควรให้ลูกน้องได้มีโอกาสทบทวนเอกสารที่เตรียมไว้ ถ้ามีการแก้ไข ลูกน้องจะได้เห็นแนวทางการแก้ไขหรือเห็นจุดบกพร่องของงานนั้นๆ ได้อย่างชัดเจน การให้ Feedback ที่มีประสิทธิภาพนั้น เป็นอีกหนึ่งวิธีที่มีต้นทุนต่ำมากแต่อาจจะได้ผลลัพธ์ที่เกินความคาดหมาย เพียงแต่ต้องอาศัยเวลา โดยหัวหน้างานจะต้องให้ Feedback

 

 

 

ภาพ : freepik