posttoday

กินอยู่ให้เป็น ลดโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

07 มิถุนายน 2562

สำรวจพฤติกรรมเสี่ยงและอาหารที่เป็นตัวการก่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ พร้อมหันมาเลือกกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อชีวิตที่ยืนยาว

สำรวจพฤติกรรมเสี่ยงและอาหารที่เป็นตัวการก่อมะเร็งลำไส้ใหญ่ พร้อมหันมาเลือกกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อชีวิตที่ยืนยาว

เราแทบไม่มีทางรู้ได้เลยว่าโรคภัยไข้เจ็บจะมาเยือนเราเมื่อไร ยิ่งถ้าหากเป็นโรคร้ายอย่างมะเร็งด้วยแล้ว รายงานจากองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการวิจัยโรคมะเร็ง (IARC) รายงานว่าจะมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่เพิ่มขึ้นเป็น 18.1 ล้านคนทั่วโลก ภายในช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา และจะทำให้มียอดผู้เสียชีวิตจากโรคมะเร็งพุ่งสูงถึง 9.6 ล้านคน ก่อนสิ้นปีนี้เช่นกัน

กินอยู่ให้เป็น ลดโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

ซึ่งตัวเลขดังกล่าวนับว่าเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับสถิติในอีตอย่างเช่นในปี 2012 ที่มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่ 14.1 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิต 8.2 ล้านคน ซึ่งนักวิจัยคาดว่าแนวโน้มนี้มีสาเหตุมาจากจำนวนประชากรโลกที่เพิ่มขึ้น โดยมีสัดส่วนของประชากรสูงวัยมากขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยเฉพาะอัตราผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ในประเทศไทยพุ่งสูงขึ้น

กินอยู่ให้เป็น ลดโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่มักมีพฤติกรรม ดังนี้

1. ผู้ชอบกินอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันอิ่มตัวสูง

2. กินอาหารฟาสต์ฟู้ดเป็นประจำ

3. บริโภคเนื้อแดง (ที่อาจมีสารเคมีเจือปน)

4. กินเนื้อสัตว์แปรรูปเป็นประจำ

5. กินอาหารปิ้งย่าง (ไหม้เกรียม)

6. กินอาหารที่มีเส้นใยไฟเบอร์ พวกผัก ผลไม้น้อย

7. ผู้ที่สูบบุหรี่

8. ผู้ที่ดื่มเหล้า

9. คนที่ขาดการออกกำลังกาย

10. ผู้ที่มีประวัติหรือคนในครอบครัวเคยป่วยเป็นมะเร็ง

11. ผู้มีปัญหาระบบขับถ่าย เช่น ลำไส้อักเสบ ท้องผูกเรื้อรัง ภาวะลำไส้แปรปรวน

ทั้งนี้ ประเทศไทยมีแนวโน้มอุบัติการณ์มะเร็งลำไส้ใหญ่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพราะคนไทยเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคที่เปลี่ยนไปคล้ายชาวตะวันตก หากไม่มีนโยบายคัดกรองมะเร็งลําไส้ใหญ่อย่างจริงจัง จํานวนผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นประมาณ 2 เท่า ภายในระยะเวลา 10 ปี มาอยู่ที่ราว 20,000 ราย ซึ่งย่อมส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตมากขึ้นตามไปด้วย

กินอยู่ให้เป็น ลดโอกาสเกิดมะเร็งลำไส้ใหญ่

ในทางวิชาการ การสร้างภูมิคุ้มกันที่สมดุลเป็นมิติใหม่ของการดูแลสุขภาพ จากห้องทดลองระหว่างการวิจัยพบว่า ภูมิคุ้มกันที่สมดุลขึ้นอยู่กับการทำหน้าที่อย่างสมดุลของเม็ดเลือดขาว 4 ชนิด คือ

1. Th1 กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันจัดการกับเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส และมะเร็งได้ดีขึ้น

2. Th2 กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันจัดการกับสารก่อภูมิแพ้และหนอนพยาธิได้ดีขึ้น

3. Th17 กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันจัดการกับสิ่งแปลกปลอมทั้งหลายที่เหลือจากการจัดการของ Th1 (Th1 และ Th17 เมื่อมีมากเกินไปจะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันมากเกินไป จนเกิดอาการแพ้ภูมิตัวเอง)

4. Treg กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันที่มากเกินไปกลับสู่ภาวะสมดุล

คณะนักวิจัย Operation BIM ได้พัฒนาสูตรที่สามารถใช้เป็นภูมิคุ้มกันบำบัดจากสารสกัดมังคุด งาดำ ถั่วเหลือง ฝรั่ง และบัวบก ได้แตกต่างกัน โดยมีสูตรที่กระตุ้น Th1 และ Th17 สามารถใช้เป็นภูมิคุ้มกันบำบัดสำหรับการติดเชื้อโรค มีเนื้องอกในมดลูก ถุงน้ำในรังไข่ เป็นมะเร็ง ภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ กระเพาะ/ลำไส้อักเสบเรื้อรัง และมีสูตรที่ปรับ Th1, Th2 และ Th17 ให้อยู่ในภาวะสมดุล เพื่อใช้เป็นภูมิคุ้มกันบำบัดข้อเข่าเสื่อม/ข้ออักเสบ ผื่นคันตามผิวหนัง สะเก็ดเงิน ตับอักเสบ ไตวาย ไทรอยด์เป็นพิษ หอบหืด สันนิบาต เบาหวาน ไขมันอุดตันในเส้นเลือด วิงเวียนศีรษะ ไมเกรน เกาต์ ฯลฯ ถือเป็นนวัตกรรมแรกๆ ที่ทำให้เกิดภูมิคุ้มกันบำบัดจากพืชกินได้

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ ควรพยายามใช้ชีวิตให้อยู่ในมาตรฐานที่ดี โดยเริ่มจากเลือกกินอาหารที่ดีมีประโยชน์ พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ