posttoday

‘มือชา’ อีกปัญหาของชาวออฟฟิศ

25 เมษายน 2562

ลองสังเกตตัวเองกันหน่อยว่า “เคยเจ็บแปลบเหมือนถูกเข็มทิ่ม หรือเหมือนมีไฟฟ้ามาชอร์ตที่นิ้วมือ” บ้างมั้ย?

ลองสังเกตตัวเองกันหน่อยว่า “เคยเจ็บแปลบเหมือนถูกเข็มทิ่ม หรือเหมือนมีไฟฟ้ามาชอร์ตที่นิ้วมือ” บ้างมั้ย?

เพราะนี่คือหนึ่งในความรู้สึกของคนที่มีอาการมือชา โดยเกิดจากการที่เส้นประสาทถูกกดทับ และการหนาตัวของเอ็นยึดกระดูกบริเวณข้อมือหรืออุโมงค์ข้อมือ ซึ่งหากทิ้งไว้นานกล้ามเนื้อบริเวณโคนหัวแม่มือจะแฟบลง

ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการมือชาของกลุ่มมนุษย์อออฟฟิศ คือการพิมพ์งานโดยไม่ปรับเปลี่ยนอิริยาบถ ข้อมือจึงอยู่ในลักษณะแอ่นและงอตลอดแทบทั้งวัน ทั้งนี้ การจับเม้าส์ที่มีขนาดไม่สมดุลกับข้อมือ ก็ทำให้เกิดการเกร็งตัวของข้อมือเช่นกัน 

ส่วนระยะของอาการมือชา แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่

  • ระยะที่ 1 ชาบริเวณนิ้วมือ มักเกิดขึ้นที่นิ้วโป้ง นิ้วชี้และนิ้วกลาง สะบัดข้อมืออาการจะเริ่มดีขึ้น
  • ระยะที่ 2 ชาบ่อยครั้ง มักปวดตื้อๆ ที่บริเวณมือและปวดมากขึ้นเวลากลางคืน
  • ระยะที่ 3 ทำของร่วงหล่นจากมือบ่อย

การดูแลรักษา ให้เริ่มจากเปลี่ยนแปลงตัวเองที่ออฟฟิศ พยายามขยับนิ้วมือบ่อยๆ ออกกำลังกายให้ข้อมือด้วยการสะบัดข้อมือ และกำนิ้วมือค้างไว้ 10 วินาที จากนั้นให้กางนิ้วออกให้สุดอีก 10 วินาที ทำเช่นนี้เรื่อยๆ 20 ครั้ง ทั้งยังควรหาไอเท็มเสริมอย่างลูกบอลบริหารมือ (Wrist Ball) หรือหมอนรองข้อมือ ติดโต๊ะทำงานไว้และใช้ให้เกิดประโยชน์

เปลี่ยนอิริยาบถทุก 30-45 นาที เพื่อให้กล้ามเนื้อได้คลายตัวลง หากอาการเริ่มรุนแรงให้ทำกายภาพบำบัด เพื่อขจัดพังผืดที่ปิดกั้นอุโมงค์ข้อมือ และขยับข้อต่อเพื่อช่วยให้ใช้งานกล้ามเนื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่หากอาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ การรักษา เช่น แพทย์อาจจ่ายยาลดการอักเสบที่ไม่มีสเตียรอยด์เป็นส่วนผสม หรืออาจวินิจฉัยว่าต้องฉีดยาหรือผ่าตัดหรือไม่ เป็นต้น