posttoday

ทักษะงานของมนุษย์ ในโลกอนาคต

15 ตุลาคม 2561

ช่วงนี้มีกระแสการตื่นตัวเรื่อง Technology Disruption หรือการที่เทคโนโลยีเข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงกับโลกของเราในทุกแง่มุม

เรื่อง กันย์ ภาพ pixabay

ช่วงนี้มีกระแสการตื่นตัวเรื่อง Technology Disruption หรือการที่เทคโนโลยีเข้ามาสร้างการเปลี่ยนแปลงกับโลกของเราในทุกแง่มุม ตั้งแต่การใช้ชีวิตโดยทั่วไปจนไปถึงเรื่องการทำงาน ในความเป็นจริงต้องทำความเข้าใจว่าเรื่องของการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกกระดานนั้นไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องของเทคโนโลยีเพียงอย่างเดียว แต่ที่คนพูดถึงเรื่องนี้มากเป็นเพราะมันเห็นผลที่ชัดเจนกว่าแง่มุมอื่นๆ

อริญญา เถลิงศรี Managing Director บริษัท SEAC กล่าวว่า อีกประเด็นที่สำคัญและอยากให้เข้าใจคือ Disruption ไม่ได้นำมาแต่เฉพาะปัญหาหรือความท้าทาย แต่มันยังนำมาซึ่งโอกาสอีกมากมายมหาศาลหากรู้จักใช้ประโยชน์หรือเราสามารถเปลี่ยนแปลงได้เร็วกว่าคนอื่น แน่นอนว่าหากพูดเรื่อง Techno
logy Disruption แล้ว สิ่งหนึ่งที่คนทั่วไปกังวลคือการที่หุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์จะแย่งงานของมนุษย์

McKinsey ออกมาเปิดเผยผลการศึกษาว่า ภายในปี 2030 หุ่นยนต์จะเข้ามาทำงานแทนที่มนุษย์มากถึง 800 ล้านตำแหน่งทั่วโลก โดยเฉพาะสายงานด้านการผลิต-ประกอบเครื่องจักรต่างๆ ในโรงงาน เนื่องจากสามารถให้ผลผลิตในจำนวนที่มากกว่า เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับคน

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าปัจจุบันหุ่นยนต์จะเข้ามามีบทบาทในโลกการทำงานมากขึ้น แต่ก็ไม่ใช่ว่าหุ่นยนต์จะสามารถทำงานแทนมนุษย์ได้ทั้งหมด เพราะมีทักษะอีกหลายอย่างที่เทคโนโลยีและปัญญาประดิษฐ์ยังไม่สามารถทำได้ดีในระดับเทียบเท่า แม้การพัฒนาของเทคโนโลยีจะมีความก้าวหน้ามากขึ้นก็ตาม

ทักษะที่มนุษย์ทำได้ดีกว่าหุ่นยนต์

1.ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์

ซึ่งหมายถึงกระบวนการคิดโดยใช้วิจารณญาณหรือการตัดสินอย่างรอบคอบโดยอาศัยเหตุผลในการวิเคราะห์ประเด็น รวมทั้งการรวบรวมข้อมูลต่างๆ เพื่อตรวจสอบพิจารณา ตัดสินและประเมินความถูกต้อง หรือสิ่งที่เป็นประเด็นในขณะนั้นๆ ให้แม่นยำ เพราะถึงแม้ว่า AI จะสามารถคำนวณเรื่องต่างๆ ได้แม่นยำมากขึ้น เก็บข้อมูลได้มากมาย แต่ในหลายๆ เรื่องก็ยังต้องใช้ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ในการตัดสินบางเรื่องอยู่ เช่น ทนายอาจใช้ AI เก็บข้อมูลหลักฐานต่างๆ เพื่อประกอบการพิจารณาคดี แต่สุดท้ายอัยการหรือผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินก็ยังคงเป็นมนุษย์นี่เอง

2.ทักษะความคิดสร้างสรรค์

เพราะสมองของมนุษย์มีความซับซ้อนและมีความสามารถในการคิดได้หลากหลายรูปแบบจนนำไปสู่การคิดค้นและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ซึ่งเทคโนโลยีและ AI บนโลกใบนี้ต่างเกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์นั่นเอง สิ่งที่ดีไปกว่านั้นคือแม้ว่าคนเราอาจไม่ได้เกิดมาแล้วมีทักษะความคิดสร้างสรรค์

3.การคิดหาทางออก

หาคำตอบได้อย่างสร้างสรรค์ หรือเราทุกคนไม่ได้เกิดมาแล้วคิดแบบ Steve Jobs ได้ แต่เราก็ยังมีรูปแบบขั้นตอนการคิดที่ฝึกให้เราทำเช่นนั้นได้ เช่น การฝึกคิดแบบ Design Thinking หรือเทคนิคการคิดหาคำตอบแบบนักออกแบบเช่นนี้ เป็นต้น

4.ทักษะทางอารมณ์

สิ่งที่ทำให้มนุษย์เหนือกว่าหุ่นยนต์ได้อย่างชัดเจนอีกข้อคือ เนื่องจากมนุษย์มีความสามารถในการตระหนักรู้ถึงความรู้สึกทั้งของตนเองและของผู้อื่น ความสามารถในการทำความเข้าใจเชิงลึกกับความคิด อารมณ์ ความรู้สึกของคนอื่นทั้งที่แสดงออกและไม่แสดงออก ที่อาจเรียกได้ว่าคือศิลปะในการจินตนาการมองโลกจากมุมของคนอื่น เพื่อที่จะสามารถเข้าใจได้ชัดขึ้น ว่าเขาคิดและรู้สึกอย่างไรโดยที่ไม่ใส่ความรู้สึกของเราลงไป ซึ่งถือว่าเป็นทักษะที่พิเศษและเฉพาะตัวของมนุษย์ และหุ่นยนต์ทำไม่ได้

แน่นอนว่าคงปฏิเสธการเข้ามาของเทคโนโลยีและหุ่นยนต์ในโลกอนาคตไม่ได้ แต่เราสามารถใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเพื่อให้การทำงานได้ซึ่งประสิทธิภาพและประสิทธิผล และเพื่อให้โลกการทำงานในอนาคตของทั้งมนุษย์และหุ่นยนต์สามารถทำงานและอยู่ร่วมกันได้

บกพร่องเรื่องทักษะที่จำเป็นในการอยู่ร่วมกันในองค์กร หรือ Soft Skill หลายบริษัทจึงให้ความสำคัญกับทักษะด้าน Soft Skill อย่างทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะด้านการเข้าสังคม มากกว่าทักษะวิชาชีพอย่างทักษะด้านการคิดคำนวณ โดย Soft Skill นี่เองจะกลายเป็นตัวบ่งชี้ว่าผู้นั้นจะมีอนาคตการงานที่ดีหรือไม่ จะถูกจ้างเป็นพนักงานประจำหรือไม่

จากข้อมูลการสำรวจของ LinkedIn นี่คือ Soft Skills ที่คนทำงานยุค 2018 ต้องมีโดยด่วนเพราะองค์กรต่างๆ กำลังมองหา

1.ภาวะผู้นำ เรื่องของการมีภาวะผู้นำไม่ได้ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง เมื่อคนเรามีภาวะผู้นำ ก็จะเกิดความคิดริเริ่มอะไรใหม่ๆ และไม่รอคอยคำสั่งเพียงอย่างเดียว

2.การสื่อสาร เรื่องการสื่อสารที่ดูเหมือนเป็นเรื่องที่เราทำกันอยู่ในชีวิตประจำวันกลับกลายเป็นเรื่องยากในหลายๆ สถานการณ์ เช่น การสื่อสารระหว่างหัวหน้า-ลูกน้อง ระหว่างเพื่อนร่วมงาน ระหว่างบริษัท-ลูกค้า ดังนั้นคนที่มีทักษะด้านการสื่อสารจะลดข้อผิดพลาด ลดความขัดแย้งในการทำงานได้มากกว่าคนทั่วไป

3.ความร่วมมือ เรื่องการทำงานเป็นเรื่องของความร่วมมือ หรือการทำงานเป็นทีม เมื่อองค์กรมีคนที่สามารถทำงานร่วมกันได้ดีก็จะทำให้บรรลุเป้าหมายได้เร็ว ลดข้อขัดแย้งระหว่างทาง

4.การจัดการเวลา ในยุคที่เวลาเป็นทรัพย์สินที่มีค่าที่สุด คนที่มีทักษะนี้ย่อมสามารถจัดการงานที่ได้รับมอบหมายได้เป็นอย่างดี

นอกจากนั้น ยังมีเรื่องของทักษะการปรับตัว ศักยภาพในการเติบโต และการลำดับความสำคัญของงาน ที่หัวหน้างานส่วนใหญ่พิจารณาเวลารับคนเข้าทำงานอีกด้วย

สุดท้ายนี้ถึงแม้ว่าคุณจะเก่งขนาดไหน แต่ถ้าไม่สามารถทำงานเป็นทีม รับคำสั่ง และช่วยให้องค์กรไปในทิศทางที่ดีขึ้นได้ ก็ยากที่บริษัทจะต้องการตัวคุณ อย่าลืมว่าคนที่เก่งมีอีกมากในท้องตลาด แต่คนที่ทำงานดีหาไม่ได้ง่ายๆ ในขณะเดียวกันก็ต้องไม่ลืมว่าเรื่องทักษะ ความรู้ ความสามารถเป็นเรื่องที่เปลี่ยนได้อย่างรวดเร็วตลอดเวลา เราไม่รู้เลยว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือคอยอัพเดททักษะ ความรู้ของเราให้ตรงกับความต้องการที่เปลี่ยนไปนี้ตลอดเวลา