posttoday

Pay attention to our feet ว่าด้วยการจัดการข้อเท้าและนิ้วเท้า (2)

11 สิงหาคม 2561

หากเมื่อผู้ฝึกโยคะอาสนะ อาจไม่เคยใส่ใจรายละเอียดการจัดระเบียบในส่วนของฝ่าเท้าเลย

โดย  ภัชภิชา แก้วสุวรรณสุข (ครูเจี๊ยบ) ผู้ก่อตั้ง Japayatri Yoga Style โยคะสุตรา สตูดิโอ www.YogaSutraThai.com
 
หากเมื่อผู้ฝึกโยคะอาสนะ อาจไม่เคยใส่ใจรายละเอียดการจัดระเบียบในส่วนของฝ่าเท้าเลย หรือใส่ใจน้อยแบบผ่านๆ ลองมาเริ่มสำรวจแล้วใส่ใจการเคลื่อนไหวที่สร้างความแตกต่างในการฝึกท่าโยคะกัน ให้ลองทดลองได้ด้วยตัวเองดู ในครั้งนี้เป็นตอนที่ 2 ต่อจากคราวที่แล้ววันนี้ครูจะคุยเกี่ยวกับ
ข้อเท้าและนิ้วเท้าค่ะ
 
เมื่อพิจารณาจากการเคลื่อนไหวของข้อต่อในส่วนของข้อเท้า สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยการงอและการเหยียด หรือก็คือการกระดกขึ้นและการกระดกลงนั่นเอง ในส่วนของนิ้วเท้าก็มีการกรีดนิ้วเท้าออก เหยียดออก จะเรียกว่าเป็นการกำนิ้วเท้าก็ได้ (Point) และฝั่งตรงข้าม ก็คือการพับนิ้วเท้าหรือควบคุมให้นิ้วเท้างอเข้ามานั่นเอง (Flex) ซึ่งในการจัดการข้อเท้าและนิ้วเท้านี้จะจัดระเบียบไปในทิศทางเดียวกัน จัดไปด้วยกันเพื่อให้เกิดผลที่ลึกขึ้นในการฝึกท่าโยคะอาสนะนั้นๆ
 
เริ่มต้นให้นักเรียนลองเริ่มสำรวจการเคลื่อนไหวของข้อเท้าของตัวเราเองดูก่อน นั่งหลังตรง วางกระดูกรองนั่งลงที่พื้น หากนั่งหลังตรงไม่ได้ให้พับผ้าวางที่กระดูกรองนั่ง แล้วเหยียดขาทั้ง 2 ข้างออกมา แยกความกว้างของขาให้เท่ากับความกว้างของสะโพก จากนั้นให้ถือว่าตำแหน่งที่เท้าได้ฉากกับขาเป็น 0 องศา แล้วลองกระดกเท้าขึ้นดู โดยปกติแล้วข้อเท้าจะกระดกขึ้นได้ 30 องศา และกระดกลงได้ 45 องศา ข้อกลางเท้าจะไม่มีการเคลื่อนไหวส่วนข้อนิ้วเท้าจะงอและเหยียดได้พอสมควร
 
ต่อมาจะลองเริ่มสำรวจนิ้วเท้ากัน ให้นักเรียนยืนขึ้นในท่าภูเขาโดยแยกขากว้างเท่าสะโพกแล้วเราจะเริ่มขยับเฉพาะนิ้วเท้าข้างขวาก่อนด้วยการยกนิ้วเท้าขวาขึ้นลอยจากพื้นส่วนนิ้วอื่นๆ ไม่ต้องยกค้างไว้ ประมาณ 5 วินาที แล้ววางลงเบาๆ จากนั้นลองยกนิ้วเท้านิ้วอื่นๆ ดู ซึ่งบางคนพอวางนิ้วโป้งเท้าแล้วให้ยกนิ้วเท้านิ้วอื่นๆ อาจควบคุมไม่ได้ทีละนิ้วแต่ยกทั้งแผงขึ้นมาเลย ลองฝึกแล้วสำรวจดูถึงการควบคุมและรับรู้ความรู้สึกของนิ้วเท้าของเรา จากนั้นลองสลับทำข้างซ้ายดูเป็นการฝึกควบคุมนิ้วเท้า
 
ทีนี้ครูจะให้เชื่อมการเคลื่อนไหวของข้อเท้าควบคู่ไปกับนิ้วเท้าพร้อมๆ กัน 
 

Pay attention to our feet ว่าด้วยการจัดการข้อเท้าและนิ้วเท้า (2)

 
อย่างที่ครูเกริ่นไปตอนต้นว่าให้เคลื่อนไหวไปในทิศทางเดียวกัน คือพับขึ้นและเหยียดออก (Flex and Point)
 
ต่อมาลองฝึกให้เห็นความแตกต่างในอาสนะท่านั่ง หากเราเหยียดข้อเท้าและนิ้วเท้าออก Point 
 

Pay attention to our feet ว่าด้วยการจัดการข้อเท้าและนิ้วเท้า (2)

 
เมื่อเราทำท่านั่งพับตัวลงมาความตึงใต้ขาจะลดลง คือเข้าเส้นน้อยกว่าการที่เราจัดระเบียบข้อเท้าและนิ้วเท้าให้กระดกขึ้นหรือพับขึ้น Flex 
 

Pay attention to our feet ว่าด้วยการจัดการข้อเท้าและนิ้วเท้า (2)

 
ลองจัดระเบียบข้อเท้ากับนิ้วเท้าดู ขณะเข้าท่าอาสนะจะรู้สึกถึงการเปลี่ยนแปลงเล็กๆ แต่ยิ่งใหญ่ ถึงกับซี้ดซ้าดกันเลยทีเดียว (ตัวอย่างจากในภาพแสดงให้เห็นการจัดการข้อเท้าและนิ้วเท้า แต่ไม่ได้พับลำตัวลงมาให้ดู ดังนั้นลองพับลำตัวลงมาด้านหน้าดูจะเห็นถึงความแตกต่าง) และอาสนะท่านอน 
 

Pay attention to our feet ว่าด้วยการจัดการข้อเท้าและนิ้วเท้า (2)

 
ให้นักเรียนลองฝึกดูว่าหากเราต้องการเน้นยืดเส้นใต้ขาแล้ว การจัดการข้อเท้าและนิ้วเท้าจะให้ความรู้สึกที่เข้ามัดกล้ามเนื้อมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเราพับข้อเท้าขึ้น Flex มากกว่าเหยียดออก Point ให้ลองทำดูแล้วสังเกตตัวเองดูค่ะ 
 
CR.ขอขอบคุณภาพเขียนสีน้ำแนวอาร์ตจากคุณเจน Jane Jiit (Watercolor), IG : janewaterblog