posttoday

Home Office Space เมื่อการให้ความสำคัญ “ขนาดพื้นที่” และ “จำนวนที่นั่ง” นั้นไม่เพียงพออีกต่อไป

15 กุมภาพันธ์ 2560

ขณะที่การทำธุรกิจได้ก้าวสู่ยุค Digital 4.0 หลายคนต่างมีความฝันที่จะสร้างกิจการและเป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเอง

โดย...AP DESIGN LAB บริษัท เอพี (ไทยแลนด์)

ขณะที่การทำธุรกิจได้ก้าวสู่ยุค Digital 4.0 หลายคนต่างมีความฝันที่จะสร้างกิจการและเป็นเจ้าของธุรกิจของตัวเอง ในวันนี้เราจึงเห็นบริษัทขนาดเล็กต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่ม Startup หรือธุรกิจ SME เกิดขึ้นใหม่มากมาย แน่นอนว่าในช่วงของการเริ่มต้นธุรกิจความ Active และความคิดสร้างสรรค์ของทีมงานมีความสำคัญเป็นอันดับต้นพอๆ กับการบริหารต้นทุน

รูปแบบสำนักงานหรือที่เรียกติดปากว่า Office Space ย่อมต้องมีการพัฒนาเพื่อรองรับรูปแบบการทำธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน ซึ่งแน่นอนว่าการให้ความสำคัญเฉพาะเรื่อง “ขนาดพื้นที่” และ “จำนวนที่นั่ง” นั้นไม่เพียงพออีกต่อไป

Home Office Space เมื่อการให้ความสำคัญ “ขนาดพื้นที่” และ “จำนวนที่นั่ง” นั้นไม่เพียงพออีกต่อไป

เพื่อตอบสนองแรงบันดาลใจของการใช้ชีวิตรูปแบบใหม่ที่การทำธุรกิจสอดคล้องไปกับวิถีชีวิตส่วนตัว เราจึงเห็นการดีไซน์ Space ระหว่างบ้านและออฟฟิศเข้าด้วยกัน หรือที่เรียกว่า โฮมออฟฟิศ อย่างไรก็ตาม พื้นที่ของโฮมออฟฟิศยังต้องทำหน้าที่ในการแสดงเอกลักษณ์ตัวตน (Identity) และความแตกต่าง (Differentiation) ของธุรกิจ พร้อมกับคำนึงถึงส่วนประกอบที่สำคัญสุด

นั่นคือทีมงานที่เป็นผู้ผลิตผลงานออกมา การออกแบบสถานที่ เพื่อการทำงานที่แท้จริงในปัจจุบัน คงจะมองแต่ในเรื่องของจำนวน (Quantity) อย่างเดียวไม่ได้อีกต่อไป หากแต่ต้องมองถึงคุณภาพ (Quality) และความยืดหยุ่นของพื้นที่นั่นๆ อีกด้วย เมื่อพูดถึงคุณภาพของพื้นที่ที่ใช้ทำงานมีหลักสำคัญที่ต้องคำนึงถึง 3 องค์ประกอบ ได้แก่

Home Office Space เมื่อการให้ความสำคัญ “ขนาดพื้นที่” และ “จำนวนที่นั่ง” นั้นไม่เพียงพออีกต่อไป

 

 

SPACE DESIGN FOR ENERGY

ปฏิเสธไม่ได้ว่าสิ่งที่องค์กรคาดหวังจากทีมงานคือประสิทธิภาพในการทำงาน แต่หลายคนไม่ทราบว่าหลักการออกแบบสเปซนั้นมีความเกี่ยวข้อง โดยตรงในการรักษาพลังงานและความกระฉับกระเฉงในการทำงานคือ “แสงสว่าง” นั่นเอง

สเปซในที่ทำงานควรต้องนึกถึงการให้แสงสว่างที่พอเหมาะ นับตั้งแต่ระดับความสว่างโดยรวมของห้อง จนถึงตำแหน่งดวงโคมและลักษณะของแสงที่ต้องระบุให้ตรงเฉพาะจุด เช่น ไฟที่ส่องลงบนโต๊ะทำงาน ให้ความสว่างพอเหมาะกับการอ่าน แสงสว่างเท่าๆ กันไม่เกิดเงามืด หรือเงามือบังเวลาเขียนหนังสือ และแสงมีความสว่างพอ ที่จะถนอมสายตาจากการต้องจ้องมองจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน

อย่างไรก็ตาม แสงประดิษฐ์ที่เกิดจากหลอดไฟในห้องสามารถก่อให้เกิดความเครียดและความล้าของร่างกายได้ โดยไม่รู้ตัว Space ทำงานที่ดีควรจะมีหน้าต่างช่องเปิดที่ใหญ่พอที่จะให้แสงธรรมชาติเข้าถึงได้ทั่ว ซึ่งนอกจากจะส่งผลดีกับพนักงานที่ทำงานอยู่เป็นประจำแล้ว ยังมีประโยชน์ช่วยในการประหยัดค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือนอีกด้วย

Home Office Space เมื่อการให้ความสำคัญ “ขนาดพื้นที่” และ “จำนวนที่นั่ง” นั้นไม่เพียงพออีกต่อไป

SPACE DESIGN FOR INSPIRATION

หากคาดหวังให้ธุรกิจขึ้นเป็นผู้นำเหนือคู่แข่งแล้ว การทำงานให้ได้ผลผลิตที่ดีคงยังไม่เพียงพอ Working Space ที่ดีที่สุดควรจะก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการทำงาน เกิดความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ การแบ่งพื้นที่เล็กๆ ไม่ว่าจะเป็นมุมหนึ่งของห้อง หรือแม้แต่มุมของโต๊ะทำงาน ให้พนักงานแสดงความเป็นตัวตน แสดงสิ่งสะสม หรือสิ่งที่ตัวเองสนใจ จะเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเองและเพื่อนร่วมงานรอบๆ นอกจากนี้การวางตำแหน่งโต๊ะทำงานที่มี Sharing Space ร่วมกัน มีโต๊ะกลาง หรือการแบ่งพื้นที่เป็นห้องประชุมย่อยยังช่วยทำให้เกิดการสื่อสารที่ดีระหว่างทีมงาน (Collaboration) ทำให้เกิดการแบ่งปันไอเดียและวิธีคิดการทำงานใหม่ๆ ต่อไป

Home Office Space เมื่อการให้ความสำคัญ “ขนาดพื้นที่” และ “จำนวนที่นั่ง” นั้นไม่เพียงพออีกต่อไป

 

SPACE DESIGN FOR RELAXATION

สิ่งที่สำคัญไม่แพ้จากพื้นที่สำหรับทำงานคือพื้นที่สำหรับ “ไม่ทำงาน” ได้แก่ มุมพักผ่อนที่เป็นเฉลียง หรือระเบียงที่เชื่อมต่อกับภายนอก Space นี้ควรมีขนาดใหญ่เพียงพอสำหรับพนักงานที่จะใช้เปลี่ยนอิริยาบถ ผ่อนคลายความตึงเครียด หรือแม้แต่ใช้ความคิดและรวบรวมสมาธิสั้นๆ เพื่อที่ได้จะปฏิบัติงานต่อไป พื้นที่เหล่านี้ยังมีบทบาทสำคัญ ในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากรที่ทำงานร่วมกัน ในการพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องอื่นๆ นอกเหนือจากเรื่องงาน

แต่หากว่าไม่มีพื้นที่พอสำหรับแบ่งเป็นเฉลียง ระเบียงได้แล้ว เราสามารถที่เพิ่มเทคนิคการออกแบบลงไปในพื้นที่ส่วนกลางอื่นๆ อาทิ ส่วนพักคอย รวมถึงส่วน Pantry และทานอาหาร อีกหนึ่งพื้นที่ที่มองข้ามไปไม่ได้คือ ห้องน้ำสำหรับพนักงาน ซึ่งสามารถสร้างบรรยากาศผ่อนคลายจากการเลือกใช้กระเบื้องและวัสดุตกแต่งที่มีสีสัน หรือวัสดุที่สื่อถึงธรรมชาติ ห้องน้ำควรจะให้ความรู้สึกเป็นส่วนตัว มีการระบายอากาศที่ดี อาจจะเพิ่มกลิ่น เช่น น้ำมันหอมระเหย (Aroma) เพื่อเพิ่มความรู้สึกผ่อนคลายอีกทาง