posttoday

ทพญ.นภัสพร ชำนาญสิทธิ์ ละลายตนบนเอเวอเรสต์

19 มิถุนายน 2559

อะไรเป็นแรงผลกั ดนั ใหผู้ห้ ญงิ ตัวเล็กๆ ออกเดินทาง 33 วัน ท่ามกลางอุณหภูมิติดลบ 40 องศาฯ

โดย...กาญจนา อายุวัฒน์ธนชัย ภาพ : Thai Everest 2016

อะไรเป็นแรงผลกั ดนั ใหผู้ห้ ญงิ ตัวเล็กๆ ออกเดินทาง 33 วัน ท่ามกลางอุณหภูมิติดลบ 40 องศาฯและเผชิญกับสภาวะออกซิเจนเบาบางเหลือเพียง 30 เปอร์เซ็นต์ หมออีม-ทพญ.นภัสพร ชำนาญสิทธิ์ วัย 32 ปี ผ่านอุปสรรคเหล่านั้นมาได้ และกลายเป็นหญิงไทยคนแรกในประวัติศาสตร์ไทยที่สามารถพิชิตยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก

ความกล้า

ย้อนกลับไปเมื่อ 5 ปีที่แล้วหมออีมไม่รู้จักการเดินเขา รู้แต่เพียงว่าตัวเองสนใจกิจกรรมจึงค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ตจนไปเจอทริปของป๋าอาคม (อาคม กิจวนิชประเสริฐ คนไทยคนที่ 2 ที่ขึ้นไปถึงยอดเอเวอเรสต์) เธอไม่รอช้าสมัครเข้าร่วมทริปไปเดินขึ้นยอดเขาคินาบาลูประเทศมาเลเซีย เปิดประสบการณ์ครั้งแรกบนความสูง4,000 กว่าเมตร

ทพญ.นภัสพร ชำนาญสิทธิ์ ละลายตนบนเอเวอเรสต์

 

“หลังจากกลับมาทำให้รู้ตัวเองว่าชอบ เพราะเรามีความสุขมากเมื่ออยู่กับภูเขา” ประสบการณ์แรกระหว่างเธอกับภูเขาประหนึ่งรักแรกพบ จากนั้นเป็นต้นมาเธอจึงหาโอกาสไปเดินป่าขึ้นเขาอยู่ตลอด โดยทุกปีเธอและก๊วนป๋าอาคมจะไปพิชิตยอดเขาประเทศเนปาล เฉียดเอเวอเรสต์หลายครั้งหลายคราจนกระทั่งหมออีมได้รับแรงบันดาลใจอย่างแรงกล้าเมื่อศึกษาชีวิตของ หนึ่ง-วิทิตนันท์ โรจนพานิช คนไทยคนแรกที่ไปถึงยอดเอเวอเรสต์

“ได้ไปดูคลิปที่พี่หนึ่งร้องเพลงสรรเสริญพระบารมีบนยอดเอเวอเรสต์ น้ำตามันไหลออกมาเอง เรารู้สึกว่าเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่มาก และได้รับแรงบันดาลใจจากพี่หนึ่งมาก โดยที่พี่เขายังไม่รู้ตัวเลยว่าสามารถผลักดันเรามาได้ไกลขนาดนี้”

ทพญ.นภัสพร ชำนาญสิทธิ์ ละลายตนบนเอเวอเรสต์

 

หมออีมสารภาพว่า แผนแรกที่คิดไว้คือจะเดินให้ถึงเบสแคมป์ บริเวณด้านล่างของเอเวอเรสต์ เพราะเธอมองว่ายอดเอเวอเรสต์ยิ่งใหญ่และสูงเกินไปสำหรับเธอแต่เมื่อเวลาผ่านไป เธอไปเดินมาแล้วหลายยอดเขาสั่งสมมาหลายประสบการณ์ ทำให้ความฝันเดิมเพิ่มขนาดใหญ่ และระยะทางระหว่างเธอกับเอเวอเรสต์ก็เริ่มสั้นลงจนเธอสามารถเอื้อมได้ในที่สุด

“เราต้องลองดูสักครั้ง” เธอกล่าวถึงเอเวอเรสต์ “อีมเชื่อว่าพอเรามีความฝัน มันมีพลังพอให้เปลี่ยนแปลงตัวเองเพื่อที่จะทำตามความฝันนั้น ซึ่งสุดท้ายแล้วถ้ามันไม่สำเร็จก็ไม่เป็นไร เพราะเราได้ลงมือทำบางอย่างกับความฝันและเราจะไม่เสียใจกับสิ่งที่ทำลงไปเลย”

ทพญ.นภัสพร ชำนาญสิทธิ์ ละลายตนบนเอเวอเรสต์

 

ความมุ่งมั่น ละตัวตน

การเดินทางสู่ยอดเขาเอเวอเรสต์ใช้เวลา 33 วัน ซึ่งระหว่างทางต้องเผชิญกับสภาพอากาศติดลบ 40 องศาฯภาวะออกซิเจนต่ำ และเส้นทางที่ปกคลุมด้วยหิมะหนาเตอะแบบไม่ราบรื่น

“ความรู้สึกว่า มาทำไม มันเกิดขึ้นแทบทุกวัน” เธอกล่าว “ตอนตัดสินใจมาเราไม่ได้คิดว่าจะเหนื่อยจะลำบากขนาดนี้ เพราะเรามองจากคนที่หาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตอย่างเดียว แต่พอได้ไปเจอกับตัวเองมันไม่ใช่อย่างที่คิดจึงเกิดความท้อขึ้นในตัวเอง แต่เราเดินต่อได้เพราะพลังข้างในมันผลักดันให้ไปข้างหน้า มันมีพลังอยู่ข้างในจริงๆ”

ทพญ.นภัสพร ชำนาญสิทธิ์ ละลายตนบนเอเวอเรสต์

 

หมออีมเล่าถึงจังหวะที่จะเดินขึ้นยอด ตอนนั้นเธอรู้สึกเหมือนจะเดินต่อไม่ไหวและอยากหันหลังกลับ เพราะคิดว่า การทำความฝันของตัวเองมันช่างเหนื่อยนัก และพลังทั้งหมดที่มีก็ใช้มันจนหมดสิ้นแล้ว

“เราไม่เหลืออะไรแล้ว เราอยากกลับลงไป” เธอคิดเช่นนั้น “แต่ในใจก็คิดถึงอีกแรงหนึ่งที่พาเรามา นั่นคือในหลวง เราอยากนำพระบรมฉายาลักษณ์และธงชาติไทยขึ้นไปบนยอด เราท่องไว้ในใจตลอด พอคิดได้แบบนี้จึงเปลี่ยนความคิดใหม่ เลิกคิดถึงแล้วว่านั่นคือความฝันของเรา ความเป็นตัวเรามันค่อยๆ ละลายไปเรื่อยๆเพราะถ้าจะทำเพื่อความฝันตัวเองมันพอแล้ว เราไม่ทำแล้ว แต่ข้างในตัวต่างหากที่พาให้เราไปจนถึงยอดเขาเราทำเพื่อในหลวง เราทำเพื่อชาติไทย นั่นคือความยิ่งใหญ่และเราต้องทำให้สำเร็จ” นั่นเป็นจุดที่เธอไม่มีตัวตนอีกต่อไปและนั่นเป็นความรู้สึกที่เธอจะไม่ลืม

ทพญ.นภัสพร ชำนาญสิทธิ์ ละลายตนบนเอเวอเรสต์

 

ความฝัน ความจริง

หมออีมเล่าว่า วินาทีที่เท้าแตะส่วนที่สูงที่สุดในโลกน่าแปลกที่ความรู้สึกตอนนั้นต่างจากสิ่งที่เคยคิดมาก

“เอเวอเรสต์เป็นความฝันของเรามานานมาก พูดได้เลยว่ามันคือความฝันอันสูงสุด เลยคิดมาตลอดว่าถ้าทำสำ เรจ็ เราจะรู้สึกภูมิใจในตัวเอง รู้สึกว่าตวั เองยิ่งใหญ่ที่ได้ขึ้นอยู่บนจุดสูงสุดของโลก แต่พอขึ้นไปอยู่บนนั้นมันไม่ได้รู้สึกแบบที่คิดไว้เลย” เธอหยุดคิดอะไรบางอย่าง“มันกลับรู้สึกว่า ตัวเรามันเหลือเล็กนิดเดียว ธรรมชาติมันยิ่งใหญ่มาก ตัวเราเป็นแค่สิ่งเล็กๆ ในจักรวาล ซึ่งมันมีปัจจัยเยอะแยะมากมายที่ทำให้เราได้ขึ้นไปอยู่บนนั้น” เธอชะงักความคิดอีกครั้ง

ทพญ.นภัสพร ชำนาญสิทธิ์ ละลายตนบนเอเวอเรสต์

 

“ธรรมชาติอนุญาตให้เราขึ้นไป เราเป็นสิ่งที่เปราะบางเล็กน้อยมาก และจุดสูงสุดนี้มันก็คือแผ่นดินเดียวกันกับข้างล่างนั่นแหละ เพียงแต่เรายกให้มันเป็นจุดที่สูงสุดซึ่งไม่มีอะไรทำให้เรายิ่งใหญ่ขึ้นมาเลย”

เธอชูพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวขึ้นเหนือเกล้าและสะบัดธงชาติไทยปลิวไสวบนยอดเขาเอเวอเรสต์ หมออีม นักปีน และทีมงานทั้งหมดรวม 9คน ใช้เวลาสั้นๆ เพียง 20 นาทีเก็บเกี่ยวความรู้สึกและบรรยากาศทุกอย่างให้มากที่สุด ก่อนที่จะเดินลงซึ่งถือเป็นการเดินทางบทใหม่ที่โหดกว่าเดิม

ทพญ.นภัสพร ชำนาญสิทธิ์ ละลายตนบนเอเวอเรสต์

 

“ขาขึ้นเรามีเป้าหมาย เราทุ่มเทกำลังของเราทั้งหมดให้กับมัน โดยที่ไม่ได้เผื่อแรงไว้สำ หรับขากลับ” ประกอบกับระดับความชันและระยะการมองเห็นเท้าตัวเองที่ถูกบังด้วยหน้ากากออกซิเจน ทำให้ทุกก้าวต้องใช้ความระมัดระวังมาก “สิ่งที่สำคัญที่สุด แต่ละก้าวคือ สติ เราต้องมีสติตลอดเวลา ในทุกย่างก้าวที่เราย่ำลงไป เพราะเราไม่รู้ว่าก้าวต่อไปชีวิตเราจะยังอยู่ไหม เราสามารถพลาดได้ทุกเมื่อ” เธอกล่าว

ขณะที่หมออีมลงมาถึงเบสแคมป์ด้านล่าง ในประเทศไทยก็เริ่มนำเสนอข่าวหญิงไทยคนแรกพิชิตเอเวอเรสต์ กระทั่งเธอกลับมาถึงเมืองไทยก็กลายเป็นข่าวใหญ่ประจำวัน ซึ่งชื่อเสียงที่ได้มานั้นเธอมองว่า มันนอกเหนือความตั้งใจ เพราะภารกิจนี้เริ่มจากกลุ่มคนเล็กๆ ในเพจเฟซบุ๊ก Thai Everest 2016 ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อหาสปอนเซอร์และอัพเดทการเดินทางให้กับคนคอเดียวกันในแวดวงขนาดเล็ก ทว่าในตอนนี้เมื่อพูดชื่อหมออีมมักจะมากับตำแหน่งหญิงไทยคนแรกที่พิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งเธอกลับไม่รู้สึกภูมิใจกับตำแหน่งเลย

ทพญ.นภัสพร ชำนาญสิทธิ์ ละลายตนบนเอเวอเรสต์

 

“สิ่งที่เรารู้สึกกลับกลายเป็นการที่เราทำเพื่อชาติไทย ทำเพื่อในหลวง และได้สร้างแรงบันดาลใจให้เพื่อนๆหรือใครก็แล้วแต่ลุกขึ้นมาเปลี่ยนแปลงตัวเอง ตรงนี้ต่างหากที่ยิ่งใหญ่กว่าตำแหน่งมาก”

ปัจจุบันหมออีมกลับไปทำงานเป็นทันตแพทย์ ประจำโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ ทำหน้าที่รักษาคนไข้ โดยที่ยังไม่ทิ้งความฝัน ตลอด 5 ปีที่ผ่านมาเธอเคยพิชิตคินาบาลู เมร่าพีก อันนาปุรณะ ลาร์คยาพีก ไอร์แลนด์พีกและล่าสุด เอเวอเรสต์ ซึ่งเธอก็ยืนยันว่าจะพิชิตยอดเขาอื่นๆ ต่อไปแม้ว่าจะเคยไปอยู่จุดสูงสุดของโลกแล้วก็ตาม

ทพญ.นภัสพร ชำนาญสิทธิ์ ละลายตนบนเอเวอเรสต์

 

“ความฝันเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจอย่างหนึ่งที่มีพลังมาก เหมือนเป็นน้ำหล่อเลี้ยงให้ชีวิตมันชุ่มชื่น” เธอฝากถึงคนที่กำลังรอทำตามความฝัน “อีมเองก็เคยกลัวที่จะทำตามฝัน กลัวว่าจะทำไม่ได้ กลัวว่าทำไปแล้วจะไม่สำเร็จ แต่พอถึงจุดจุดหนึ่งที่เรารู้สึกว่า ถ้าเราไม่ลงมือทำอะไรสักอย่าง เราจะเสียดายเวลาไหม โดยเฉพาะหากมีโอกาสอยู่ตรงหน้า แล้วไม่คว้ามันไว้ เราจะมานั่งเสียใจไหม ถ้าไม่เริ่มก็จะไม่สำเร็จ หรือหากสุดท้ายมันไม่สำเร็จ มันก็ดีแล้วที่เราได้พยายาม เพื่อเป็นบทเรียนให้การก้าวครั้งต่อไป อีมเชื่อว่าทุกอย่างที่เราทำลงไปมันดีอยู่แล้วเพราะอย่างน้อยก็กล้าที่จะเริ่มต้น”เธอทิ้งท้าย

ประเทศไทยมีผู้พิชิตเอเวอเรสต์ 3 คน คนแรกวิทิตนันท์ โรจนพานิช คนที่สอง อาคม กิจวนิชประเสริฐและคนล่าสุด ทพญ.นภัสพร ชำนาญสิทธิ์ ผู้หญิงธรรมดาที่ขึ้นไปสู่จุดสูงสุดของโลกได้ด้วยหัวใจ

ทพญ.นภัสพร ชำนาญสิทธิ์ ละลายตนบนเอเวอเรสต์

 

ทพญ.นภัสพร ชำนาญสิทธิ์ ละลายตนบนเอเวอเรสต์