posttoday

โรคข้อเสื่อม ภัยที่มากับสังคมสูงอายุ

14 พฤศจิกายน 2558

ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเรียบร้อยแล้ว และสิ่งที่ตามมาก็คือโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยเฉพาะโรคข้อเข่าเสื่อม

โดย...เบ็ญจวรรณ รัตนวิจิตร

ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเรียบร้อยแล้ว และสิ่งที่ตามมาก็คือโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ โดยเฉพาะโรคข้อเข่าเสื่อม

นพ.กีรติ เจริญชลวานิช ที่ปรึกษาและศัลยแพทย์ โรงพยาบาลกรุงเทพไชน่าทาวน์ กล่าวว่า จากพฤติกรรมของคนในยุคปัจจุบัน บวกกับสังคมอุดมคนชราที่มีจำนวนคนสูงอายุเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมเพิ่มจำนวนมากขึ้น

จากสถิติของมูลนิธิโรคข้อในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พบว่า คนไทย 1 ใน 3 มักจะป่วยด้วยโรคข้อ โดยเฉพาะโรคข้อเข่าเสื่อม โดยคนที่อายุน้อยกว่า 30 ปี พบเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม 1% อายุน้อยกว่า 40 ปี พบ 10% และอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป พบมากถึง 50% ของประชากร

โรคข้อเสื่อมเป็นโรคที่เกิดจากการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนที่บริเวณผิวข้อ ขาดความราบเรียบ มีความขรุขระ ทำให้เกิดอาการเจ็บ ผิดรูปร่างเดิมไป หน้าที่ของข้อต่อที่เคยขยับได้ดีก็ขยับได้ลดลงมีการติดขัด เจ็บ ไม่สามารถรองรับน้ำหนักหรือว่าใช้งานในชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

“น้ำหนักตัว การแบกหามของที่มีน้ำหนักมากเป็นประจำ หรืออยู่ในท่าที่ต้องนั่งกับพื้น หรือในท่าที่ต้องงอพับเข่ามากๆ ท่าเหล่านี้ล้วนทำให้ข้อเสื่อมได้ โดยเฉพาะผู้ที่มีอาชีพที่ต้องแบก หาม เช่น ผู้ใช้แรงงาน หรืออาชีพที่ต้องนั่งกับพื้นหรือต้องนั่งยองๆ เป็นเวลานาน ตลอดจนโรคบางโรคทำให้ข้อสึกได้ง่าย เช่น โรคเกาต์ โรคไขข้ออักเสบ รูมาตอยด์ อีกทั้งการประสบอุบัติเหตุ นักกีฬาเมื่อได้รับการบาดเจ็บแล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ก็จะทำให้ข้อสึกเร็วได้เช่นกัน” นพ.กีรติ กล่าว

สำหรับสัญญาณเตือนและกลุ่มเสี่ยงของอาการข้อเสื่อมว่า เป็นผู้ที่มีความผิดปกติแต่กำเนิดของข้อสะโพกหรือข้อเข่า, ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จะเริ่มพบปัญหาการสึกกร่อนของกระดูกอ่อนผิวข้อ, ผู้ที่มีโรคข้ออักเสบจากโรคข้อรูมาตอยด์ โรคข้อติดแข็ง โรคติดเชื้อ, ออกกำลังกายที่มีการกระแทกข้อซ้ำๆ ต่อเนื่องยาวนาน, เคยประสบอุบัติเหตุต่อข้อ เช่น ข้อหลุดเคลื่อน กระดูกหักเข้าข้อ เป็นต้น, น้ำหนักตัวมาก, พันธุกรรม, ใช้ยาสเตียรอยด์ต่อเนื่อง หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นจำนวนมาก

ปัจจุบัน การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม™ มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากต่างประเทศมาใช้ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมเป็นเทคโนโลยีช่วยผ่าตัด Zimmer® iASSIST™ Knee-The Personalized Guidance System สำหรับผู้ป่วยที่ข้อเข่าสึกกร่อนมากจนเสียไปมากกว่า 70-80% ของผิวข้อ ก็จะต้องผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมทั้งหมด

ทั้งนี้ ศูนย์ผ่าตัดข้อเทียมกรุงเทพไชน่าทาวน์ โรงพยาบาลกรุงเทพไชน่าทาวน์ มีหัวใจในการดูแลรักษาแบบ Bangkok SMART Joint Center ที่ให้การดูแลแบบรอบด้าน เพื่อช่วยแก้ทุกระดับของปัญหาที่เกิดขึ้นภายหลังการผ่าตัดข้อเทียม ลดความเจ็บปวด และลดอัตราภาวะแทรกซ้อนไม่พึงประสงค์ได้