posttoday

แปลงเพศมีดีมีเสีย คิดให้ดีอย่างถี่ถ้วน

20 สิงหาคม 2558

ความหลากหลายของเพศทางเลือกป็นที่ยอมรับมากขึ้น เมื่อเป็นที่ยอมรับหลายคนก็อยากจะผ่าเพื่อให้ชีวิตสมบูรณ์แบบตามที่ต้องการ

โดย...อณุสรา/วราภรณ์/จตุรภัทร

ความหลากหลายของเพศทางเลือกป็นที่ยอมรับมากขึ้น เมื่อเป็นที่ยอมรับหลายคนก็อยากจะผ่าเพื่อให้ชีวิตสมบูรณ์แบบตามที่ต้องการ ประเทศไทยสาวประเภทสองนั้นได้ชื่อว่าสวยงามที่สุดในและแพทย์ผ่าตัดแปลงเพศของไทยก็มีฝีมือเป็นที่ยอมรับเลื่องลือ แต่การผ่าตัดแปลงเพศก็ควรจะหาข้อมูลให้ลึกซึ้งถี่ถ้วน ถ้าทำผิดๆ ผลเสียหายจะตามมาแบบคาดไม่ถึง มาคุยกับผู้ที่เกี่ยวข้องว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ได้ชีวิตอย่างที่ใช่

พญ.จิราภรณ์ อรุณากูร กุมารแพทย์เวชศาสตร์วัยรุ่น ผู้ก่อตั้งคลินิกเพศหลากหลาย โรงพยาบาลรามาธิบดี แพทย์ที่ปรึกษาให้กับผู้ที่ต้องการผ่าตัดแปลงเพศ เล่าว่า ทุกอย่างมี 2 ด้านเสมอ แต่ด้านดีของการผ่าตัดแปลงเพศก็คือหลังจากที่ผู้ต้องการผ่าตัดได้ปรึกษาจิตแพทย์อย่างถูกต้องตามหลักการแล้วลองใช้ชีวิตแบบผู้หญิงมาสักพักแล้ว ข้อดีของการได้ผ่าตัดก็คือได้เติมเต็มความรู้สึกของตัวเองแบบที่อยากได้อยากเป็น คือร่างกายกับจิตใจตรงตามต้องการ ใช้ชีวิตได้แบบสมบูรณ์ขึ้นในแง่การมีคู่แฟน เพราะทำให้รู้สึกว่าได้เป็นผู้หญิงจริงๆ เพียบพร้อมภูมิใจเดินไปไหนดูเหมือนคู่รักหญิงชายโดยไม่ขัดเขิน

“ผู้ผ่าจะมีความสบายใจไม่เครียดเพราะสมหวังกับร่างกายตามที่ฝันว่าอยากจะเป็นผู้หญิงแท้ๆ เขาจะใช้ชีวิตแบบเติมเต็มสบายใจไร้กังวล ไม่เครียดไม่ทุกข์ไม่กังวลอีกต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อได้ผ่าทุกคนจะบอกเลยว่า เมื่อผ่าแล้วรู้สึกว่ามันใช่เลยได้เป็นผู้หญิงจริงๆ เสียที”

แปลงเพศมีดีมีเสีย คิดให้ดีอย่างถี่ถ้วน

 

คิดว่าใช่แต่ไม่ใช่

พญ.ญดา พงษ์กาญจนะ จิตแพทย์ที่ปรึกษาโรงพยาบาลเวชธานี กล่าวว่า การผ่าตัดแปลงเพศมันคือการเปลี่ยนชีวิตครั้งใหญ่ ถ้าพลาดจะเสียหายหนักตัดไปแล้วเอาคืนไม่ได้ เรียกว่า Point of no return ดังนั้น ข้อเสียก็คือการตัดสินใจได้ไม่ถี่ถ้วน ไม่ถูกต้องตามหลักการที่ควรจะทำ คิดว่าผ่าแล้วจะใช่แต่กลับไม่ใช่ขึ้นมา ผู้ผ่าตัดจะต้องใช้ชีวิตที่เหลืออย่างไม่มีความสุข คิดว่านั่นคือสิ่งที่ตนและคู่รักต้องการ แต่เมื่อผ่าแล้วปรากฏว่าความรักความสัมพันธ์ก็ไม่ดีขึ้น หลงผิดว่าผ่าแล้วแฟนจะชอบปรากฏว่าแฟนก็ไม่ได้รู้สึกดีกว่าก่อนผ่า ทำให้เขาเครียด วิตกกังวล คิดว่าตัดสินใจพลาด เลยยังคงใช้ชีวิตในความรู้สึกแบบครึ่งกลางอยู่แบบเดิม ความทุกข์ความเครียด ความกังวล ไม่ได้มีความสุขแบบใจนึก

“เมื่อ 2 ปีก่อนมีข่าวเด็กวัยรุ่นแอบไปตัดอัณฑะเพื่อลดฮอร์โมนเพศชายในตัว ซึ่งใช่แต่มันก็ส่งผลกับสุขภาพด้านอื่นๆ และเมื่อเขาโตขึ้นพบว่ามันไม่ใช่เขาแก้ไขไม่ได้เกิดเปลี่ยนใจ ก็ต้องอยู่ในสภาพนั้นตลอดไป เขาไม่เคยมาพบแพทย์ทำไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ไม่ศึกษาข้อมูล การลดฮอร์โมนเพศชายในตัวไม่จำเป็นต้องตัดอัณฑะมียากินลดฮอร์โมนก็ได้ไม่แพงไม่เจ็บ การผ่าตัดแปลงเพศควรให้เวลาตัวเองในการเตรียมพร้อมตัดสินใจไม่ต้องรีบร้อนจะได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่า ผ่าแล้วก็ไม่ได้เติมเต็มอารมณ์และจิตใจอย่างที่วาดฝันไว้ก็มี แล้วก็ไม่ได้มีความสุขอย่างที่คิด”

แปลงเพศมีดีมีเสีย คิดให้ดีอย่างถี่ถ้วน

 

วันที่ฉันเป็นผู้หญิงโดยสมบูรณ์

มีโอกาสพูดคุยกับ ซี-เนตรระตรี สัมพันธวงศ์ เมกอัพ อาร์ตติสต์อิสระ ผู้ที่ผ่านการแปลงเพศเป็นผู้หญิงโดยสมบูรณ์ เธอเล่าให้ได้รู้ว่า ตั้งแต่เด็กก็ใช้ชีวิตตามปกติ พอโตขึ้นมาเริ่มแต่งหญิง พอมีคนทักว่าสวย น่าจะแปลงเพศ ก็เริ่มมีความคิดเรื่องนี้อยู่ในหัวตลอดเวลา

“ถามว่า ถ้าไม่แปลงเพศล่ะยังจะมีชีวิตอยู่ต่อไปได้มั้ย ก็ได้ มันก็มีข้อดีของมันคือ เราไม่ต้องเสียเงินเสียทอง ไม่ต้องเจ็บตัวกับการผ่าตัด ไม่ต้องเสียเวลาพักฟื้น ไม่ต้องใช้แท่งมาโมทุกวัน แต่มันก็ส่งผลเรื่องทางความรู้สึกที่ว่าเราอยากให้อวัยะเพศชายของเรามันหายไป ถ้าไม่แปลง มันก็ไม่หายไปอย่างที่เราอยากให้หาย ซีไม่ได้รังเกียจอวัยะเพศชายของตัวเอง แค่รู้สึกว่า ถ้ามีแบบที่ซีอยากได้ น่าจะดีกว่า และจะได้มั่นใจมากขึ้น เวลาใส่กางเกงรัดๆ หรือใส่ชุดว่ายน้ำ ก่อนแปลงเพศ ซีไม่มั่นใจในจุดนี้เลย เลยไม่เคยใส่กางเกงรัดๆ และชุดว่ายน้ำ เวลาว่ายน้ำหรือไปเที่ยวทะเล”

เธอตัดสินใจแปลงเพศเมื่อ 7-8 ปีที่แล้ว โดยเข้าพบจิตแพทย์ 2 ท่าน “คนแรกต้องวิเคราะห์และยินยอม ถึงจะไปคุยกับอีกคนได้ ทั้งสองคนต้องเป็นหมอต่างโรงพยาบาลกัน เพื่อดูว่าเราพร้อมที่จะเปลี่ยนเพศสภาพของตัวเองได้จริงๆ คุณหมอจะดูทั้งวิถีชีวิตที่เราใช้ชีวิตแบบผู้หญิง ความต้องการทางเพศของเรา ดูว่าเราอยากทำจริงๆ หรือแค่อยากทำ ถ้าแปลงเพศไปแล้ว คิดอยากจะเอาคืน มันคืนกลับมาไม่ได้ หมอเลยต้องระมัดระวังจุดนี้ เพื่อผลในระยะยาวของการใช้ชีวิตอยู่ของเรา รวมทั้งสภาพจิตใจด้วย ซึ่งเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด”

แปลงเพศมีดีมีเสีย คิดให้ดีอย่างถี่ถ้วน ซี-เนตรระตรี สัมพันธวงศ์

 

สำหรับการแปลงเพศ เธอใช้เวลาทำ 5 ชม. พอฟื้นขึ้นมา ก็ไม่ได้รู้สึกเจ็บ แต่รู้สึกหน่วงๆ อยู่ระหว่างขา “ตอนเปิดแผลครั้งแรก คุณแม่มาดู คุณแม่ถึงกลับชมคุณหมอว่าทำออกมาได้สวย เหมือนของผู้หญิงจริงๆ ก็ถือเป็นความภูมิใจของเรา รวมทั้งความรู้สึกตอนได้ฉี่ครั้งแรก ก็ตื่นเต้น ตกใจ แปลกใจ ระคนกันไป รู้สึกถึงความเป็นคนใหม่ของเราได้จริงๆ ตอนนั้นก็ได้รู้ว่าเวลาฉี่ ทิศทางของฉี่ของผู้หญิงเป็นอย่างไร (หัวเราะ)”

เมื่อมาพักฟื้นที่บ้าน เนตรระตรีต้องใช้แท่งมาโมทุกวัน เพื่อแผลจะได้ไม่ตีบตัน “ถึงมันจะยุ่งยากลำบาก แต่เราก็มีความสุขกับการที่จะอยู่กับความยุ่งยากลำบากนั้น หลังจากพักฟื้นได้สักพัก ก็ออกไปทำงานได้ เพียงแต่อาจจะยืนหรือนั่งนานเกินไปไม่ได้ ต้องสลับๆ กันไป”

ก่อนทำเธอไม่มีความมั่นใจในเรื่องของการใส่กางเกงรัดๆ และชุดว่ายน้ำ แต่พอหลังทำมันทำให้เธอมีความมั่นใจมากขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาแต๊บ “ในส่วนของการยอมรับของสังคม เคยมีมาแบบไหน มันก็ยังมีมาแบบนั้น ไม่ต่างกัน หมายความว่า บางคนรักเรา ยอมรับในตัวเรา เราแปลงเพศแล้วก็ยังรักเรายอมรับเราอยู่เหมือนเดิม ส่วนบางคนต่อต้าน เกลียดชัง กีดกัดเราแค่ไหน เคยเป็นมาอย่างไร แปลงเพศแล้ว ก็ยังคงเดิม (ยิ้ม)”

แปลงเพศมีดีมีเสีย คิดให้ดีอย่างถี่ถ้วน ซี-เนตรระตรี สัมพันธวงศ์

 

ที่มีคนพูดว่า สาวประเพศสอง เมื่อแปลงเพศแล้วจะเอ๋อๆ เบลอๆ ทำอะไรช้าลง หลงๆ ลืมๆ ย้ำคิดย้ำทำ “โดยส่วนตัวซีคิดว่าก็เป็นปกตินะคะ แถมสุขภาพจิตจะดีขึ้นด้วยซ้ำ เพราะเราได้เป็นผู้หญิงแบบสมบูรณ์ แต่ถ้าคนจะเปลี่ยนไป ก็ต้องเข้าใจเรื่องการปรับสภาพร่างกาย ที่มีผลข้างเคียงบ้างในช่วงแรกๆ หลังจากนั้นก็ใช้ชีวิตแบบเป็นปกติสุข”

สำหรับคนที่กำลังอยู่ในช่วงของการตัดสินใจ เนตรระตรีฝากบอกว่า ให้ถามใจตัวเองให้ดีและมากที่สุด “ดูปฏิกิริยาครอบครัว คนรอบข้าง ว่าเขาสนับสนุนเรามากแค่ไหน และพบเจอพูดคุยแบบเปิดอกอย่างจริงจังกับจิตแพทย์ เพื่อความมั่นใจจะได้ไม่มาเสียใจทีหลัง และให้เลือกคุณหมอที่เชี่ยวชาญชำนาญ และเลือกโรงพยาบาลที่มีความสะอาดปลอดภัย”

แปลงเพศต้องคิดให้รอบคอบ

ด้วยรูปร่างที่เล็กน่ารัก ดูไม่รู้เลยว่า นิว-ดนัยนันท์ มณีเจริญพงศ์ วัย 21 นักศึกษาคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร กำลังไปเรียนที่ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้หญิงข้ามเพศ เพราะนอกจากรูปร่างที่เล็กกะทัดรัดแล้ว เธอยังมีใบหน้าที่สวยกว่าผู้หญิงแท้หลายๆ คนเลยทีเดียว ยกเว้นแต่เพียงเสียงพูดที่ยังมีความเป็นผู้ชายอยู่ ข้อนี้จึงเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เธอมีความคิดอยากแปลงเพศตั้งแต่อายุเพียง 18 ปี

“จุดเปลี่ยนชีวิตเริ่มตอนอายุ 16 ปี อยากแต่งตัวเป็นผู้หญิงมากๆ ความสุขจากการได้แต่งหญิงคือ เราได้ทำในสิ่งที่อยากเป็น มันใช่เลย นิวเริ่มกินฮอร์โมนตั้งแต่อายุ 16 ยิ่งทำให้นิวเปลี่ยนแปลงจากภายใน คือละมุนขึ้นทั้งรูปร่าง หน้าตา นิสัย เวลาไปเรียนที่มหาวิทยาลัยนิวก็แต่งตัวเป็นผู้หญิง” และจุดที่ทำให้นิวอยากแปลงเพศชัดเจนขึ้น เมื่อเธอมีแฟนหนุ่มสจ๊วดรูปหล่อชาวต่างชาติ จึงทำให้เธออยากใช้ชีวิตคู่หญิงชายเหมือนปกติทั่วไป

“แม้การใช้ชีวิตเราเป็นผู้หญิงอยู่แล้ว แต่มันมีเรื่องเพศสัมพันธ์เข้ามาเกี่ยวข้อง แม้เราไม่มีปัญหาเรื่องนั้นแต่นิวยังไม่มีอวัยวะเพศหญิง แต่มันจะดีกว่าไหม นิวจึงตัดสินใจอยากผ่าตัดแปลงเพศตั้งแต่เรียนอยู่ปีหนึ่ง แต่คุณสมบัติการผ่าตัดจะต้องอายุบรรลุนิติภาวะคือ 20 ปีขึ้น และอายุ 21 เมืองไทยจึงผ่าได้ นิวจึงวางแผนหลังเรียนจบตั้งใจจะผ่าตัดแปลงเพศจริงๆ เพราะเราพร้อมหมดทุกด้านทั้งเรื่องเงิน พร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจเพราะนิวศึกษามาหมด และศึกษามาหลายปีแล้วค่ะ” สิ่งที่นิวอยากเปลี่ยนให้มีลุคผู้หญิงอย่างครบถ้วนและสมบูรณ์แบบ ได้แก่ ผ่าตัดหน้าอกกับตัดอวัยวะส่วนล่างออกไปเลย ซึ่งเธอมีความพร้อมเต็มร้อย และมั่นใจมากกับการตัดสินใจในครั้งนี้ว่าผ่านการคัดกรองมาเป็นอย่างดี

แปลงเพศมีดีมีเสีย คิดให้ดีอย่างถี่ถ้วน นิว-ดนัยนันท์ มณีเจริญพงศ์

 

เรียกว่านานถึง 3 ปี ที่นิวเตรียมความพร้อมตัวเอง ศึกษามาหมดว่าก่อนผ่าหมอจะเช็กความพร้อมทั้งทางด้านจิตใจ ก่อนผ่านิวต้องไปขอใบรับรองเพศจากจิตแพทย์ ซึ่งคุณหมอจะเช็กว่าเราใช้ชีวิตปกติของผู้หญิงหรือเปล่า แต่งตัวเป็นผู้หญิงไหม ซึ่งเราพร้อมหมดทุกด้าน

“ข้อดีของการตัดสินใจจะผ่าครั้งนี้ สิ่งที่คาดหวังคือต้องการความสวยงาม เราจะได้เป็นผู้หญิงที่สมบูรณ์ โดยตั้งใจเลือกหมอศัลยกรรมที่เคยผ่าให้พี่ปอย ตรีชฎา ซึ่งเป็นคุณหมอที่เก่งมาก เพราะผ่าออกมาแล้วโอเคทุกอย่างทั้งภายนอกภายใน เรื่องความรู้สึกสำคัญที่สุดเราแคร์เรื่องนี้ พอผ่าแปลงเพศเสร็จ อยากผ่าหน้าอกและกล่องเสียงให้เป็นผู้หญิงมากขึ้น เพราะนิวอยากเป็นผู้หญิงอย่างสมบูรณ์แบบ”

สำหรับข้อเสียที่ประเมินว่าน่าจะมี แต่ก็ไม่ถึงกับเป็นข้อเสียของการผ่าตัดแปลงเพศ เช่น หลังผ่าตัดไปแล้วต้องมีการใช้แท่งแก้วสอดลงไปในช่วง 2 เดือนแรก เพราะแผลผ่าตัดยังไม่แห้งสนิท ทำให้อาจไม่รู้สึกสะดวกสบายในการเคลื่อนไหว รวมทั้งต้องกินฮอร์โมนเพศหญิงตลอดชีวิต ที่เหลือก็คือผลเสียที่อาจเกิดขึ้นหากไม่ดูแลตัวเอง เช่น หากมีเพศสัมพันธ์มากไป ที่ผ่าอาจไม่สวยงามหย่อนคล้อย

ลดฮอร์โมนเพศชายในตัว ซึ่งใช่แต่มันก็ส่งผลกับสุขภาพด้านอื่นๆ และเมื่อเขาโตขึ้นพบว่ามันไม่ใช่เขาแก้ไขไม่ได้เกิดเปลี่ยนใจ ก็ต้องอยู่ในสภาพนั้นตลอดไป เขาไม่เคยมาพบแพทย์ทำไปเพราะรู้เท่าไม่ถึงการณ์ไม่ศึกษาข้อมูล การลดฮอร์โมนเพศชายในตัวไม่จำเป็นต้องตัดอัณฑะมียากินลดฮอร์โมนก็ได้ การผ่าตัดแปลงเพศควรให้เวลาตัวเองในการเตรียมพร้อมตัดสินใจไม่ต้องรีบร้อนจะได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่า อย่าแค่คิดว่าเราข้ามเพศแล้วต้องผ่าเสมอไปบางคนประเมินผลออกมาเขารับกับสิ่งที่เป็นอยู่ได้โดยไม่ต้องผ่า ถ้าพลาดก็จะไม่มีความสุขไปตลอดชีวิตต้องมองยาวๆ”

 เครดิตภาพ..

- เกย์ผมเกรียนใส่ตุ้มหูฟ้า  - AFP

- กะเทยชุดขาวปักดอกไม้  - AP

- กะเทยชุดขาวเรียบ       - AP

- ดิว ดนัยนันท์   - ไม่ต้องมีเครดิต

- เนตรระตรี     -  วิศิษฐ์  แถมเงิน