posttoday

บริหารการเงินรับปีแพะ

24 มกราคม 2558

สำหรับวัยหนุ่มสาว ยังเป็นช่วงเริ่มต้นใช้ชีวิต ภายหลังเรียนจบ และหารายได้ได้ด้วยตัวเอง

6 นิสัยยอดแย่ทางการเงิน

สำหรับวัยหนุ่มสาว ยังเป็นช่วงเริ่มต้นใช้ชีวิต ภายหลังเรียนจบ และหารายได้ได้ด้วยตัวเอง ในวัยนี้ยังต้องลองผิดลองถูกในการใช้ชีวิต และการใช้จ่ายที่มีหลายอุปสรรคที่จะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้คุณไปไม่ถึงเป้าหมายในการออมเงิน จะขอสรุปนิสัยที่ไม่ควรทำในการใช้เงินดังนี้

1.ไม่วางแผนการเงิน

การมีเป้าหมายทางการเงิน จำเป็นต้องวางไว้ทั้ง
เป้าหมายในระยะสั้นและระยะยาว คนที่ไม่วางแผนจึงมักจะพบว่าตัวเองมักมีเรื่องเร่งด่วนอื่นโผล่มาก่อนถึง
เป้าหมายเป็นระยะๆ ระหว่างการออม เช่น อยากซื้อรถเพราะต้องย้ายที่ทำงานใหม่ไปไกลและเดินทางลำบากกว่าเดิม อยากได้สมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ที่เห็นในโฆษณา หรือแม้แต่อยากต่อเติมห้องนอน ฯลฯ

สิ่งเหล่านี้ที่ไม่ได้อยู่ในแผนจะทำให้เราหยุดออมสำหรับเป้าหมายวัยเกษียณ แล้วหันไปจ่ายเพื่อเรื่องอื่นๆ ที่คิดว่าสำคัญกว่า และไม่ได้อยู่ในแผนไว้แต่แรก จนทำให้การออมสำหรับเป้าหมายหลักลดระดับความเข้มข้นลงไปจากความต้องการ

2.ใช้จ่ายแบบไม่รอบคอบ

บางคนประมาทเพราะคิดว่าตัวเองมีหลักประกันในอนาคต เช่น คิดว่ายังมีเงินจากกองทุนประกันสังคม กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ ฯลฯ สำรองอยู่เสมอ โดยหลงลืมไปว่า รายได้จากกองทุนเหล่านี้ พอถึงเวลาเข้าจริงๆ ก็ไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายหลังเกษียณ หรือเหตุฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นได้จากความเจ็บไข้ได้ป่วยที่ไม่ได้คาดคิดไว้ก่อน

3.ก่อหนี้ไว้จนเกินตัว

เป็นเหตุให้ต้องเอาเงินที่จะได้มาในอนาคตไปหักหนี้ที่ก่อไว้ เช่น ปล่อยให้ตัวเองเป็นหนี้บัตรเครดิตทับถม จนต้องกู้เงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือเงินจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินจากประกันชีวิต จนท้ายที่สุดไม่มีเงินเหลือไว้ใช้จ่ายเมื่อเกษียณ

4.ไม่รู้ว่าตัวเองมีเงินสดเท่าไหร่

ได้เงินมาเท่าไหร่ก็ใช้ไปเท่าที่มี เงินหมดก็เบิกธนาคารออกมาใช้อยู่เรื่อยๆ ไม่มีการกันเงินไว้เป็นก้อนเป็นประเภทว่าประเภทไหนใช้ได้เมื่อไร พูดง่ายๆ คือไม่เคยทำบัญชีรายรับรายจ่ายของตนเองอย่างเป็นกิจจะลักษณะ

5.รายได้ต่ำแต่มีรสนิยมสูง

คือพวกที่ชอบใช้จ่ายเงินเกินตัว จนแต่ไม่เจียม เวลาได้เงินมาก็คิดถึงแต่เรื่องจะใช้เงินอย่างไรจนหมดไม่เหลือเก็บ แถมยังเหนียวหนี้ โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ที่มักประวิงเวลาตัวเองด้วยการทยอยจ่ายแต่จ่ายหนี้ขั้นต่ำ ทำให้ต้องเสียค่าดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมทบต้นหลายตลบ กว่าจะรู้ตัวก็หมดทั้งบัญชี ไม่มีเหลือให้เบิก คราวนี้ละต้องกู้หนี้ยืมสินให้เสียดอกเบี้ยหนักขึ้นไปอีก


6.บริหารเงินแบบไม่มีความรู้

เห็นใครเขาฮิตอะไรก็แห่ไปลงทุนตามเขา ซื้อทองซื้อหุ้นแบบไม่เคยทำการบ้าน วันๆ ก็เอาแต่ตามกระแสโดยไม่สนใจศึกษาหาความรู้ด้วยตนเอง รวมทั้งไม่มีการจัดสรรสินทรัพย์ที่ดีพอ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการเพิ่มพูนความมั่งคั่งมาเปิดโลกการเรียนรู้สู่การลงทุน

ที่มา : บทคัดย่อจากหนังสือ ยิ่งจ่ายยิ่งรวย

เขียนโดย : พรพรรณ จันทรภพ

บริหารการเงินรับปีแพะ

 

‘จัดพอร์ตรับปีแพะ’

สำหรับวัยใกล้เกษียณที่มีเงินเก็บพอสมควรแล้วและวางแผนที่จะบริหารเงิน สำหรับปีแพะนี้มีข้อแนะนำที่ดีในการลงทุน โดยประเมินจากสถานการณ์เศรษฐกิจที่จะส่งผลต่อความเสี่ยงในการลงทุนดังนี้

อมรเทพ จาวะลา ผู้อำนวยการ สำนักวิจัยธนาคารซีไอเอ็มบี ไทยประเมินสถานการณ์ในปีนี้ ว่า

1. ปัจจัยเสี่ยงหลักปี 2558 มาจาก “เศรษฐกิจโลก” มากกว่า“เศรษฐกิจไทย”

2. ในภาวะดอกเบี้ยต่ำ การลงทุนใน “หุ้น” จะให้ผลตอบแทนคุ้มค่ากว่า

3. “มนุษย์เงินเดือน” ควรเพิ่มกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (แอลทีเอฟ)และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (อาร์เอ็มเอฟ) เพื่อเน้นลงทุนระยะยาว

สมจินต์ ศรไพศาล กรรมการผู้จัดการ บลจ.ทหารไทย มองว่าปี 2558 ราคาสินทรัพย์จะผันผวนมาก ควรกระจายความเสี่ยง โดยจัดเป็น 3 พอร์ต

- ทัพหลัง = เงินที่ต้องใช้ภายใน 12 เดือน ลงทุนตราสารหนี้ระยะสั้น

- ทัพกลาง = ระยะลงทุน 2-4 ปี ควรลงทุนตราสารหนี้ต่างประเทศและกองทุนอสังหาริมทรัพย์

- ทัพหน้า = ระยะลงทุน 5-7 ปี ควรลงทุนในหุ้นทั้งในและต่างประเทศขณะที่ วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนหนุ้ คุณค่าชื่อดงัของโลกแนะนำ ว่า

1. นำเงินออมไปลงทุนใน Index Fund เพราะกองทุนเหล่านี้ให้ผลตอบแทนเทียบเท่าดัชนีตลาดหุ้น และมีค่าธรรมเนียมการจัดการถูกกว่ากองทุนประเภท Active Fund ที่มีผู้จัดการคอยเลือกซื้อหรือขายหุ้น

2. อย่ายุ่งกับ Bitcoin - มันไม่ต่างอะไรกับเช็ค ถ้าคุณคิดว่าสมุดเช็คเปน็ แคช่ อ่ งทางการโอนเงนิ ตวัสมดุ เชค็ ก็ไมม่ คี ่าอะไร ...Bitcoin เองก ็ไม่มีค่าอะไรเช่นกัน

3. เรียนรู้การอ่านงบการเงิน-ไปหาคอร์สวิชา “บัญชี” เรียนซะ คิดซะว่ามันเป็น “ภาษา” หนึ่งที่คุณต้องเรียนเพื่อให้อ่านงบการเงินเป็น

4. “ออมเงินให้เป็น” สำคัญกว่า “ทำอะไรก็ได้ให้รวยเร็ว” - หัด “ออมเงิน”ให้เป็นนิสัยซะก่อน เมื่อออมเงินเป็นแล้ว ค่อยคิดจะ “หาเงิน” ...ถ้าคุณออมเงินไม่เป็น คุณหาเงินได้เท่าไหร่ก็ไม่มีทางรวย

5. เวลาหุ้นตก ให้ “ซื้อ” ...อย่า “ขาย”

6. อย่าแสร้งเป็น “ผู้รู้” ไปซะทุกเรื่อง - ต้องยอมรับว่าตัวเรามีข้อจำกัดไม่สามารถจะเก่งไปหมดทุกเรื่อง ดังนั้นอย่าไปลงทุนในสิ่งที่เราไม่เข้าใจ(บัฟเฟต์เป็นนักลงทุนที่มีวินัยเคร่งครัดว่า “จะไม่ลงทุนในสิ่งที่ตนเองไม่เข้าใจ” เช่น คุณปู่ไม่เคยลงทุนใน Tech Stock)ที่มา : SSO Saving Club และCr. Business Insider http://read.bi/1w9IJSC