posttoday

ทำอย่างไรจะป้องกัน สมองเสื่อมในผู้สูงอายุ (อัลไซเมอร์) #2

22 พฤศจิกายน 2557

โรคอัลไซเมอร์มักพบในอายุหลัง 50 ปี การเกิดโรคไม่ชัดเจน การดำเนินโรคค่อยเป็นค่อยไปมักตรวจไม่เจอ โดยระยะของโรคสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ

การแบ่งระยะ (ตามอาการทางคลินิก)

โรคอัลไซเมอร์มักพบในอายุหลัง 50 ปี การเกิดโรคไม่ชัดเจน การดำเนินโรคค่อยเป็นค่อยไปมักตรวจไม่เจอ โดยระยะของโรคสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ

ระยะต้น : ความจำบกพร่อง ความสามารถในการทำงานลดลง หลงลืม จำทางที่เพิ่งเดินผ่านมาไม่ได้ อารมณ์แปรปรวณ โมโหง่าย ก้าวร้าว ขาดความสนใจในกิจวัตรประจำวัน แต่ยังมีความสามารถช่วยเหลือตัวเองได้อยู่

ระยะกลาง : สูญเสียความทรงจำ ไม่สามารถทำงานได้ จำเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่กี่วันแทบไม่ได้ กินข้าวแล้วบอกว่ายังไม่ได้กิน แม้กระทั่ง ปี-เดือน-วัน ก็จำไม่ได้ รวมถึงเหตุการณ์สำคัญในชีวิตก็นึกไม่ออก ความสามารถในการพิจารณา แยกแยะ เข้าใจ คำนวณถดถอยลงอย่างชัดเจน ที่เป็นหนักๆ คือจำเพื่อนไม่ได้แม้แต่คนใกล้ชิด หรืออาจเดินไปอย่างไร้จุดหมาย หยิบจับของสกปรก การเคลื่อนไหวร่างกายผิดปกติ ผู้ป่วยนอกจากทานข้าว สวมเสื้อผ้า ขับถ่ายเองแล้ว จำเป็นต้องพึ่งผู้อื่นช่วยเหลือ เมื่อตรวจสมองด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT) พบว่า สมองฝ่อลีบ คลื่นไฟฟ้าสมองพบคลื่นช้าจำนวนมากขึ้น

ระยะสุดท้าย : เป็นลักษณะอาการสมองเสื่อมหนักชัดเจนไร้อารมณ์ ไม่แยแส เอาแต่นอน ไม่สามารถพูดจาได้อย่างปกติพูดไม่เป็นภาษา เดินเซ ร่างกายหดเกร็ง ผู้ป่วยไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้เลย สแกนสมองพบสมองฝ่อลีบเป็นบริเวณกว้าง คลื่นไฟฟ้าสมองอาจพบคลื่นช้าทั้งหมด

ความแตกต่างระหว่างอาการหลงลืมในผู้สูงอายุกับอัลไซเมอร์

1.ลักษณะความจำ : การหลงลืมตามวัยเป็นส่วนหนึ่งของอาการหลงลืม การหลงลืมชนิดร้ายแรงคือ การลืมทั้งหมด เช่น ตอนกลางวันมีแขกมาเยี่ยมที่บ้าน ถ้าเป็นการหลงลืมในผู้สูงอายุอาจจำชื่อแขกไม่ได้บางส่วน แต่ไม่ใช่ถึงกับ
จำไม่ได้ทั้งหมดว่ามีแขกมาเยี่ยมที่บ้านเมื่อตอนกลางวัน

2.ด้านสติปัญญา : สูญเสียสติปัญญา ไม่รู้จักวันเดือนปี ไม่สามารถแยกเช้า-บ่าย กลางวัน-กลางคืนได้ดังนั้นมักนอนหลับช่วงกลางวัน ตื่นช่วงกลางคืน ไม่รู้จักคนในครอบครัว ส่องกระจกมองตัวเองแล้วไม่รู้จัก ออกจากบ้านแล้วหาทางกลับไม่ได้

3.อารมณ์เปลี่ยนแปลง : ผู้สูงอายุที่หลงลืมตามวัย อาจเกิดความวิตกกังวลในตัวเองเรื่องการหลงลืม แต่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์นั้นกลับไม่รู้ตนเองว่าเป็นโรค อารมณ์เปลี่ยนเป็นเย็นชา เฉยเมย เหม่อลอยทั้งวัน

4.ความคิดเปลี่ยนแปลง : ผู้สูงอายุที่หลงลืมตามวัยไม่น้อยที่รู้ตัวว่าความจำถดถอย อาจมีการเตรียมสมุดบันทึก1 เล่ม หรืออาจให้สมาชิกในครอบครัวช่วยเตือน นอกจากความจำที่ถดถอย ความคิดด้านอื่นๆ ในการดำรงชีวิตประจำวันจะปกติ แต่ถ้าเป็นผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ความคิดการเคลื่อนไหวยิ่งนานวันยิ่งช้า ความคิดความอ่านยิ่งด้อยลง ปฏิกิริยาตอบสนองช้า ความสามารถของสมองเสื่อมถอยทุกด้าน

5.ลักษณะท่าทีที่มีต่อโรค : ผู้สูงอายุที่หลงลืมตามวัยหลายคนมักเรียกร้องหาวิธีการรักษา คิดหาวิธีเพิ่มความทรงจำ ส่วนผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์จะไม่มีการเรียกร้องในการรักษา

เริ่มป้องกันตั้งแต่ยังวัยรุ่น

ดังที่กล่าวข้างต้นมาทั้งหมดถึงปัจจัยเสี่ยง ฉะนั้นก่อนที่คนเราจะเข้าถึงวัยสูงอายุ จะต้องระมัดระวังปรับการดำรงชีวิตให้เหมาะสมมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนในครอบครัวและสังคมอย่างเหมาะสม หมั่นบริหารสมองใช้สมองอย่างเต็มประสิทธิภาพ ระมัดระวังการรับอะลูมิเนียมเกินปริมาณ เสริมแคลเซียมอย่างเหมาะสม ควบคุมปริมาณไขมัน ไม่สูบบุหรี่หรือลดปริมาณการสูบบุหรี่ให้น้อยลง ระมัดระวังการบาดเจ็บที่สมองใหญ่ ป้องกันและรักษาหลอดเลือดสมองแข็ง การปฏิบัติดังกล่าวนี้จะช่วยลดชะลอสมองฝ่อได้ ซึ่งเป็นการป้องกันโรคอัลไซเมอร์

ข้อสำคัญในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ คือ การเริ่มระมัดระวังตั้งแต่ยังวัยรุ่น รวมถึงหาทางแก้ไขและป้องกันตั้งแต่แรก

1.ป้องกันหลอดเลือดแข็ง : ผู้สูงอายุอาจเลือกกินอาหารที่บำรุงไตและม้ามตามสภาพร่างกายของตนเอง เช่น ฮ่วยซัว พุทราจีน ลูกเดือย นมวัว ถั่วเหลือง ขิง กระเทียม มะเขือยาว เห็ดหูหนู ข้าวโอ๊ต มันเทศ เป็นต้น

2.หมั่นฝึกบริหารสมองและร่างกาย : หมั่นขยับนิ้วมือ ข้อต่อนิ้วมือเพื่อฝึกสมอง (ศาสตร์การแพทย์แผนจีนบำรุงสมองด้วยการขยับนิ้ว ปรบมือ เป็นต้น)

3.ดูแลใส่ใจจิตใจ : รักษาจิตใจให้แจ่มใส ลดอารมณ์กังวลต่างๆ ไม่ควรใช้ชีวิตสุดโต่ง ไม่นั่งอยู่เฉยๆ ทั้งวัน เข้าร่วมกิจกรรมเข้าสังคมบ้าง ควรหางานอดิเรกทำ เช่น เลี้ยงนก ปลูกดอกไม้ เขียนพู่กัน วาดภาพ ร้องเพลง รวมถึงออกกำลังกายต่างๆ เป็นต้น ในประเทศจีนมีการรวมกลุ่มผู้สูงอายุร้องเพลงประสานเสียง การร้องเพลงช่วยสลัดความวุ่นวายใจช่วยทำให้แจ่มใส ช่วยทำให้อ่อนเยาว์ ช่วยทำให้สุขภาพแข็งแรงอายุยืน และช่วยทำให้ทุกคนมีความสุข

4.ใส่ใจการดูแลสุขภาพตามศาสตร์แพทย์แผนจีน : ศาสตร์การแพทย์แผนจีนโบราณจะเน้นเรื่องการดูแลสุขภาพเสมอ“รักษาตั้งแต่ยังไม่เป็นโรค” การใช้ยาสมุนไพรจีน ฝังเข็ม ระบบเส้นลมปราณ รวมถึงการใช้ศาสตร์แผนจีนดูแลสุขภาพนั้น ใช้วิธีการรักษาโดยการปลุกสมองเปิดทวาร บำรุงตับไต สลายเลือดคั่ง เพื่อลดอาการต่างๆ อย่างเห็นผล โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ารักษาตั้งแต่เริ่มเป็นโดยไม่ว่าจะเป็นการใช้ทฤษฎีการบำรุงที่พร่อง สลายเลือดคั่งขับเสมหะที่เกิน ล้วนต่างก็เห็นถึงผลการรักษาที่ดี

การแพทย์แผนจีนจะใช้ การฝังเข็ม รมยา นวดกดจุด กัวซา ครอบแก้ว โภชนาบำบัด การนำยาจีนมาเป็นอาหาร ดื่มชา ยาดองเหล้า รำไทเก๊ก เป็นต้น ซึ่งเป็นการดูแลรักษาสุขภาพโดยองค์รวม ส่งผลให้การป้องกันภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุได้ผลที่ดียิ่งขึ้น

5.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ : การออกกำลังกายช่วยลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้ และยังช่วยส่งเสริมปัจจัยการเจริญเติบโตของเส้นประสาท (nerve growth factor) ป้องกันสมองใหญ่เสื่อมถอย โดยการออกกำลังกายเบาๆ เช่น การวิ่ง รำไทเก๊ก ชี่กง เป็นต้น สามารถช่วยชะลอวัย รวมถึงป้องกันอาการสมองเสื่อมในผู้สูงอายุได้

6.ใช้ชีวิตประจำวันอย่างมีกฎเกณฑ์ รับประทานอย่าง
มีวินัย :
ประกอบด้วย

“3คงที่” คือ เวลาคงที่ ปริมาณคงที่ คุณภาพคงที่

“3สูง” คือ โปรตีนสูง กรดไขมันสูงและไม่ทานอิ่มเกิน
วิตามินสูง

“2ต่ำ” คือ ไขมันต่ำ เกลือต่ำ

“2เลิก” คือ เลิกบุหรี่ เลิกเหล้า

ทานอาหารจำพวกปลา บำรุงร่างกายด้วยวิตามินอี อย่างเหมาะสม

7.หมั่นดูแลเอาใจใส่คนใกล้ชิด : พยายามหากิจกรรมทำร่วมกับญาติสนิทมิตรสหาย ไม่ควรปิดประตูอยู่คนเดียวลำพัง

การป้องกันสมองเสื่อมในผู้สูงอายุจากประสบการณ์