posttoday

ฟื้นฟูใจผู้ป่วยด้วยดนตรีบำบัด

11 พฤศจิกายน 2557

ผศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวใน กิจกรรม “Sook Activity” โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า การใช้ดนตรีเพื่อบำบัดอาการป่วยเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศ โดยผลวิจัยจากโรงพยาบาลชาลซ์บูร์ก ประเทศออสเตรีย พบว่า คนไข้หลังการผ่าตัดที่ได้ฟังดนตรีคลาสสิกวันละ 25 นาที สามารถฟื้นตัวได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ฟังดนตรี

ผศ.นพ.สุทัศน์ รุ่งเรืองหิรัญญา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวใน กิจกรรม “Sook Activity” โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ว่า การใช้ดนตรีเพื่อบำบัดอาการป่วยเป็นที่ยอมรับในหลายประเทศ โดยผลวิจัยจากโรงพยาบาลชาลซ์บูร์ก ประเทศออสเตรีย พบว่า คนไข้หลังการผ่าตัดที่ได้ฟังดนตรีคลาสสิกวันละ 25 นาที สามารถฟื้นตัวได้ดีกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ฟังดนตรี

ใช้ดนตรีบำบัดให้ได้ผล

ผู้ฟังควรมีสมาธิเพื่อให้ประสาทหูและสมองได้ทำงานร่วมกันอย่างเต็มที่

อยู่ในสถานที่ที่มีอุณหภูมิห้องที่เหมาะสมคือ 25 องศาเซลเซียส แสงในห้องต้องไม่จ้าเกินไป

เลือกเพลงที่มีจังหวะเหมาะสม ไม่เร็วหรือช้าเกินไป ควรฟังอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ ใช้ระยะเวลาอย่างน้อย 1-2 เดือน พร้อมกับรักษาจิตใจควบคู่ไปด้วยจึงจะได้ผลดี

ขณะที่ นพพล โกมารชุน ผู้จัดละครค่ายเป่าจินจง และผู้ก่อตั้งวงดนตรี “มโหระทึก ดนตรีลีลา” กล่าวว่า แนวทางการรักษาแบบ Music therapy เชื่อว่า จิตเป็นนายกายเป็นบ่าว ถ้าจิตใจได้รับการบำบัดจนมีสุขภาพจิตที่ดี ร่างกายย่อมฟื้นฟูและแข็งแรงตามไปด้วย ที่ผ่านมาทางได้เดินสายเล่นดนตรีเพื่อมอบความสุขให้กับผู้ป่วย