posttoday

อย่ามองข้ามโรคความดันโลหิตสูง

16 พฤษภาคม 2557

ความดันโลหิตสูงถือได้ว่าเป็นหนึ่งในโรคอันตรายของคนยุคนี้ เพราะเป็นภัยเงียบใกล้ตัวที่อันตรายมาก

ความดันโลหิตสูงถือได้ว่าเป็นหนึ่งในโรคอันตรายของคนยุคนี้ เพราะเป็นภัยเงียบใกล้ตัวที่อันตรายมาก และเป็นสาเหตุสำคัญทำให้มีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบหรือแตก เกิดอาการอัมพฤกษ์ อัมพาต รวมทั้งโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดกล้ามเนื้อหัวใจตาย ทำให้หัวใจวายและเสียชีวิตได

โรคความดันโลหิตสูงจึงเป็นเหมือน “ฆาตกรเงียบ” ที่แฝงอยู่ในตัวผู้ป่วย และปัญหาสำคัญของโรคนี้ก็คือ ผู้ป่วยมากกว่าครึ่งไม่รู้ตัวว่าเป็น และถึงแม้จะรู้ตัวว่าเป็นแล้วก็ยังไม่สนใจดูแลรักษาน.อ.นพ.อนุตตร จิตตินันทน์ ประธานวิชาการ สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย ให้ความรู้ถึงปัจจัยที่ทำให้ความดันโลหิตสูงว่าเกิดขึ้นได้จากหลากหลายปัจจัย คือ

1.อายุ ส่วนใหญ่เมื่ออายุมากขึ้น ความดันโลหิตจะสูงขึ้น เช่น ขณะอายุ 18 ปี ความดันโลหิตเท่ากับ 120/70 มม.ปรอท แต่พออายุ 60 ปี ความดันโลหิตอาจจะเพิ่มขึ้นเป็น 140/90 แต่ก็ไม่ได้เป็นกฎตายตัวว่าอายุมากขึ้นความดันโลหิตจะสูงขึ้นเสมอไป

2.ช่วงเวลาของวัน ความดันโลหิตจะขึ้นๆ ลงๆ ไม่เท่ากันตลอดวัน เช่น ในตอนเช้าอาจจะวัดได้ 130 มม.ปรอท ขณะที่ช่วงบ่ายอาจวัดได้ถึง 140 มม.ปรอท ขณะนอนหลับอาจวัดได้ต่ำเพียง 100 มม.ปรอท เป็นต้น

3.จิตใจและอารมณ์ มีผลต่อความดันโลหิตได้มาก ขณะที่ได้รับความเครียด อาจทำให้ความดันโลหิตสูงกว่าปกติถึง30 มม.ปรอท ขณะที่พักผ่อนความดันโลหิตก็จะสามารถกลับมาสู่ภาวะปกติได้ เมื่อรู้สึกเจ็บปวดก็เป็นสาเหตุที่ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นได้เช่นกัน

4.เพศ เพศชายจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้บ่อยกว่าเพศหญิง

5.พันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ผู้ที่มีบิดาและมารดาเป็นโรคความดันโลหิตสูง มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคนี้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติคนในครอบครัว ความเครียดก็ทำให้มีแนวโน้มเป็นโรคความดันโลหิตสูงด้วยเช่นกัน

6.สภาพภูมิศาสตร์ ผู้ที่อยู่ในสังคมเมืองจะพบภาวะความดันโลหิตสูงมากกว่าในสังคมชนบท

7.เชื้อชาติ ชาวตะวันตกพบความดันโลหิตสูงมากกว่าชาวเอเชีย

8.ปริมาณเกลือ ผู้ที่กินเกลือมากมีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าผู้ที่กินเกลือน้อย เพราะปริมาณเกลือที่มากเกินพอดีจะทำให้ร่างกายเก็บรักษาน้ำมากขึ้น ทำให้ปริมาณน้ำในหลอดเลือดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูงถ้าเกิดโรคนี้ขึ้นมาแล้ว สิ่งที่คนไข้ควรปฏิบัติก็คือ

1.การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิต โดยการลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ คือ มีดัชนีมวลกาย = 18.5-24.9 จะช่วยลดความดันตัวบนได้ 5-20 มม.ปรอท ต่อการลดน้ำหนักตัว 10 กก.

2.การจำกัดเกลือในอาหาร โดยลดการกินเกลือไม่เกิน วันละ1 ช้อนชา จะช่วยลดความดันตัวบนได้ 2-8 มม.ปรอท ส่วนการงดหรือลดแอลกอฮอล์ โดยจำกัดการดื่มให้ไม่เกิน 2 drinks ต่อวันในผู้ชาย และไม่เกิน 1 drink ต่อวันในผู้หญิง และคนน้ำหนักน้อย (1 drink เทียบเท่ากับ 44 มล.ของสุรา (40%),355 มล.ของเบียร์ (5%) หรือ 148 มล.ของเหล้าองุ่น (12%))จะช่วยลดความดันตัวบนได้ 2-4 มม.ปรอท

3.เน้นกินผักผลไม้ให้มาก ลดปริมาณไขมันในอาหาร โดยเฉพาะไขมันอิ่มตัว จะช่วยลดความดันตัวบนได้ 8-14 มม.ปรอท

4.การออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดินเร็วๆ หรือวิ่งอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน และเกือบทุกวันต่อสัปดาห์ จะช่วยลดความดันตัวบนได้ 4-9 มม.ปรอท

5.ในกรณีที่ใช้ยารักษาก็จำ&O5533;เป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเช่นเดียวกัน ไม่เช่นนั้นก็อาจไม่หายจากโรคนี้ได้