posttoday

วัฒนธรรม ‘ปลอดภัย’... สร้างได้ก่อนเดินทาง

09 ตุลาคม 2556

ช่วงที่ผ่านมาได้ยินเสียงบ่นหนาหูว่า อาจงดขึ้นเครื่อง งดบิน กันสักพักใหญ่ๆ จากเหตุการณ์ 2 เที่ยวบินของสายการบินแห่งชาติ ประสบอุบัติเหตุขนาดย่อมๆ

โดย...ปอย ภาพ วิศิษฐ์ แถมเงิน

ช่วงที่ผ่านมาได้ยินเสียงบ่นหนาหูว่า อาจงดขึ้นเครื่อง งดบิน กันสักพักใหญ่ๆ จากเหตุการณ์ 2 เที่ยวบินของสายการบินแห่งชาติ ประสบอุบัติเหตุขนาดย่อมๆ เครื่องบินรุ่นแอร์บัส A380 ของบริษัท การบินไทย เที่ยวบินที่ TG600 ระหว่างที่ลดระดับจะลงจอด ณ สนามบินฮ่องกง ได้ประสบปัญหาสภาพอากาศแปรปรวน ยังไม่ทันกะพริบตาทิ้งระยะไปไม่นาน นักเดินทางก็ได้อกสั่นขวัญแขวนกันอีกครั้ง กับอุบัติเหตุใหญ่ๆ เครื่องบินแอร์บัส A330-300 ของสายการบินไทย เที่ยวบิน TG679 เส้นทางกว่างโจวสุวรรณภูมิ ไถลออกนอกทางวิ่งที่สนามบินสุวรรณภูมิ ระทึก! 301 ชีวิตเฉียดตาย!!!

แต่จะเป็นไปได้หรือ? ในเมื่อโลกใบนี้แคบลงอย่างไม่มีใครปฏิเสธได้ ส่งผลให้การเดินทางกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตของผู้คนทั่วโลกไปเสียแล้ว ถ้าจะงดบิน! ก็เท่ากับคุณงดการได้โอกาสของตัวเอง?!! การศึกษาเรียนรู้วิธีการเดินทางโดยเครื่องบินอย่างปลอดภัย ดูจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าไหม!!?!

โปรดทำตามคำแนะนำของลูกเรื่อ(พรีสสสส)

ประเด็นสนทนาในวันนี้ “ความปลอดภัยของผู้โดยสารที่เดินทางโดยเครื่องบิน” การบินไทย คือผู้ให้รายละเอียดได้ตรงประเด็นที่สุด โดยส่งผู้ให้ข้อมูล 3 กัปตันมากประสบการณ์ กัปตันวีระศักดิ์ วิรุฬห์เพชร กัปตันชาตรี พงษ์ศักดิ์ กัปตันพุฒิพันธุ์ เธียรวรรณ แอร์เพอร์เซอร์สาวยิ้มหวานใจดี ม.ล.มิชมาลา จักรพันธุ์ และผู้จัดการบนเครื่องบิน เทพฤทธิ์ ยอดประสิทธิ์ ที่มีตำแหน่ง Cabin Safety and Security มาแจกแจงข้อมูลดีๆ และโดยตำแหน่งกำกับท้าย “Flight Operation Safety” ของกัปตันทั้งสามท่าน คนฟังหลายๆ คนก็คงอยากจะอ่านข้อมูลที่ว่านี้

ทำไมวางกระเป๋าส่วนตัวไว้บนพื้นด้านหน้าเราไม่ได้ล่ะคะ? (ข้อนี้ผู้โดยสารสาวๆ กระเป๋าหลายใบสงสัย???) ทำไมต้องคาดเซฟตี้เบลต์บนผ้าห่ม หรือทำไมล่ะ...กำลังติดพันคุยโทรศัพท์ ขอแค่ 5 นาทีก็จะปิดมือถือตามกฎอยู่แล้ว?!! ...

วัฒนธรรม ‘ปลอดภัย’... สร้างได้ก่อนเดินทาง

 

คำถามเหล่านี้คือข้อข้องใจที่ต้องถกกัน (เสมอ) ระหว่างผู้โดยสาร กับแอร์โฮสเตส สจ๊วด ที่เตือนย้ำๆ กึ่งๆ ขอร้องให้ความร่วมมือทุกครั้งที่ขึ้นเครื่องบิน ซึ่งทุกๆ คำถามล้วนเกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของคนบนเครื่องบินทั้งสิ้น

“ถ้าตรงไหนปลอดภัยที่สุด เราจะแนะนำตรงนั้นค่ะ” ม.ล.มิชมาลา แอร์เพอร์เซอร์ เริ่มไขคำถามแรกพร้อมรอยยิ้มการันตีความอุ่นใจกับการบินไทย

“แพตเทิร์นนี้ประกาศซ้ำๆ ทุกๆ ไฟลต์ นะคะ ‘กรุณาเก็บกระเป๋าไว้ในที่เก็บของเหนือศีรษะ หรือใต้ที่นั่งด้านหน้าของท่าน’ ซึ่งลูกเรือก็จะช่วยท่านเก็บของ และการจัดเรียงกระเป๋าอยู่แล้วนะคะ (บอกพร้อมรอยยิ้ม) แล้วในเครื่องบินรุ่นใหม่ๆ จะมีกล่องควบคุมอุปกรณ์บันเทิงวางอยู่ จึงทำให้พื้นที่ใต้ที่นั่ง (Under the Seat in Front of You) แคบลง จึงควรมีเพียงเท้าของเราเท่านั้นนะคะ เพราะฉะนั้นการเก็บกระเป๋าไม่ว่าเล็กหรือใหญ่ไว้ที่เก็บเหนือศีรษะ ดีที่สุดเลยค่ะ ยิ่งวิดีโอเกี่ยวกับความปลอดภัยช่วงหลังๆ การวางกระเป๋าบนตักก็มีเครื่องหมายกากบาทแล้วนะคะ” ม.ล.มิชมาลา กล่าว

“ยกตัวอย่างให้เห็นภาพชัดๆ นะครับ ไทย เที่ยวบิน TG600-ตกหลุมอากาศที่ฮ่องกง เห็นชัดที่สุดครับ กระเป๋าลอยตกใส่ศีรษะก็เจ็บตัวกันแล้ว หรือเป้ที่มีสายวางใต้ที่นั่ง ถ้าเกิดเหตุฉุกเฉินไฟในห้องโดยสารจะดับลง เหลือไว้เฉพาะไฟฉุกเฉินเท่านั้น วิ่งๆ ไปก็อาจสะดุด เรื่องนี้เคยเกิดมาแล้วที่ยุโรป อเมริกา จึงมีการเตือนเรื่องนี้ไว้ครับ” กัปตันพุฒิพันธุ์ ให้ข้อมูลเสริมเรื่องกระเป๋า

และในทันทีหลังกัปตันเปิดสัญญาณ “รัดเข็มขัด” แอร์สุดสวย สจ๊วดสุดหล่อ จะเดินตรวจตราใครไม่รัดเข็มขัด แล้วยังมีคำรีเควสต์ให้รัดเหนือผ้าห่มอีกต่างหาก??! กฎเยอะไปไหม?

กัปตันชาตรี ขออธิบายด้วยน้ำเสียงนุ่มๆ เคลิ้มๆ “ผู้โดยสารส่วนใหญ่ถ้าบินไกลๆ ก็จะหลับพักผ่อนนะครับ กฎข้อนี้จึงเป็นการขอความกรุณาให้ทำ เพราะว่าเราจะรบกวนผู้โดยสารให้น้อยที่สุด การรัดเข็มขัดไว้ด้านนอกก็ทำให้ลูกเรือเห็นชัดที่สุดว่าท่านรัดแล้ว เที่ยวบิน TG600ฮ่องกง ผู้โดยสารที่รัดเข็มขัดไม่มีใครบาดเจ็บเลยนะครับ คือบางคนก็รัดไม่ทันเดินไปห้องน้ำก็อยากให้วิ่งกลับมาที่นั่งท่านให้เร็วที่สุดทันทีที่กัปตันประกาศ การรัดหลวมๆ ไม่กระชับ ถ้าอากาศไม่เสถียรเครื่องกระแทก ตัวท่านก็ลอยขึ้นไปได้เช่นกันนะครับ รัดแล้วก็ต้องรัดให้แน่น” กัปตันชาตรี บอกพร้อมรอยยิ้มนุ่มนวลไม่แพ้น้ำเสียง

ตบประเด็นแรกด้วยกัปตันอาวุโส กัปตันวีระศักดิ์ กล่าวว่า ลูกเรือได้รับการฝึกฝนให้พร้อมรับสถานการณ์อยู่แล้ว “แต่ในเหตุที่ไม่ปกติ ก็แน่นอนนะครับว่าแต่ละเหตุการณ์ย่อมไม่มีทางซ้ำกัน จึงไม่มีใครรู้แน่ๆ ว่าจะเกิดอะไรร้ายแรง ในกรณีฉุกเฉิน จึงอยากขอร้องให้ผู้โดยสารรีบปฏิบัติตามคำแนะนำ/คำสั่งของลูกเรือเป็นสิ่งแรกครับ”

วัฒนธรรม ‘ปลอดภัย’... สร้างได้ก่อนเดินทาง

 

ขอคุยมือถือด่วนๆ อีก 2-3 นาที (นะ?!!)

ความปลอดภัยในห้องผู้โดยสาร (Cabin Safety and Security) อีกเรื่องสุดฮิต ใครๆ ก็รู้ แต่น้อยคนนักที่จะไม่เคยถูกสจ๊วด ยิ้มๆ เย็นๆ ขอร้อง “ปิดโทรศัพท์ด้วยนะครับ” กฎที่ดูไม่น่าจะมีอะไรข้อนี้ มาฟังกัปตันพุฒิพันธุ์ ตักเตือน (อิอิอิ) เอ๊ย! แจงข้อมูลที่มีอะไรมากกว่าที่คุณคิด

“กฎทุกข้อที่สตริกต์ ล้วนมีขึ้นเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารทั้งสิ้นนะครับ ไม่แค่ในเคบินนะครับ บางครั้งในระหว่างทางที่เราเดินขึ้นเครื่องโดยสาร เครื่องบินลำข้างๆ อาจจะเติมน้ำมันอยู่ เราก็คุยโทรศัพท์หรือถ่ายรูปกันสนุกสนาน น้ำมันเครื่องบินไวไฟยิ่งกว่ารถยนต์อีกนะครับ แฟลชไวต่อไอน้ำมันที่พุ่งขึ้นมา ซึ่งในความเป็นจริงมีกฎหมายห้ามถ่ายรูปบริเวณลานบินนะครับ

ในเหตุการณ์เที่ยวบิน TG679 เส้นทางกว่างโจวสุวรรณภูมิ ไถลออกนอกทางวิ่ง ผมอยากแนะนำผู้โดยสารที่ยืนมุงถ่ายรูปด้านล่าง ผมเข้าใจครับว่าทุกๆ คนก็อยากได้ภาพ คนที่โดดสไลด์ลงมาแล้วก็มาออถ่ายรูป ก็จะขวางคนที่โดดตามลงมา ทำให้ลูกเรือยิ่งทำงานยากกับการที่จะต้องนำพาผู้โดยสารไปรวมอยู่ในที่เดียวกัน ห่างๆ เครื่องบินซึ่งยังมีควันไฟอยู่เลยนะครับ บางคนก็ยังอยากถ่ายรูปกัน ซึ่งทำให้การทำงานยากมากในสถานการณ์ที่ทั้งมืด ทั้งกว้าง ทำให้ตะโกนก็ไม่ค่อยได้ยิน

สิ่งเหล่านี้คือบทเรียนราคาแพง เราได้ประสบการณ์เยอะเลยครับ ขอความร่วมมือจากท่านผู้โดยสารนะครับ”

กัปตันพุฒิพันธุ์ ให้ความรู้ว่า การถ่ายรูปบนเครื่องบินและในบริเวณอากาศยาน ถือเป็นความผิดตามกฎระเบียบการบินทั่วโลก “แต่ผมก็เข้าใจว่าเป็นยุคอัพอินสตาแกรม ก็มีการปล่อยๆ กันบ้าง แต่ผมก็อยากจะบอกว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้องนัก เพราะการเปิดอุปกรณ์สื่อสารจะไปรบกวนระบบนำร่องเครื่องบิน และวิทยุสื่อสารอีกด้วย”

วัฒนธรรม ‘ปลอดภัย’... สร้างได้ก่อนเดินทาง

 

กระดาษแผ่นเล็กๆ ตรงหน้า คือชีวิตของท่าน

ใครเคยอ่านกระดาษแนะนำความปลอดภัยบนเครื่องบิน แผ่นเล็กๆ ตรงที่เก็บนิตยสารกันบ้าง? อ่านผ่านตา หรืออ่านอย่างเอาใจใส่!?!! “กระดาษแผ่นนี้คือชีวิตของท่าน” ม.ล.มิชมาลา แอร์เพอร์เซอร์ให้นิยามไว้เช่นนั้น

“ดิฉันสังเกตค่ะว่าคนยุคใหม่หยิบขึ้นมาดูกันทั้งนั้น (บอกแล้วไม่ลืมรอยยิ้ม) ประกอบการใช้วิดีโอ แต่กระดาษแผ่นนี้หยิบขึ้นมาดูได้ตลอดเวลานะคะ จะอธิบายเครื่องบินรุ่นที่คุณนั่ง เครื่องแต่ละแบบแต่ละรุ่น ซึ่งไม่เหมือนกัน ประตูฉุกเฉินก็ไม่เท่ากัน กระดาษแผ่นนี้จะบอกเส้นทางออกที่ปลอดภัย คำแนะนำนี้ใช้ทั้งรูปภาพและตัวหนังสือก็อ่านสนุกนะคะ

เมื่อคุณอ่านกระดาษแผ่นนี้ก็เหมือนกับคุณได้รับการเทรนให้ช่วยเหลือคนข้างๆ ได้ด้วย แล้วที่ดิฉันบอกว่าคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่จะหยิบกระดาษแผ่นนี้ขึ้นมาอ่าน ก็เพราะว่าลูกเรือถูกสอนมาเพื่อให้สังเกตว่า ใครบ้างที่จะเป็น Able Body คือผู้ที่จะสามารถช่วยลูกเรือช่วยเหลือผู้โดยสารคนอื่นได้ในกรณีฉุกเฉิน ระหว่างไฟลต์ที่หยิบมาดูส่วนใหญ่ก็จะเป็นเด็กๆ รุ่นใหม่ทั้งนั้นเลยค่ะ”

ฟัง ม.ล.มิชมาลา บอกแบบนี้แล้ว ใครที่คิดว่าตัวเองเป็นคนรุ่นใหม่ก็ต้องหยิบขึ้นมาดูบ้างละ!!!

“ตามระเบียบมาตรฐานการบินพลเรือนระหว่างประเทศ กำหนดไว้ 1 : 50 คือ ลูกเรือ 1 คน ดูแลผู้โดยสาร 50 คน ซึ่งการบินไทย ลูกเรือ 1 คน ดูแลผู้โดยสาร 30 คน ครับ ให้ลูกเรือดูแลทั้งในเรื่องเซอร์วิส และเซฟตี้” เทพฤทธิ์ Chief Cabin Safety and Cecurity บอกตัวเลขที่ฟังแล้วอุ่นใจ

วัฒนธรรม ‘ปลอดภัย’... สร้างได้ก่อนเดินทาง

 

แต่งตัวแบบไหนขึ้นเครื่องดีที่สุด?!!

มุมมองไปในทิศทางเดียวกัน “เดินทางปลอดภัย ใจอบอุ่น” ม.ล.มิชมาลา เพอร์เซอร์บอก ยิ่งถ้าผู้โดยสารให้ความร่วมมือ พูดคุยในข้อสงสัยกับลูกเรือ ก็ถึงจุดหมายปลายทางด้วยความปลอดภัย สบายใจ

กัปตันพุฒิพันธุ์ เล่าว่า จากเหตุการณ์เที่ยวบิน TG679 ไถลออกนอกเส้นทาง ผู้โดยสารหญิงสาวบางคนได้รับบาดเจ็บระหว่างการโดดสไลด์ออกมาจากเครื่องบิน เมื่อได้เห็นประสบการณ์ตรงนี้จึงอยากแนะนำ การสวมกางเกงขาสั้น เสื้อแขนกุด การโดดสไลด์ลงมาด้วยความเร็วทำให้ผิวเนื้อต้องครูดกับผ้ายาง ก็ทำให้ถลอกปอกเปิกได้

“ผมอยากให้ทุกคนช่วยกันสร้างวัฒนธรรมเรื่องความปลอดภัย การขึ้นเครื่องเดินทางก็ไม่มีใครคาดคิดหรอกนะครับว่าจะเกิดเหตุการณ์ไม่ปลอดภัยขึ้น แต่เพื่อเซฟ การเตรียมตัวตั้งแต่การแต่งกายขึ้นเครื่องบินโดยการแต่งกายให้รัดกุม วัยรุ่นสมัยนี้ก็ใส่กางเกงขาสั้นจนแทบไม่เห็นขา (กางเกง) แล้วนะครับ เมื่อมาประสบเหตุการณ์ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้แบบนี้ ขาทั้งขาก็ครูดกับสไลด์ผ้ายางด้วยความเร็ว และเกิดความร้อนระหว่างลื่นลงมา ก็ได้เลือดกันทั้งขาครับ

การศึกษาข้อมูลก่อนขึ้นเครื่อง วันนี้การบินไทยมีแนะนำทั้งเว็บไซต์ ไลน์ มีให้อ่านเยอะแยะเลยครับ ลองสร้างวัฒนธรรมก่อนเดินทางเพื่อตัวเอง และสำหรับพนักงานต้องรับในทางการบินระหว่างประเทศ นับว่าคือลูกเรือนะครับ ไม่เพียงแค่พนักงานบริการบนเครื่องบิน และงานหลักของลูกเรือก็คือให้ความปลอดภัยแก่ผู้โด

วัฒนธรรม ‘ปลอดภัย’... สร้างได้ก่อนเดินทาง