posttoday

เรียนภาษาอังกฤษ จากมหาอุทกภัย “Thailand submerged” “ประเทศไทยจมน้ำ”

27 กันยายน 2555

วน้ำท่วมใหญ่ปี พ.ศ.2554ที่เล่าผ่านหน้าหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ถูกถ่ายทอดลงสู่หนังสือ“ประเทศไทยจมน้ำ”Thailand submerged

เรียนภาษาอังกฤษ จากมหาอุทกภัย “Thailand  submerged” “ประเทศไทยจมน้ำ”

ข่าวน้ำท่วมใหญ่ปี พ.ศ.2554ที่เล่าผ่านหน้าหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ถูกถ่ายทอดลงสู่หนังสือ“ประเทศไทยจมน้ำ”Thailand submerged ชวนกันมาเรียนภาษาอังกฤษ จากมหาอุทกภัยในปีที่ผ่านมา พร้อมแบบฝึกหัดในบทเรียน

          เหตุการณ์มหาอุทกภัย2554เป็นอีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ ที่ส่งผลกระทบมากมายหลายด้านกับวิถีชีวิตของคนไทย ทั้งในแง่ของการเมือง เศรษฐกิจและความมั่นคง โดยเฉพาะความเป็นอยู่ของประชาชนทุกระดับชั้น ข่าวคราวของมหาอุทกภัยครั้งนี้ ได้รับความสนใจและมีการนำเสนอจากทุกสื่อมวลชนอย่างละเอียดแทบทุกช่วงของเหตุการณ์ ก่อให้เกิดกระแสวิพากย์วิจารณ์และเกิดคำศัพท์ติดปากขึ้นมากมาย ซึ่งต่างก็มีที่มาและความเป็นไปที่น่าสนใจไม่น้อย  

หนังสือ“Thailand Submerged”หรือ“ประเทศไทยจมน้ำ”เล่มนี้ จึงได้รวบรวมและคัดสรรข่าวในช่วงประวัติศาสตร์ดังกล่าว จากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์มานำเสนอ เพื่อการเรียนรู้ทั้งในแง่ของคำศัพท์ภาษาอังกฤษและการนำเสนอข่าวสารที่น่าสนใจ โดยอาจารย์Terry L. Fredricksonบรรณาธิการพิเศษของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ผู้มีประสบการณ์การสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยมายาวนานกว่า40ปี และมีผลงานหนังสือการเรียนการสอนภาษาอังกฤษมาแล้วหลายเล่ม

เหตุการณ์ใดๆ เมื่อผ่านพ้นไปแล้วก็จะกลายเป็นประวัติศาสตร์ซึ่งควรเรียนรู้ไว้เพื่อเป็นบทเรียนสำหรับการแก้ไขปัญหาในอนาคต หนังสือเล่มนี้นอกจากจะเป็นบทเรียนภาษาอังกฤษแล้ว ยังเป็นข้อมูลสำคัญที่สามารถใช้เป็นบทเรียนในแง่ประวัติศาสตร์ที่สำคัญได้อีกด้วยเช่นกัน พิเศษ!!! ในเล่มพบกับหนังสือฉบับเสียง ที่อัดแน่นเนื้อหาทุกบทลงในแผ่นCD(MP3) แนบไปกับหนังสือด้วย

เรียนภาษาอังกฤษ จากมหาอุทกภัย “Thailand  submerged” “ประเทศไทยจมน้ำ”

ตัวอย่างเนื้อหา

Introducing Thailand submerged

The story of the Great Floods of 2011 as told through the pages of the Bangkok Post with special help for learners of English.
ข่าวน้ำท่วมใหญ่เมื่อพ.ศ. 2554ที่เล่าผ่านหน้าหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์พร้อมกิจกรรมช่วยอ่านสำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษ

A man casts his fishing net near the reclining Buddha image at Wat Loke Yasutha temple in Phra Nakhon Si Ayutthaya district of Ayutthaya province on October 8, 2011. PATIPAT JANGTHONG

The first part of Thailand submerged deals with language used to describe floods and flood-related situations. Here is the introduction to that section plus one example story dealing with vocabulary related to rain.

In the book itself you will learn hundreds of additional words before you start reading actual stories from the Bangkok Post.

Getting started with flood-related flood vocabulary
เริ่มต้นกันด้วยศัพท์ที่ใช้ในข่าวน้ำท่วม

News writers throughout the world use much the same basic set of vocabulary to describe floods and their effects. Thus, if you learn the vocabulary used to describe the 2011 floods inThailandyou can be confident you will see many of the same words used in flood stories elsewhere in the world.
นักเขียนข่าวทั่วโลกใช้ศัพท์ชุดเดียวกันบรรยายข่าวน้ำท่วมและผลกระทบจากน้ำท่วม ฉะนั้น หากคุณรู้ศัพท์ที่ใช้บรรยายข่าวน้ำท่วมในประเทศไทยในปี ๒๕๕๔ คุณก็มั่นใจได้เลยว่าจะเห็นศัพท์หลายๆคำในข่าวน้ำท่วมที่เกิดขึ้นในที่ต่างๆทั่วโลก

This chapter will get you started. If you are a learner of English, spend some time with the section and try hard to learn the words explained. The photos will be a big help and use the sound files as well. Read and listen to each story several times.
จะให้คุณเริ่มด้วยบทนี้ หากคุณกำลังเรียนภาษาอังกฤษอยู่ ให้ใช้เวลาสักช่วงหนึ่ง พยายามจำศัพท์ที่อธิบายไว้ในส่วนนี้ให้ได้ ภาพประกอบจะช่วยให้คุณจำศัพท์ได้มากขึ้น อ่านและเปิดไฟล์เสียงฟังด้วยหลายๆครั้งนะครับ

Rain

A City Hall worker collects rubbish near the Royal Plaza, which was briefly flooded due to torrential rain that hit several areas of Bangkok. THITI WANNAMONTHA

Floods have many causes, but in theshort termit is usually rain that sets them off – heavy rain.

InThailand, this usually occurs during the southwestmonsoonseason which runsroughlyfrom May through November. Storms often begin far away in the neighbourhood of thePhilippineswhich is all too often thevictimoftyphoons. These storms can move towardsVietnam,Laosand Cambodian and by the time they reach land, they are usuallydowngradedtotropical storms.

By the time they reachThailand, they are usuallydowngradedanotherlevelto atropical depression, but thislow pressuresystem is still enough totriggertorrentialrain andpersistentdownpoursovervastareas of the country’s North, Northeast and Central regions. The South, too, gets its share of heavy rain and wind andsuffersflooding anddestructivewaveson a regular basis.

เรียนภาษาอังกฤษ จากมหาอุทกภัย “Thailand  submerged” “ประเทศไทยจมน้ำ”

Incessant,sustainedrainsaturatesthe ground, making it unable toabsorbany more. The resultantrun-offfrom the rain-soakedlandswellsstreams and rivers.Currentsquicken intoraging torrentsandconditionsare set for a majoremergencyas floodwater begins tooverflownatural and man-made flooddefences.

torrential– (of rain or moving water) extremely heavy(ฝน)เทกระหน่ำลงมา,(น้ำ)เชี่ยวกราก

short term– lasting a short time; designed only for a short period of time in the futureระยะสั้น, ช่วงสั้นๆ

monsoon– the seasonal changes Asian countries during which winds shift bringing more rain (southwest monsoon) and less rain(northeast monsoon) มรสุม

roughly– approximately but not exactly โดยประมาณ,อย่างคร่าวๆ

victim– someone who has been affected by a bad situation, such as a disaster, illness or an accidentเหยื่อ,ผู้เคราะห์ร้าย

typhoon– a tropical storm with strong winds that move in circlesพายุไต้ฝุ่น

downgrade– to reduce someone or something to a lower rank or positionลดความสำคัญ / ความรุนแรง / ระดับ

tropical– relating to the hottest area of the Earth, between the Tropic of Cancer and the Tropic of Capricorn(เกี่ยวกับ)เขตร้อน

level– a position or rank in a scale of size or importanceระดับ

depression– an area where the air pressure is low, often causing heavy rainพายุดีเปรสชัน

low pressure– a condition of the air which affects the weather when the pressure is lower than averageความกดอากาศต่ำ

trigger– to causeก่อให้เกิด, เป็นสาเหตุ

persistent– continuingอย่างต่อเนื่อง

downpour–a lot of rain in a short timeฝนที่ตกลงมาอย่างมากและกระทันหัน, ฝนห่าใหญ่

vast– extremely large in area, size, amount, etc.  กว้างใหญ่, มหึมา, มหาศาล, กว้างขวาง

suffer– to be badly affected by a very difficult or unpleasant situationประสบความยากลำบาก

destructive– causing great damage or harmซึ่งเป็นการทำลาย, ก่อให้เกิดความเสียหาย, เป็นอันตราย

waves– the raised lines of water that move across the surface of the sea, ocean, etcคลื่น

incessant– continuous; unendingต่อเนื่อง,เรื่อยๆ,ไม่หยุดหย่อน

sustained– continuing at the same levelต่อเนื่อง

saturate– to make something completely wetทำให้ชุ่มไปด้วยน้ำ

absorb– to take in a liquid, gas or other substance form the surface or space aroundซึมซับดูดซับ

run-off– rain, water or other liquid that runs off land into streams and riversน้ำหลาก

soaked– very wet เปียกโชก

swell– to (cause to) become larger or fuller than normal ขยายใหญ่,พองตัว

current– a strong movement of water in one directionกระแสน้ำ

raging– happening with a lot of force or violenceรุนแรงมาก

torrents– large amounts of water flowing rapidly and violentlyกระแสน้ำเชี่ยว,การไหลพุ่ง

conditions– the circumstances or situation at a particular timeสภาพการณ์,สถานการณ์

emergency– an unexpected situation involving danger in which immediate action is necessaryเหตุฉุกเฉิน

overflow– (of a river or body of water) to flood the land next to itเท้อ,เอ่อล้น,ไหลล้น

defences– the particular structures that are used for protecting a placeเครื่องป้องกัน,สิ่งป้องกัน

สามารถกล่าวล่วงหน้าได้เลยว่า ในอนาคตหากคุณอ่านบางกอกโพสต์คุณจะได้อ่านข่าวเรื่องน้ำท่วมและการป้องกันน้ำท่วมอีก ประเทศไทยเกิดน้ำท่วมตามฤดูกาลอยู่เป็นประจำ แต่ก็ไม่ได้ท่วมขนาดหนักที่ทำให้ทั้งประเทศต้องตื่นตระหนกอย่างใน พ.ศ.2554ความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคมสูงมาก จนปัจจุบันนี้ประชาชนต่างตระหนักดีว่าจะต้องมีมาตรการที่เข้มงวดในการป้องกันไม่ให้ท่วมขนาดนั้นเกิดขึ้นอีก

หนังสือเล่มนี้เป็นเรื่องของน้ำท่วมปี พ.ศ.2554ที่ตีพิมพ์ในหน้าหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ เนื่องจากภาษาที่ใช้เป็นภาษาอังกฤษ จึงเป็นโอกาสดีสำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษชาวไทยในการสั่งสมความรู้ด้านภาษาขณะอ่านข่าวเหตุการณ์ที่สำคัญที่สุดในชั่วชีวิตหนึ่ง

บทเริ่มต้นเขียนขึ้นสำหรับผู้เรียนภาษาอังกฤษโดยเฉพาะ ด้วยการช่วยสร้างศัพท์สำคัญที่จำเป็นต่อการอ่านเรื่องน้ำท่วม เพราะฉะนั้นหากกำลังศึกษาภาษาอังกฤษ ให้ศึกษาส่วนนี้อย่างจริงจัง คุณจะพบว่าบทนี้ช่วยให้คุณอ่านข่าวจริงๆ จากหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ได้ง่ายขึ้นมากๆ

หากคุณเก่งภาษาอังกฤษแล้ว ก็ตรงไปอ่านบทน้ำท่วมใหญ่ได้เลย เราจะเริ่มจากปลายเดือนมิถุนายน2554ซึ่งหนังสือพิมพ์ยังรายงานข่าวประปรายอยู่ ตามความเป็นจริงแล้ว ในช่วง2-3เดือนต่อมา เกือบทุกคนพุ่งความสนใจไปยังการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนกรกฎาคมกันก่อน และตามมาด้วยข่าวการตั้งรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร แต่เมื่อย้อนกลับไปมองการรายงานข่าวน้ำท่วมในตอนนั้น มีสัญญาณส่อลางสังหรณ์ว่า ปี2554ต้องไม่ใช่ปีธรรมดาเป็นแน่

ราวปลายเดือนกันยายน ขณะที่สถานการณ์พลิกไปเปลี่ยนมาอย่างรวดเร็วจนควบคุมไม่ได้ มีการรายงานข่าวตลอด24ชั่วโมง หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมข่าวสำคัญๆ เอาไว้ตั้งแต่ช่วงนี้ จนถึงกลางเดือนธันวาคมซึ่งน้ำลดลงไปมากและเริ่มทำความสะอาดกัน

          หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนในเดือนมีนาคม2555เรื่องนี้ก็ยังคงเป็นประเด็นที่อยู่กับเราเพราะเจ้าหน้าที่ทั้งระดับท้องถิ่นและระดับชาติ ยังรีบเร่งหาวิธีป้องกันน้ำท่วมให้ทันหน้าฝน พร้อมทั้งวางแผนระยะยาวในการแก้ปัญหาน้ำท่วม ฉะนั้นคุณจึงสามารถนำสิ่งที่เรียนจากหนังสือเล่มนี้ไปใช้ในสถานการณ์ปัจจุบันได้ทันที

เรียนภาษาอังกฤษ จากมหาอุทกภัย “Thailand  submerged” “ประเทศไทยจมน้ำ”

Terry L. Fredrickson

เกี่ยวกับผู้เขียน  Terry L. Fredrickson

อาจารย์แทร์รี่ เฟรเดอริคสัน เป็นหัวหน้าแผนกบริการทางการศึกษาของหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ทำหน้าที่ดูแลเว็บไซต์www.readbangkokpost.comอาจารย์แทร์รี่ได้เข้าร่วมงานกับบางกอกโพสต์ในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการศึกษาตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 เป็นผู้ริเริ่มLearning Post ส่วนการศึกษาของนสพ.บางกอกโพสต์ซึ่งออกเป็นรายสัปดาห์

อาจารย์แทร์รี่ เฟรเดอริคสัน จบปริญญาโทด้านการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง จากมหาวิทยาลัยมินนิโซตา (2528) ปริญญาตรีด้านประวัติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (2511) แรกเริ่มเข้ามาเป็นอาสาสมัครพีซคอร์ในปี 2511 โดยทำการสอนที่วิทยาลัยครู ประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเวลา 3 ปี จากนั้นได้ย้ายเข้ากรุงเทพฯ สังกัดกองฝึกหัดครู กระทรวงศึกษาธิการ ทำการสอนที่วิทยาลัยครูสวนดุสิตในตอนนั้น ทั้งยังได้ทำการสอนที่วิทยาลัยครูจันทรเกษมเป็นระยะสั้นๆ หลังจากจบปริญญาโท อาจารย์แทร์รี่ได้สอนภาษาอังกฤษในประเทศมาเลเซีย เป็นเวลา 6 ปี

อาจารย์แทร์รี่เป็นผู้แต่งหนังสือด้านการสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ/ภาษาที่สองหลายเล่มด้วยกัน  นอกจากนี้ยังได้เป็นวิทยากรแนะนำเรื่องการสอนภาษา ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี และนับได้ว่าอาจารย์แทร์รี่เป็นที่รู้จักดีในแวดวงวิชาการของประเทศไทย 

สำนักพิมพ์ โพสต์บุ๊กส์

ชื่อหนังสือ : Thailand submerged ประเทศไทยจมน้ำ

ผู้เขียน : Terry L. Fredrickson

ผู้แปล: สุนีย์ แคนยุกต์

จำนวนหน้า : 296 หน้า

ราคา : 280 บาท

www.postbooksonline.com/ www.facebook.com/postbooks