posttoday

โยคะอาสนะ Kenetic Chain Movement

16 ธันวาคม 2560

สําหรับผู้ที่ฝึกโยคะอาสนะแบบต่อเนื่อง ไม่ว่าจะฝึกสไตล์ไหนๆ ก็ตาม จำเป็นต้องเข้าใจ เรื่อง ห่วงโซ่ของการเคลื่อนไหว ซึ่งก็คือ

โดย  ภัชภิชา แก้วสุวรรณสุข (ครูเจี๊ยบ) ผู้ก่อตั้ง Japayatri Yoga Style โยคะสุตรา สตูดิโอ www.YogaSutraThai.com

สําหรับผู้ที่ฝึกโยคะอาสนะแบบต่อเนื่อง ไม่ว่าจะฝึกสไตล์ไหนๆ ก็ตาม จำเป็นต้องเข้าใจ เรื่อง ห่วงโซ่ของการเคลื่อนไหว ซึ่งก็คือ Kenetic Chain ในการเคลื่อนไหวต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของระบบประสาทของกลุ่มกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ ในอีกนัยหนึ่งผลของการบาดเจ็บข้อต่อ ก็มาจากผลพวงของปฏิกิริยาลูกโซ่ของการเคลื่อนไหวเช่นเดียวกัน ภาษาอังกฤษเรียกว่า Kenetic Chain Dysfunctions เช่น อาการปวดหลัง อาจส่งผลให้ปวดเข่าหรือการนั่งหลังค่อมนานๆ และตำแหน่งศีรษะโน้มมาด้านหน้าตลอดเวลาอาจส่งผลให้ปวดบ่า ไหล่ หลังส่วนบน บางครั้งอาการผิดปกติ ก็ส่งผลข้ามกันไปมาระหว่างร่างกายส่วนบนกับร่างกายส่วนล่าง Upper cross and Lower cross syndromes

โยคะอาสนะ Kenetic Chain Movement

 

Kenetic Chain Movement แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบเปิดกับแบบปิด โดยวัดจากการเคลื่อนไหวเข้าหรือออกจากแกนกลางลำตัว ซึ่งทั้งสองแบบนี้สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ความแข็งแรงของแกนกลางลำตัว เพราะมันอยู่ตรงกลาง ไม่ว่าจะใช้ร่างกายส่วนบนหรือส่วนล่างการเชื่อมโยงตรงกลางย่อมมาก่อน ดังนั้นความอ่อนแอของแกนกลางจะส่งต่อไปยัง ส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ดังนั้นการสร้างความมั่นคงและความสมดุลของแกนกลางลำตัวจึงมีความสำคัญมาก

โยคะอาสนะ Kenetic Chain Movement

 

ในท่าโยคะอาสนะหลายๆ ท่า โดยเฉพาะท่าโยคะอาสนะขั้นสูง หากความแข็งแรงของแกนกลางลำตัวยังไม่พอ เราจะไม่สามารถฝึกท่านั้นๆ ได้เลย สิ่งที่ครูสังเกตในชั้นเรียน จะพบบ่อยครั้งที่นักเรียนละเลยและไม่ใส่ใจกับการสร้างความแข็งแรงให้แกนกลางลำตัว บางครั้งนักเรียนฝึกใหม่จะรีบฝึกอาสนะท่ายากๆ ทั้งๆ ที่กำลังหน้าท้อง และความแข็งแรงของแผ่นหลังยังไม่พร้อม ซึ่งจะทำให้เกิดอาการการบาดเจ็บได้

โยคะอาสนะ Kenetic Chain Movement

 

ครูมักจะย้ำให้นักเรียนที่ฝึกใหม่และเก่า ฝึกความมั่นคงแข็งแรงของแกนกลางเสมอ เพราะหากแกนกลางดีจะช่วยลดแรงที่ส่งไป ที่ แขน ขา ตามข้อต่อระยางของร่างกายได้ เพราะแกนกลางเป็นส่วนแรกที่ทำงาน และทำงานก่อนที่แขน ขา จะเคลื่อนไหวซะอีก ดังนั้นขณะฝึกอาสนะโยคะ ให้โฟกัสที่แกนกลางลำตัว พร้อมกับการหายใจให้มากขึ้น จะส่งผลให้การฝึกท่าโยคะต่างๆ ดีขึ้น