posttoday

พัฒนานวัตกรรม สู่ความเสมอภาคทางเพศ

07 มีนาคม 2562

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าผู้หญิงได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจและความเจริญในสังคมทั่วโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนที่ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในแวดวงธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

เวเรน่า เซียว กรรมการผู้จัดการประจำภูมิภาคอินโดไชน่า เอสเอพี

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าผู้หญิงได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจและความเจริญในสังคมทั่วโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคอาเซียนที่ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในแวดวงธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น

ขณะที่ประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในสิบประเทศที่มีความเท่าเทียมทางเพศสูงสุดในทวีปเอเชีย สังเกตจากสัดส่วนของผู้หญิงที่ทำงานในภาคการเมืองที่ปรับตัวสูงขึ้น สัดส่วนชายและหญิงในภาคแรงงานเชิงเทคนิคที่สมดุล และอัตราการเข้าถึงระบบการศึกษาระดับอุดมศึกษาของ
ผู้หญิงที่พัฒนาขึ้น นอกจากนี้ องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก ยังระบุว่านักวิจัยในด้าน STEM (วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์) ในประเทศไทยเป็นเพศหญิงถึง 53% ซึ่งสูงกว่าประเทศญี่ปุ่น (12%) และเกาหลีใต้ (18%) การได้เห็นผู้หญิงไทยลุกขึ้นมามีบทบาทสร้างความเสมอภาคทางเพศในสังคมของตนเองเช่นนี้ถือเป็นสัญญาณที่ดีอย่างยิ่ง

สำหรับบริษัทชั้นนำของโลกจำนวนมากในปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับการสร้างความหลากหลายทางเพศในองค์กร เพราะเล็งเห็นถึงคุณประโยชน์ต่อผลประกอบการทางธุรกิจ โดยงานวิจัยของแมคคินซีย์ได้ระบุว่า ความหลากหลายทางเพศมีส่วนช่วยเพิ่มระดับกำไรทางธุรกิจขององค์กรได้ถึง 2.2 เท่า และช่วยเพิ่มมูลค่าหุ้นได้ถึง 2 เท่า อีกทั้งพบว่าองค์กรที่มีกลุ่มผู้บริหารทั้งเพศชายและเพศหญิงจะสามารถสร้างผลกำไรได้ดีกว่าถึง 40%

นอกจากนี้ รายงานของ National Center for Women & Information Technology (NCWIT) ยังบ่งชี้ว่า ยิ่งมีสัดส่วนของผู้หญิงในบอร์ดบริหารมากเท่าใด ผลตอบแทนทางธุรกิจ ความคิดสร้างสรรค์ และความรู้สะสม (Collective Intelligence) ก็ยิ่งมีมากเท่านั้น

นอกจากนี้ ความหลากหลายทางเพศยังนำไปสู่ศักยภาพที่สูงขึ้นของภาคอุตสาหกรรมใหม่และชุมชนที่กำลังพัฒนา ดังที่ อูชา ราว-โมนารี อดีตผู้อำนวยการ International Finance Corporation (IFC) Sustainable Business Advisory เคยกล่าวไว้ว่า การมีส่วนร่วมของผู้หญิงนั้นสำคัญอย่างยิ่งต่อการแก้ปัญหาความขาดแคลนแรงงานฝีมือในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ การลงทุนโดยการให้โอกาสผู้หญิงได้ทำงาน ถือเป็นทางเลือกที่เป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่าย ทั้งต่อความก้าวหน้าขององค์กรเองและความเจริญในสังคมโดยรวม ซึ่งล้วนมีส่วนยกระดับเศรษฐกิจของทุกประเทศทั่วโลก

สิ่งที่น่าสนใจคือ ปัจจุบันการยกระดับความเสมอภาคทางเพศในองค์กร สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยนวัตกรรมล้ำสมัย นับตั้งแต่กระบวนการในฝ่ายบริหารทรัพยากรบุคคล ไปจนถึงการปฏิบัติงานในแต่ละวันของพนักงาน เทคโนโลยีในวันนี้ สามารถแปลงหน่วยธุรกิจทุกขนาดให้กลายเป็น อินเทลลิเจนต์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ ที่เอื้อให้พนักงานทุกเพศสามารถปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันได้อย่างเต็มศักยภาพและเท่าเทียมกัน

ในฐานะผู้นำระดับโลกด้านระบบซอฟต์แวร์สำหรับองค์กร เอสเอพี ได้พัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง ซึ่งขับเคลื่อนด้วยคุณสมบัติของแมชชีน เลิร์นนิ่ง ที่สามารถตรวจจับและป้องกันการมีอคติทางเพศโดยไม่รู้ตัวภายในองค์กรได้ โดยเทคโนโลยีดังกล่าวถูกพัฒนาขึ้น ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อช่วยปลดล็อกศักยภาพทางธุรกิจและขจัดอคติจากทุกกระบวนการตัดสินใจขององค์กร นับตั้งแต่การว่าจ้างไปจนถึงการเลื่อนตำแหน่ง โดยเอสเอพีได้สร้างกลไกการเรียนรู้ที่แปลงไปสู่ฟังก์ชั่นการปฏิบัติการที่ชาญฉลาดในวงจรการทำงานของทุกโซลูชั่น อีกทั้งยังใช้ประโยชน์จากเครือข่ายของบริษัทที่มีอยู่ทั่วโลกและระบบนิเวศน์ที่ทรงพลัง เพื่อต่อยอดกรณีศึกษาจากเคสของลูกค้าชั้นนำสู่วิถีแห่งความเสมอภาคในองค์กรที่ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

สำหรับเอสเอพี ความเสมอภาคทางเพศ คือ ค่านิยมองค์กรและหัวใจสำคัญของกลยุทธ์ด้านการบริหารบุคลากร และจากการใช้โซลูชั่นดังกล่าวเพื่อการบริหารองค์กรของเอสเอพีเอง ปัจจุบันเอสเอพีมีผู้หญิงในตำแหน่งผู้บริหารขององค์กรกว่า 25% และด้วยความตั้งใจที่จะเพิ่มสัดส่วนผู้หญิงในตำแหน่งดังกล่าว 1% ทุกปี เรามีเป้าหมายที่จะเห็นผู้หญิงดำรงตำแหน่งผู้บริหารในองค์กรในสัดส่วน 30% ภายในปี 2565 ทั้งนี้ ในปี 2559 เอสเอพีถือเป็นบริษัทข้ามชาติบริษัทแรกได้รับการรับรองโดย Economic Dividends for Gender Equality (EDGE) โดยบริษัทได้รับการรับรองอีกครั้งในปี 2018

เอสเอพีสนับสนุนให้เกิดความเสมอภาคทางเพศ ผ่านโซลูชั่นเพื่อการขับเคลื่อนองค์กรธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คน สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประการที่ 5 ขององค์การสหประชาชาติ ซึ่งมุ่งมั่นในการยุติการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิงทั่วโลก มุ่งมั่นสร้างนวัตกรรมเพื่อการขับเคลื่อนขององค์กรอย่างมีความเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งเป็นประโยชน์แก่พนักงาน ลูกค้า และพันธมิตรทางธุรกิจทุกราย