posttoday

นวัตกรรม ซัพพลายเชนพุ่ง

11 ตุลาคม 2561

ระบบซัพพลายเชนทั่วโลกกำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีทีท่าว่าจะชะลอตัว

เวสเลย์ โคววาสกี หัวหน้าประจำภูมิภาคอาเซียน, อินโฟร์

ระบบซัพพลายเชนทั่วโลกกำลังก้าวสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างไม่มีทีท่าว่าจะชะลอตัว ซึ่งเป็นผลจากแรงขับเคลื่อนของนวัตกรรมที่เกิดขึ้นอย่างไม่หยุดยั้งในทุกวงการ จากข้อมูลการจัดอันดับดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ระหว่างประเทศของธนาคารโลก ปี 2561 พบว่า อยู่อันดับที่ 32 จาก 160 ประเทศทั่วโลก ซึ่งเลื่อนขึ้นมาจากอันดับ 45 ในปี 2559 และนับเป็นอันดับ 2 ในอาเซียนรองจากสิงคโปร์

กองยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้กำหนดให้การพัฒนาเพิ่มมูลค่าซัพพลายเชนเป็น 1 ใน 3 ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศไทย ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564) และการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีด้านโลจิสติกส์เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของยุทธศาสตร์การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนด้านโลจิสติกส์ พบว่าต้นทุนด้านโลจิสติกส์ของไทยมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ อันเนื่องจากภาครัฐให้การสนับสนุนให้มีการพัฒนายุทธศาสตร์ด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า โดยการพัฒนาระบบ NSW เป็นรูปธรรมมากขึ้น และเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนการบริหารจัดการระบบซัพพลายเชน การวางแผนบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์อิเล็กทรอนิกส์ของภาคธุรกิจ (e-Logistics)

เทรนด์ด้านซัพพลายเชนที่จะเกิดขึ้นและต้องจับตามอง คือ อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อทางอินเทอร์เน็ตจะฝังรากลึกอยู่ในระบบซัพพลายเชนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรที่ใช้ในสายการผลิตใหม่ๆ รถบรรทุกคันใหม่ ศูนย์กระจายสินค้าแห่งใหม่ ไปจนถึงประตูรั้วเลยทีเดียว เครื่องจักรใหม่ๆ ต่างมีความพร้อมในการส่งข้อมูลสภาพความพร้อมในการทำงาน ซึ่งบริษัทใช้ติดตามตรวจสอบระบบซัพพลายเชนของตนได้

ในส่วนวงการซัพพลายเชน บล็อกเชนยังคงเป็นภาพจินตนาการในวงกว้าง และเราควรจะได้เห็นกรณีการใช้งานที่เกิดขึ้นจริง แม้บล็อกเชนเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และเป็นไปได้ แต่ยังต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะมีการใช้งานในวงกว้างในอุตสาหกรรมซัพพลายเชน ทั้งนี้ ฟอเรสเตอร์คาดการณ์ว่าเราจะยังไม่ได้เห็นโซลูชั่นที่จะนำมาใช้งานในเชิงพาณิชย์จนกว่าจะถึง พ.ศ. 2568

อย่างไรก็ตาม ซีไอโอขององค์กรต่างๆ ตื่นเต้นกับเรื่องนี้ บริษัทบางแห่งจะทำโครงการร่วมกับเวนเดอร์ด้านไอที เพื่อหาทางว่าจะใช้บล็อกเชนให้เป็นประโยชน์กับระบบซัพพลายเชนของตนให้มากที่สุดได้อย่างไร คาดหวังได้ว่าจะมีแนวคิดด้านบล็อกเชนที่หลากหลายเกิดขึ้น เพราะบริษัทต่างๆ และสตาร์ทอัพที่เกิดขึ้นใหม่ต่างจะพยายามใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้

นอกจากนี้ ที่ต้องจับตาคือ โซลูชั่นที่เป็นแชร์ลิ่ง อีโคโนมี คาดกันว่าแนวคิดนี้จะขยายไปยังการใช้ยานพาหนะขนาดใหญ่ เช่น รถตู้และรถบรรทุกส่วนบุคคล

เทคโนโลยีซัพพลายเชน หากบริษัทต่างๆ ไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่เดี๋ยวนี้ พวกเขาอาจพบว่าตัวเองกำลังเดินสู่ความล้มเหลว