posttoday

ญี่ปุ่นยันไม่พบกัมมันตภาพรังสีในปลาจากฟุกุชิมะ

27 สิงหาคม 2566

สำนักข่าวเกียวโดรายงานเมื่อวันเสาร์ว่า หน่วยงานด้านประมงของญี่ปุ่นระบุ ปลาที่ถูกตรวจสอบในน้ำรอบๆ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะไม่มีระดับไอโซโทปกัมมันตรังสีในระดับที่ตรวจพบได้

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา บริษัทโตเกียว อิเล็คทริค พาวเวอร์ (เทปโก) ผู้ดำเนินการโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ได้เริ่มปล่อยน้ำกัมมันตรังสีที่ผ่านการบำบัดแล้วออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิก สร้างความไม่พอใจให้กับชาวประมงและคนอื่นๆ ในญี่ปุ่น รวมถึงสร้างความตื่นตระหนกให้กับผู้บริโภคในประเทศเพื่อนบ้าน และเป็นเหตุให้จีนสั่งห้ามการใช้ผลิตภัณฑ์ใดๆที่มาจากแหล่งน้ำของญี่ปุ่น 

ญี่ปุ่นยันไม่พบกัมมันตภาพรังสีในปลาจากฟุกุชิมะ

เทปโก วางแผนที่จะประกาศผลการทดสอบทุกวัน และระบุเมื่อวันศุกร์ว่า น้ำทะเลใกล้โรงงานมีไอโซโทปน้อยกว่า 10 เบคเคอเรลต่อลิตร ซึ่งต่ำกว่าขีดจำกัดที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ที่ 700 เบคเคอเรล และต่ำกว่าขีดจำกัดขององค์การอนามัยโลกที่ 10,000 เบคเคอเรลสำหรับน้ำดื่ม

หลังจากการถกเถียงกันอย่างยาวนาน รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี ฟูมิโอะ คิชิดะ ตัดสินใจเมื่อวันอังคารที่จะอนุญาตให้ปล่อยน้ำบำบัด 1.3 ล้านตันจากโรงงานฟุกุชิมะ ซึ่งได้รับความเสียหายจากสึนามิเมื่อปี 2554 เนื่องจากเทปโกมีพื้นที่จัดเก็บน้ำที่ใช้หล่อเย็นแท่งพลังงานที่หลอมละลายไม่เพียงพอ

ญี่ปุ่นยันไม่พบกัมมันตภาพรังสีในปลาจากฟุกุชิมะ

ที่ผ่านมา เทปโก ยืนยันว่าได่กรองธาตุกัมมันตภาพรังสีส่วนใหญ่ออกจากน้ำแล้ว แต่จะเจือจางทริเทียมซึ่งเป็นไอโซโทปของไฮโดรเจน ซึ่งแยกออกจากน้ำได้ยาก จนอยู่ในระดับที่ปลอดภัยแล้ว