posttoday

บัตรเครดิตกลายเป็นสิ่งไร้ค่าจากวิกฤตเงินเฟ้อเวเนซูเอลา

14 กุมภาพันธ์ 2566

ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้น ข้อจำกัดของรัฐบาล ประชาชนต้องดิ้นรนหาหนทางเลี้ยงปากท้องด้วยค่าจ้างเพียงหยิบมือ บัตรเครดิตจึงกลายเป็นสิ่งไร้ค่าบนแผ่นดินเวเนซูเอลาไปโดยปริยาย

ในช่วงที่เศรษฐกิจของเวเนซุเอลาตกต่ำ รัฐบาลของประเทศได้กำหนดเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อที่เข้มงวดกว่าเดิม โดยอนุญาตให้ธนาคารปล่อยกู้ได้สูงสุด 27% ของกระแสเงินสด ผู้ประกอบการธุรกิจในท้องถิ่นจึงต้องไปขอสินเชื่อในต่างประเทศ

แม้ว่ารัฐบาลของประธานาธิบดี Nicolas Maduro จะผ่อนคลายการควบคุมสกุลเงินในปี 2019 และอนุญาตให้ธนาคารในประเทศเปิดบัญชีเงินฝากสกุลเงินดอลลาร์ได้ แต่ข้อจำกัดด้านสินเชื่อยังคงมีอยู่มาก

บัตรเครดิตกลายเป็นสิ่งไร้ค่าจากวิกฤตเงินเฟ้อเวเนซูเอลา

ด้วยรายได้ที่ลดลงและค่าครองชีพที่สูงขึ้น บัตรเครดิตจึงกลายเป็นสิ่งสำคัญสำหรับหลาย ๆ คนในการจับจ่ายใช้สอยในแต่ละวัน แต่ถึงอย่างนั้นธนาคารในประเทศก็เพิ่มวงเงินสินเชื่อ อีกทั้งธนาคารบางแห่งยังประกาศยกเลิกการใช้บัตรเครดิตไปโดยปริยาย

Pereira วัย 36 ปี ระบุว่า “ธนาคารไม่มีทางปล่อยกู้ให้เราได้ แต่เรายังต้องการสินเชื่อพวกนี้” เธอยังเสริมว่าวงเงินสูงสุดในบัตรเครดิตของเธอตอนนี้อยู่ที่ 2 ดอลลาร์ต่อเดือน (ราว 70 บาท) ซึ่งเป็นจำนวนที่ต่ำมาก ไม่เพียงพอที่จะซื้ออาหารในแต่ละเดือน

“ภาวะเงินเฟ้อรุนแรงและข้อจำกัดต่างๆส่งผลให้ธนาคารได้ยุติการให้สินเชื่อแก่ผู้บริโภคแล้ว” ผู้บริหารธนาคารเวเนซุเอลารายหนึ่งกล่าว ซึ่งขอไม่เปิดเผยตัวตนด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย 

บัตรเครดิตกลายเป็นสิ่งไร้ค่าจากวิกฤตเงินเฟ้อเวเนซูเอลา

ตามรายงานของ Venezuelan Finance Observatory แม้ว่าบัตรเครดิตบางเจ้าจะมีวงเงินที่สูงกว่า โดยอยู่ระหว่าง 30 ถึง 100 ดอลลาร์ แต่ก็ถือว่ายังอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อเดือนของเวเนซูเอลาเฉลี่ยที่ 370 ดอลลาร์ต่อครัวเรือน

ที่ผ่านมารัฐบาลของ Maduro ได้พยายามลดอัตราเงินเฟ้อโดยเพิ่มอุปทานเงินสดจากต่างประเทศ จำกัดสินเชื่อ ลดการใช้จ่ายสาธารณะ และเพิ่มภาษี ขณะที่ธนาคารกลางสั่งให้สถาบันการเงินแช่แข็งเงินฝากร้อยละ 73 

ทั้งนี้ ข้อมูลสิ้นเดือนธันวาคม 2022 ชี้ว่า บัตรเครดิต คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 2  หรือประมาณ 16 ล้านดอลลาร์ของพอร์ตสินเชื่อของธนาคารทุกแห่งในเวเนซุเอลารวมกัน ขณะที่ในปี 2012 ตัวเลขดังกล่าวอยู่ที่ร้อยละ 12