posttoday

อังกฤษล้มเหลวยิงดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรจากเครื่องบิน

10 มกราคม 2566

ความพยายามครั้งแรกในการส่งดาวเทียมจากยุโรปตะวันตกของอังกฤษล้มเหลวหลังจากมีรายงาน "ความผิดปกติ" ทำให้จรวดไม่สามารถขึ้นสู่วงโคจรได้

ความพยายามส่งดาวเทียมขนาดเล็ก 9 ดวงขึ้นสู่อวกาศจากจรวดสูง 70 ฟุต (21 เมตร) ที่ติดอยู่ใต้ปีกของเครื่องบินโบอิ้ง 747 ที่ดัดแปลงแล้วของ Virgin Orbit ซึ่งเป็นเจ้าของโดยสมาคม ซึ่งรวมถึง United Kingdom Space Agency และ Richard Branson ผู้ประกอบการสายการบินของอังกฤษประสบความล้มเหลว

เครื่องบินจัมโบ้เจ็ต บินขึ้นจากเมืองชายฝั่งนิวคีย์ทางตะวันตกเฉียงใต้ของอังกฤษเมื่อเวลา 22:02 น. GMT ในวันจันทร์ (03.02 น.ของวันอังคารตามเวลาในประเทศไทย) โดยจรวดแยกออกจากเครื่องบินและจุดชนวนเหนือมหาสมุทรแอตแลนติกที่ระดับความสูง 10,670 เมตร (35,000 ฟุต) แต่ Virgin Orbit กล่าวในภายหลังว่ามี "ความผิดปกติที่ขัดขวางไม่ให้เราไปถึงวงโคจร และจะให้ข้อมูลเพิ่มเติมภายหลัง”

อังกฤษล้มเหลวยิงดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรจากเครื่องบิน

ประชาชนมากกว่า 2,000 คนมารวมตัวกันเพื่อให้กำลังใจเมื่อเครื่องบินออกจากรันเวย์ ซึ่งเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สำหรับ สหราชอาณาจักร ในการส่งดาวเทียมขึ้นวงโคจรจากแผ่นดินยุโรปตะวันตก ต่างโห่ร้องเมื่อ  เครื่องทะยานขึ้นและเมื่อพวกเขาได้รับแจ้งว่าจรวดถูกส่งไปจากฐานยิงใต้ปีกเครื่องบินแล้ว  แต่ก็ได้แยกย้ายกันไปอย่างรวดเร็วและเงียบ ๆ หลังจากการประกาศความล้มเหลวของภารกิจ

Virgin Orbit กล่าวว่าเครื่องบินจัมโบ้เจ็ทกลับสู่ฐานบินอย่างปลอดภัยหลังจากภารกิจ

ความล้มเหลวของภารกิจครั้งนี้ เป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ของ Virgin Orbit นับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรกในปี 2020 โดยบริษัทมีสี่ภารกิจที่ประสบความสำเร็จ

อังกฤษล้มเหลวยิงดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรจากเครื่องบิน

ความล้มเหลวดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความทะเยอทะยานด้านอวกาศของยุโรปหลังจากภารกิจจรวด Vega-C ที่สร้างขึ้นในอิตาลีล้มเหลวหลังจากปล่อยออกจากเฟรนช์เกียนาในปลายเดือนธันวาคม โดยยุโรปประสบกับความพ่ายแพ้หลายครั้งในปีที่ผ่านมา ทั้งภารกิจการยิงจรวด Ariane 6 ที่ล่าช้า รวมถึงการเข้าถึงจรวด Soyuz ของรัสเซียถูกบล็อกโดยสงครามยูเครน  

ขณะที่ อุตสาหกรรมอวกาศของสหราชอาณาจักรมีพนักงาน 47,000 คน แต่ในขณะที่ประเทศนี้มีจำนวนดาวเทียมที่ผลิตเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐอเมริกา แต่ส่งขึ้นสู่วงโคจรผ่านท่าอวกาศต่างประเทศที่ดำเนินการโดยประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐฯ และคาซัคสถาน