posttoday

แช่แข็งปะการัง Great Barrier Reef แนวทางใหม่เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติ

24 ธันวาคม 2565

นักวิทยาศาสตร์เผยว่าได้ทดลองวิธีใหม่ในการแช่แข็งและเก็บตัวอ่อนปะการัง Great Barrier Reef ซึ่งเป็นแนวปะการังที่ใหญ่สุดในโลก และเป็นมรดกแห่งออสเตรเลียได้สำเร็จ โดยวิธีนี้จะช่วยฟื้นคืนแนวปะการังที่ถูกคุกคามจากวิกฤต climate change หรือการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ

จากอุณหภูมิโลกที่เพิ่มสูงขึ้นจนส่งผลต่อระดับอุณหภูมิในมหาสมุทรและท้องทะเล นักวิทยาศาสตร์จำนวนมากจึงพยายามดิ้นรนเพื่อหาทางปกป้องไว้ซึ่งแนวปะการัง ซึ่งในช่วง 7 ปีที่ผ่านมาแนวปะการัง Great Barrier Reef เคยประสบกับปัญหาการฟอกขาวมาแล้วถึง 4 ครั้ง โดยเกิดขึ้นครั้งแรกในช่วงในช่วงปรากฏการณ์ลานีญาที่ส่งผลให้น้ำทะเลเย็นลงอย่างรวดเร็ว

นักวิทยาศาสตร์ที่กำลังหาแนวทางเพื่อปกป้องปะการังระบุว่า ขณะนี้เราสามารถเก็บรักษาปะการังด้วยการแช่เยือกแข็งด้วยสารไครโอเจน ก่อนที่จะนำกลับคืนสู่ธรรมชาติในภายหลัง แต่กระบวนการและขีดความสามารถในปัจจุบันยังต้องอาศัยอุปกรณ์ที่ซับซ้อนอย่างเลเซอร์

แช่แข็งปะการัง Great Barrier Reef แนวทางใหม่เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติ

 ด้วยเทคโนโลยีชนิดใหม่อย่าง “ไครโอเมช (cryomesh)” ซึ่งมีน้ำหนักเบา สามารถช่วยเก็บรักษาตัวอ่อนปะการังได้ดีกว่า ทั้งยังสามารถผลิตได้ในราคาที่ย่อมเยา เทคโนโลยีนี้จะช่วยรักษาและเก็บตัวอ่อนปะการังที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส ซึ่งคิดค้นขึ้นโดยทีมงานจากวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยมินนิโซตา (the University of Minnesota’s College of Science and Engineering)

 

นี่ถือเป็นครั้งแรกของโลกที่ทีมทดลองใช้เทคโนโลยีไครโอเมชกับแนวปะการังที่ใหญ่ที่สุดในโลกอย่าง Great Barrier Reef การทดลองเริ่มขึ้นในเดือนธันวาคม ณ ห้องแล็บของสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลแห่งออสเตรเลีย (Australian Institute of Marine Sciences (AIMS) ) โดยปะการังที่ถูกเก็บตัวอย่างมาใช้ในการทดลอง จะรวบรวมมาในระยะเวลาออกไข่ประจำปี ซึ่งถือเป็นระยะเวลาสั้นๆ

แช่แข็งปะการัง Great Barrier Reef แนวทางใหม่เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติ

“หากเราสามารถรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของปะการังได้ เราก็จะมีเครื่องมือสำหรับอนาคตที่จะช่วยฟื้นฟูแนวปะการังได้อย่างแท้จริง และเทคโนโลยีสำหรับแนวปะการังในอนาคตนี่แหละคือตัวเปลี่ยนเกมของจริง” Mary Hagedorn นักวิทยาศาสตร์วิจัยอาวุโสจากสวนสัตว์แห่งชาติ Smithsonian's National Zoo และสถาบันชีววิทยาการอนุรักษ์กล่าว

ก่อนหน้านี้ไครโอเมชเคยนำไปทดลองกับแนวปะการังขนาดเล็กที่ฮาวายมาก่อนแล้ว ก่อนจะค่อยๆขยายการทดลองไปสู่แนวปะการังที่ใหญ่ขึ้นแต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ จนกระทั่งในปัจจุบันที่การทดลองได้ขยายมาสู่สเกลที่ใหญ่ขึ้นกับแนวปะการัง Great Barrier Reef