posttoday

จับเซลล์คนมาผสมกับลิง หวังผลิตอวัยวะเทียม

04 สิงหาคม 2562

จีนยังเคยจับลิงมาใส่สมองคนและพบว่ามีสติปัญญาเพิ่มขึ้น


ทีมงานนักวิจัยนำโดยศาสตราจารย์ฮวน การ์โลส อุซปีซูอา นักวิจัยชาวสเปนแห่งมหาวิทยาลัย UCAM ร่วมมือกับสถาบัน Salk Institute ของสหรัฐ ทำการทดลองสร้างสิ่งมีชีวิตผสมต่างสายพันธุ์ หรือ คิเมียรา (Chimera) โดยนำสเต็มเซลล์ของมนุษย์มาฉีดเข้าสู่เอ็มบริโอ หรือตัวอ่อนของลิง

การฉีดสเต็มเซลเข้าสู่ตัวอ่อนของลิงที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม จะกระตุ้นยีนที่มีส่วนสำคคัญในการสร้างอวัยวะ ผลที่ได้คือลิงที่มีเซลล์ของมนุษย์ แต่ลิงที่ผ่านการทดลองดังกล่าวไม่ได้ถือกำหนดออกมา เพราะนักวิจัยหยุดกระบวนการเอาไว้ ทว่า ด้วยวิธีการนี้ ในอนาคตจะสามารถนำอวัยวะของลิงประเภทนี้มาเปลี่ยนถ่ายให้กับผู้ป่วยได้

สำนักข่าว El Pais รายงานว่า การทดลองครั้งนี้ทำขึ้นในห้องแล็บที่ประเทศจีน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาด้านกฎหมาย เพราะการทดลองระหว่างคนกับสัตว ยังเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ส่วนคำว่า คิเมียรา (Chimera) เป็นชื่อของสัตว์ในเทพนิยายกรีกที่เป็นส่วนผสมของสิงโต แพะ และงู คำๆ นี้จึงหมายถึงสัตว์ที่ผสมกันข้าสายพันธุ์ เช่นเดียวกับลิงที่มีเซลล์มนุษย์

ทั้งนี้ เคยมีกรณีอื้อฉาวด้านพันธุกรรมและจริยธรรมเกี่ยวกับการทดลองทางวิทยาศาสตร์ขึ้นในจีนเกี่ยวกีบมนุษย์และลิง โดยมีการทดลองการใส่ยีนสมองของมนุษย์เข้าไปในลิง ซึ่งอาจสร้างลิงชนิดใหม่ขึ้นมา

งานวิจัยชิ้นนี้เผยแพร่ผ่านวารสารวิทยาศาสตร์ National Science Review ที่ตีพิมพ์เมื่อวันที่ 27 มีนาคม โดยระบุว่า เป็นความพยายามครั้งแรกที่จะทดลองยีนสมองระดับต้นกำเนิดพื้นฐานของมนุษย์ โดยใช้ลิงต้นแบบที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม ซึ่งมีประโยชน์ในการทำความเข้าใจลักษระเฉพาะของมุนษย์ โดยใช้ไพรเมต (อันดับวานร หรือสัตว์ประเภทลิง) ที่ไม่ใช่มนุษย์

ทั้งนี้ชื่อบทความงานวิจัยคือ Transgenic rhesus monkeys carrying the human MCPH1 gene copies show human-like neoteny of brain development

นักวิจัยได้ใส่สำเนาของยีน MCPH1 ของมนุษย์ ซึ่งมีความสำคัญต่อการพัฒนาสมอง เข้าไปในตัวอ่อนลิง 11 ตัวผ่านไวรัสที่เป็นตัวนำของยีน แต่มีลิง 6 ตัวนั้นตายไป ขณะที่อีกห้าตัวแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าอย่างชัดเจนในกลไกลด้านปัญญา

จากการศึกษาพบว่าลิงทั้ง 5 ตัวไม่ได้มีพฤติกรรมที่แตกต่างจากพฤติกรรมเดิมมากนัก หรือมีขนาดของสมองที่ใหญ่กว่าเดิม แต่หลังจากผ่านการสแกนสมองและการทดสอบหน่วยความจำ พบว่าลิงมความจำระยะสั้นดีขึ้น มีปฏิกริยาและพัฒนาการทางสมองที่ดีขึ้น

งานวิจัยระบุว่าลิงมี "ศักยภาพในการให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับคำถามพื้นฐานที่สำคัญของสิ่งที่ทำให้มนุษย์มีลักษณะเฉพาะ รวมถึงการทำความเข้าใจความผิดปกติและฟีโนไทป์ (ลักษณะสืบสายพันธุ์) ที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ เช่น ความผิดปกติของระบบประสาทและพฤติกรรมทางสังคม ที่เป็นเรื่องยากที่จะทำการศึกษาวิจัยผ่านวิธีการอื่น