posttoday

แมร์เคิล - มาครง ลงนามสัญญามิตรภาพ สถาปนา"กองทัพยุโรป"

23 มกราคม 2562

ผู้นำฝรั่งเศส-เยอรมนี ลงนามความร่วมมือครั้งสำคัญรอบด้าน รวมถึงการจัดตั้งกองทัพยุโรป

ผู้นำฝรั่งเศส-เยอรมนี ลงนามความร่วมมือครั้งสำคัญรอบด้าน รวมถึงการจัดตั้งกองทัพยุโรป

วานนี้ (22 ม.ค.) ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศส และนางอังเกลา แมร์เคิล ร่วมลงนามในสนธิสัญญาอาเคิน Treaty of Aachen ที่เมืองอาเคินตะวันตกสุดของประเทศเยอรมนี ติดกับพรมแดนประเทศเนเธอร์แลนด์และเบลเยียม ซึ่งนับเป็นก้าวครั้งสำคัญของสองชาติมหาอำนาจในสหภาพยุโรป ในการนำพายุโรปไปสู่ยุคใหม่ที่เน้นการพึ่งตนเองเป็นหลัก

 

แมร์เคิล - มาครง ลงนามสัญญามิตรภาพ สถาปนา"กองทัพยุโรป"

สนธิสัญญาอาเคินคืออะไร

สนธิสัญญาดังกล่าวมีทั้งหมด 16 หน้า มีเนื้อหาเกี่ยวกับข้อตกลงที่มีรวมกันชาติมหาอำนาจยุโรปทั้งสองในความร่วมมือด้านต่างๆทั้ง นโยบายต่างประเทศ ความมั่นคง การค้า การแลกเปลี่ยน และการวิจัยด้านต่างๆ ร่วมกัน

การลงนามครั้งนี้มีขึ้นยังห้องโถงใหญ่ของศาลากลางเมืองอาเคิน ซึ่งเป็นเป็นช่วงครบรอบ 55 ปีของสนธิสัญญาเอลิเซ ซึ่งอาจเรียกสนธิสัญญาอาเคิน อย่างเป็นทางการได้ว่า สนธิสัญญาเอลิเซฉบับใหม่ และเป็นฉบับสืบเนื่องจากสนธิสัญญาเอลิเซฉบับปี 1963 ที่เป็นการลงนามระหว่างอดีตประธานาธิบดี Charles de Gaulle และนายกรัฐมนตรี Konrad Adenauer ของเยอรมนี เมื่อวันที่ 22 มกราคม 1963 ที่พระราชวังเอลิซาในกรุงปารีส

 

แมร์เคิล - มาครง ลงนามสัญญามิตรภาพ สถาปนา"กองทัพยุโรป"

ข้อตกลงมีอะไรบ้าง

การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นด้วย "เขตเศรษฐกิจ" ของฝรั่งเศส - เยอรมนี

พัฒนาขีดความสามารถทางทหารของยุโรปโดยลงทุนร่วมกันเพื่อ "เติมเต็มช่องว่างในความสามารถ"และเป็นกำลังเสริมให้กับ สหภาพยุโรปและนาโต้

คำนึงถึงความเป็นไปได้ของการปรับใช้ปฏิบัติการทางทหารร่วมกัน รวมถึงสภาความมั่นคงของเยอรมนีและความมั่นคงของฝรั่งเศส

สำหรับคนหนุ่มสาวมีข้อตกลงที่จะให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมและเพิ่มการเรียนรู้ภาษาของกันและกันโดยมีจุดประสงค์ของมหาวิทยาลัยในฝรั่งเศส และเยอรมนี นอกจากนี้ยังมีแผนสำหรับการเชื่อมโยงข้ามพรมแดนที่ใกล้ชิดยิ่งขึ้นเพื่อส่งเสริมการใช้ "ระบบสังคมสองภาษา" ของทั้งสองชาติด้วย

ประเด็นสำคัญของสนธิสัญญานี้ คือข้อตกลงความร่วมมือด้านการทหารของทั้งฝรั่งเศสและเยอรมนีให้ใกล้ชิดกันมากขึ้น จากดำริของประธานาธิบดีมาครงที่ต้องการให้ยุโรปมีกองทัพของตนเอง เพื่อลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอกที่ไม่อาจคาดเดาได้ สอดคล้องกับที่นางแมร์เคิลเคยกล่าว ระหว่างการประชุมสมัชชารัฐสภายุโรป ที่กรุงบรัสเซลส เมื่อเดือนพ.ย.ปีที่ผ่านมาว่า "เวลาแห่งการพึ่งพิงผู้อื่นในเรื่องความมั่นคงได้หมดลงแล้ว สหภาพยุโรปจำเป็นต้องมาหน่วยทหารที่สามารถปฎิบัติได้ในยามที่จำเป็น เป็นกองทัพยุโรปอย่างแท้จริง"

ทั้งนี้ ระหว่างการกล่าวสุนทรพจน์ของนางแมร์เคิลในพิธีลงนามดังกล่าว เธอได้เน้นย้ำถึงการลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอกในการบูรณาการทางการเมือง เศรษฐกิจ และการความมั่นคงที่ใกล้ชิดกว่าเดิม โดยเฉพาะใน'อุตสาหกรรมทางทหารร่วมกัน'

นอกจากนี้สิ่งที่ผู้นำทั้งสองเห็นพ้องกันคือ การแลกเป็นวัฒนธรรมและส่งเสริมระบบสังคมสองภาษาเพื่อต่อสู้กับแนวคิดชาตินิยมขวาจัดที่ทั้งสองชาติกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้