พลเอก สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีคนที่ 19 ถึงแก่อสัญกรรม
พลเอก สุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรีคนที่ 19 หนึ่งในสมาชิกคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ซึ่งก่อรัฐประหารใน พ.ศ. 2534 ถึงแก่อสัญกรรม ที่ รพ.พระมงกุฎฯ ในวัย 91 ปี
พลเอก สุจินดา คราประยูร หนึ่งในสมาชิกคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ซึ่งก่อรัฐประหารใน พ.ศ. 2534.ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีวันที่ 7 เมษายน 2535 โดยมติสภาผู้แทนราษฎร พ้นจากตำแหน่งวันที่ 10 มิถุนายน 2535 โดยลาออก เพราะเกิดจลาจลพฤษภาทมิฬ วันแถลงนโยบาย 6 พฤษภาคม 2535
ประวัติ
พลเอก สุจินดา คราประยูร เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2476
ประวัติการทำงาน พ.ศ. 2505 ดำรงตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 21
พ.ศ. 2513 หัวหน้าฝ่ายยุทธการกองทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน
พ.ศ. 2524 รองเจ้ากรมยุทธการทหารบก
พ.ศ. 2525 เจ้ากรมยุทธการทหารบก
พ.ศ. 2529 รองเสนาธิการทหารบก
พ.ศ. 2530 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2532 รองผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2533 ผู้บัญชาการทหารบก
พ.ศ. 2534 ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารสูงสุด
บทบาททางการเมือง 2 กรกฎาคม 2524 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
24 เมษายน 2524 ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
23 กุมภาพันธ์ 2534 รองประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ
7 เมษายน 2535 ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีคนที่ 19
24 พฤษภาคม 2535 ลาออกจากตำแหน่ง
วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 คณะนายทหารซึ่งเรียกกลุ่มตนเองว่า “คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ” (รสช.) นำโดยนายทหารผู้ใหญ่ 5 คน คือ พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอกประพัฒน์ กฤษณจันทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลเอกอิสระพงษ์ หนุนภักดี รองผู้บัญชาการทหารบก ได้ร่วมกันยึดอำนาจจากรัฐบาล พล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ ด้วยการไฮแจ็คเครื่องบินลำเลียงของกองทัพอากาศไทย C-130 ที่กำลังมุ่งหน้าไปจังหวัดเชียงใหม่
พล.อ.สุจินดาประกาศรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากที่เคยกล่าวไว้ว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จนได้รับฉายาว่าเป็นการ “เสียสัตย์เพื่อชาติ”
“…ผมจำเป็นต้องเสียสัตย์ที่เคยกล่าวไว้ว่า ‘จะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี’
ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุผลเดียวว่า เพราะความเป็นทหารที่เรามีคติประจำใจว่า เรายอมเสียสละได้แม้ชีวิตเพื่อประเทศชาติ เพราะฉะนั้นเมื่อเกิดความจำเป็นที่เราจะต้องทำงานเพื่อประเทศชาติ เพราะฉะนั้นการเสียชื่อเสียง เสียสัจจะวาจาก็อาจจะเป็นความจำเป็น…” พล.อ.สุจินดา คราประยูร (8 เมษายน 2535)
จนทำเกิดการชุมนุมประท้วงให้ พล.อ. สุจินดา ลาออก จนกระทั่งเที่ยงคืนของวันที่ 17 พฤษภาคม 2535 รัฐบาลมีคำสั่งสลายการชุมนุม เกิดการปะทะกัน ความโกลาหลนี้กินระยะเวลา 7 วัน (17-24 พฤษภาคม 2535) มีผู้บาดเจ็บ 1,728 ราย สูญหายอีกกว่า 500 คน ไม่ทราบจำนวนผู้ถูกจับกุม จนถูกขนานนามเหตุการณ์ดังกล่าวว่า “พฤษภาทมิฬ”