posttoday

น้ำท่วม67:"พายุยางิ"จ่อเข้าเวียดนามเจาะพื้นที่ทั่วไทยยกของขึ้นที่สูง

05 กันยายน 2567

กรมอุตุฯเตือนภัยฉบับ 7 พายุยางิ เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งเวียดนาม ไทยเตรียมรับมือฝนตกหนัก สนทช.ประชุมหน่วยงานทุกระดับ รับมือท้ายเขื่อนเจ้าพระยา ตั้งศูนย์พักพิงและเตรียมถุงยังชีพ เจาะรายพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมทั่วประเทศยกของขึ้นที่สูง

ว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย  รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา รักษาราชการแทนอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยว่า
กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศืเรื่อง พายุ "ยางิ" ฉบับที่ 7 (166/2567)

เมื่อเวลา 04.00 น. ของวันนี้ (5 ก.ย. 67) พายุไต้ฝุ่น "ยางิ" บริเวณทะเลจินใต้ตอนบน มีศูนย์กลางอยู่ที่ ละติจูด 19.2 องศาเหนือ ลองจิจูด 116.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลางประมาณ 185 กิโลเมตรต่อชั่วโมง พายุนี้กำลังเคลื่อนตัวทางทิศตะวันตกอย่างช้าๆ คาดว่าในช่วงวันที่ 6-7 ก.ย. 67 จะเคลื่อน ผ่านเกาะไหหลำ ประเทศจีน และขึ้นฝั่งบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน หลังจากนั้นจะอ่อนกำลังลงตามลำดับ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกหนัก และลมกระโชกแรงบางแห่ง ในช่วงวันที่ 7-8 ก.ย. 67
 

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 5-6 ก.ย. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ใน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝังตะวันตก ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและ ฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม

ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่น สูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือในบริเวณดังกล่าวเดินเรือด้วย ความระมัดระวังและหลึกเลี้ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 8 ก.ย. 67 นี้ไว้ด้วย

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซด์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง 

ที่มา กรมอุตุนิยมวิทยา 
 
 

ด้าน ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) สทนช. ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการเตรียมพื้นที่รองรับน้ำในเขื่อน เพื่อรับมือกับสถานการณ์ฝน รวมถึงจะมีการใช้พื้นที่หน่วงน้ำ ก่อนที่ปริมาณน้ำจะไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ซึ่งในช่วงวันที่ 9–10 ก.ย. 67 อาจจะต้องระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มขึ้นอยู่ในอัตราประมาณ 2,000 ลบ.ม. ต่อวินาที และคาดว่าจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำทำให้เกิดน้ำท่วมเพิ่มเติมในบริเวณพื้นที่ริมแม่น้ำ พื้นที่ลุ่มต่ำ และพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ จ.ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนนทบุรี

ทั้งนี้ ในวันนี้ (5 ก.ย. 67) สทนช. จะประชุมหน่วยบริหารจัดการน้ำร่วมกับหน่วยงานด้านน้ำและทุกจังหวัดท้ายเขื่อนเจ้าพระยา รวมถึงจะพิจารณาจัดตั้งศูนย์พักพิงและเตรียมถุงยังชีพ เพื่อเป็นการดูแลและสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในพื้นที่

สำหรับพื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ แม่น้ำยม แม่น้ำแควน้อย แม่น้ำจันทบุรี แม่น้ำตราด แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณ คลองโผงเผง จ.อ่างทอง คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา และแม่น้ำน้อย ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา

น้ำท่วม67:\"พายุยางิ\"จ่อเข้าเวียดนามเจาะพื้นที่ทั่วไทยยกของขึ้นที่สูง

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบุพื้นที่เสี่ยงรายภาค รับสถานการณ์พายุ"ยางิ"

ภาคเหนือ 
จังหวัดแม่ฮ่องสอน (อ.เมืองฯ ปางมะผ้า ปาย สบเมย) 
เชียงใหม่ (อ.จอมทอง ฮอด) 
เชียงราย(อ.แม่สาย เชียงแสน แม่จัน แม่ฟ้าหลวง) 
ลำพูน (อ.อออ.เมืองฯ ลี้) 
ลำปาง (อ.เมืองๆ แจ้ห่ม ห้างฉัตร เมืองปาน เสริมงามเกาะคา แม่พริก) 
พะเยา (อ.ปง เชียงคำ จุน ภูกามยาว) 
แพร่ (อ.เมืองฯ สอง วังชิ้น ลอง)
น่าน (อ.ทุ่งช้าง เฉลิมพระเกียรติ ปัว บ่อเกลือ เชียงกลาง) 
อุตรดิตถ์ (อ.เมืองฯ ฟากทำ น้ำปาด ตรอน) 
ตาก (อ.ท่าสองยาง แม่สอด พบพระ อุ้มผาง) 
สุโขทัย (อ.เมืองฯ ศรีสัชนาลัย ทุ่งเสลี่ยม กงไกรลาศ) 
กำแพงเพชร (อ.ปางศิลาทอง คลองลาน โกสัมพีนคร พรานกระต่าย) 
พิษณุโลก (อ.ชาติตระการ นครไทย วัดโบสถ์ วังทอง เนินมะปราง) 
พิจิตร (อโพธิ์ประทับช้าง)
เพชรบูรณ์ (อ.เมืองฯ หนองไผ่ หล่มเก่า หล่มสัก) 
นครสวรรค์ (อ.แม่วงก์ แม่เป็น) 
และอุทัยธานี (อ.บ้านไว่)

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 
จังหวัดเลย (อ.นาแห้ว เชียงคาน ด่านซ้าย ปากชม) 
หนองคาย(อ.เมืองฯ สังคม ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ โพนพิสัย โพธิ์ตาก) 
บึงกาฬ (อ.เมืองฯ ปากคาด มุ่งคล้า โซ่พิสัย เซกา บึงโขงหลง)
หนองบัวลำภู (อ.สุวรรณคูหา) 
อุดรธานี (อ.นายง น้ำโสม) 
สกลนคร (อ.เมืองฯ ภพาน สว่างแดนดิน) 
นครพนม (อ.เมืองฯ ศรีสงคราม) 
ชัยภูมิ (อ.เมืองฯ คอนสาร หนองบัวแดง) 
ขอนแก่น (อ.เมืองฯ ภูผาม่าน ชุมแพ บ้านไผ่) 
มหาสารคาม (อ.เมืองฯ) 
ร้อยเอ็ด (อ.เมืองฯ เสลภูมิ) 
ยโสธร (อ.เมืองฯ บำติ้ว คำเขื่อนแก้ว) 
อำนาจเจริญ (อ.เมืองฯ ชานุมาน)
นครราชสีมา (อ.ปากช่อง วังน้ำเขียว) 
บุรีรัมย์ (อ.เมืองฯ) 
สุรินทร์ (อ.เมืองฯ ปราสาท) 
ศรีสะเกษ (อ.เมืองฯ
ยางชุมน้อย) 
และอุบลราชธานี (อ.เมืองฯ วารินชำราบ ตาลสุม น้ำยืน พิบูลมังสาหาร น้ำขุ่น)

ภาคกลาง 
จังหวัดกาญจนบุรี (อ.สังขละบุรี ทองผาภูมิ ไทรโยค ศรีสวัสดิ์) 
ราชบุรี (อ.ปากท่อ สวนผึ้ง) 
สุพรรณบุรี (อ.ด่านช้าง) 
ชัยนาท (อ.หันคา) 
ลพบุรี (อ.ชัยบาดาล สระโบสถ์ ลำสนธิ) 
นครนายก (อ.เมืองฯ ปากพลี บ้านนา) 
ปราจีนบุรี (อ.เมืองฯ ประจันตาม นาดี กบินทร์บุรี) 
สระแก้ว (อเมืองฯ) 
ฉะเชิงเทรา(อ.สนามชัยเขต ท่าตะเกียบ) 
ชลบุรี (อ.เมืองฯ บางละมุง ศรีราชา) 
ระยอง (อ.เมืองฯ บ้านค่าย ปลวกแดง นิคมพัฒนา) 
จันทบุรี (อ.เมืองฯ ขลุง ท่าใหม่ เขาคิชฌกุฎ มะขาม) 
ตราด (ทุกอำเภอ) 
เพชรบุรี (อ.หนองหญ้าปล้อง แก่งกระจาน)
ประจวบคีรีขันธ์ (อ.บางสะพาน บางสะพานน้อย ปราณบุรี) 
ปทุปทุมธานี (อ.ธัญบุรี คลองหลวง) 
นนทบุรี (อ.เมืองฯ ปากเกร็ด) 
และสมุทรปราการ (อ.เมืองฯ บางพลี บางเสาธง)

ภาคใต้ 
จังหวัดชุมพร (อ.ท่าแชะ สวี) 
สุราษฎร์ธานี (อ.เมืองฯ คีรีรัฐนิคม พุนพิน พระแสง เวียงสระ)
นครศรีธรรมราช (อ.เมืองๆ เชียรใหญ่ ลานสกา ถ้ำพรรณรา ทุ่งใหญ่) 
พัทลุง (อเมืองฯ ปากพะยูน กงหรา ศรีนครินทร์ ควนขนุน) 
สงขลา (อ.รัตภูมิ หาดใหญ่ สะบ้าย้อย นาหม่อม) 
ระนอง (ทุกอำเภอ) 
พังงา (อ.เมืองฯ คุระบุรี ตะกั่วป่า กะปง ท้ายเหมือง) 
ภูเก็ต (ทุกอำเภอ) 
กระบี่ (อ.เมืองฯ เหนือคลอง อ่าวลึก คลองท่อม ปลายพระยา เกาะลันตาเขาพนม) 
ตรัง (อ.เมืองฯ สิเกา ย่านตาขาว กันตัง ห้วยอด รัษฎา วังวิเศษ) 
และสตูล (อ.เมืองฯ ควนโดน ควนกาหลงทุ่งหว้า มะนัง)

ที่มา กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย