posttoday

ทริสเรทติ้ง ลดอันดับเครดิตCK

21 มกราคม 2554

ทริสเรทติ้ง ลดอันดับเครดิตCK   เป็ น “BBB” จาก “BBB+” หลังมีภาระหนี้สูง  แต่ขยับมุมมองจากเชิงลบเป็นคงที่

ทริสเรทติ้ง ลดอันดับเครดิตCK   เป็ น “BBB” จาก “BBB+” หลังมีภาระหนี้สูง  แต่ขยับมุมมองจากเชิงลบเป็นคงที่

บริษัท ทริสเรทติ้ง  ประกาศปรับลดอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ของ บริษัท ช. การช่าง  เป็นระดับ “BBB” จากเดิมที่ระดับ “BBB+” พร้อมเปลี่ยนแนวโน้มอันดับเครดิตเป็น “Stable” หรือ “คงที่” จากเดิม “Negative” หรือ “ลบ” โดยอันดับเครดิตที่ลดลงสะท้อนสถานะทางการเงินของบริษัทที่อ่อนแอลงเนื่องจากการมีภาระหนี้ในระดับสูงและอัตรากำไรที่ลดลง

อย่างไรก็ตาม อันดับเครดิตยังคงสะท้อนถึงความเป็นผู้นำในธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในประเทศไทย ตลอดจนผลงานที่เป็นที่ยอมรับในโครงการก่อสร้างภาครัฐและโครงการที่ต้องการความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และรายได้ที่สมํ่าเสมอจากการลงทุนในกิจการสัมปทาน โดยความแข็งแกร่งดังกล่าวถูกบั่นทอนบางส่วน
จากภาระหนี้ที่สูงเนื่องจากการลงทุนในกิจการสัมปทาน จำนวนโครงการก่อสร้างที่ยังไม่ส่งมอบ (Backlog) ที่กระจุกตัว ความเสี่ยงจากสัญญาก่อสร้างแบบคงที่ (Fixed-price Contract) และความผันผวนในอุตสาหกรรมก่อสร้าง

สำหรับแนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนถึงความคาดหวังว่าอัตราส่วนกำไรและภาระหนี้ ข องบริษัทจะปรับตัวดีขึ้น ในระยะปานกลาง  ทั้งนี้อันดับเครดิตอาจปรับเพิ่มขึ้นหากบริษัทประสบความสำเร็จในการเพิ่มปริมาณงานรับเหมาก่อสร้างที่จะช่วยเสริมสร้างกระแสเงินสดให้แข็งแกร่งได้ในระยะปานกลาง  โดยอันดับเครดิตที่ ดีขึ้นนั้น บริษัทจำเป็นจะต้องมีภาระหนี้ลดลงและต้องแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการรักษาโครงสร้างทางการเงินที่ดีขึ้น ในระยะปานกลาง

ทริสเรท ติ้งรายงานว่า บริษัท ช. การช่างเป็นหนึ่งในผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่จำนวน 3 รายของประเทศ บริษัทมีประสบการณ์ด้านการก่อสร้างที่หลากหลาย ตั้งแต่งานโยธาโครงสร้าง พื้น ฐานไปจนถึงโครงการที่มีความซับซ้อนสูง ประสบการณ์ที่หลากหลายดังกล่าวเมื่อรวมกับการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้รับเหมาก่อสร้าง ชั้น นำจากต่างประเทศแล้วนับเป็นปัจจัยที่ช่วยเสริมความแข็งแกร่งทางธุรกิจให้แก่บริษัท ณ  สิ้น เดือนตุลาคม 2553 บริษัทมีงานรับเหมาก่อสร้างที่ยังไม่ส่งมอบมูลค่า 12,465  ล้านบาท โดย 71% เป็นโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง บริษัทคาดว่ามูลค่างานรับเหมาก่อสร้างที่ยังไม่ส่งมอบมีโอกาสที่จะเพิ่มสูง ขึ้น มากในปี 2554 เนื่องจากมีหลายโครงการที่อยู่ระหว่างการรอลงนาม ขั้นสุดท้าย เช่น โครงการเขื่อนไซยะบุรีในประเทศลาว (มูลค่า 76,000 ล้านบาท) โครงการรถไฟฟ้ าสายสี น้ำงิน 2 สัญญา (15,028 ล้านบาท)โครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก (4,800 ล้านบาท) และโครงการโรงงานยาสูบ (4,500 ล้านบาท)

ทริสเรท ติ้งกล่าวว่าธุรกิจสัมปทานของบริษัท ช. การช่างครอบคลุมโครงการสาธารณูปโภค พื้น ฐานหลายประเภท ได้แก่ ทางด่วนรถไฟฟ้ าใต้ดิน น้ำประปา และโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้ า โดย ณ เดือนกันยายน 2553 เงินลงทุนรวมในกิจการสัมปทานประกอบด้วย การถือหุ้นใน บริษัท ทางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BECL) จำนวน 16.4% ใน บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BMCL) 24.6% ใน บริษัทน้ำ ประปาไทย  (TTW) 30.0% และใน บริษัท เซาท์อีสท์ เอเชีย เอนเนอร์จี   (SEAN) 38.0% บริษัทได้รับเงินปันผลอย่างสมํ่าเสมอประมาณปีละ 500-600 ล้านบาทจากการลงทุนใน BECL และ TTW ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงจากลักษณะผันผวนของรายได้ที่มาจากธุรกิจก่อสร้างได้ระดับหนึ่ง ส่วนโครงการเขื่อน น้ำงึม 2 ในประเทศลาวซึ่งอยู่ภายใต้การดำเนินงานของ SEAN  นั้นคาดว่าจะเริ่มสร้างรายได้ในปี2554 ในขณะที่ BMCL ยังมีผลประกอบการที่ขาดทุนและต้องการความช่วยเหลือทางการเงินจากผู้ถือหุ้นอันเป็นปัจจัยลบต่ออันดับเครดิตของบริษัท

บริษัทมีสถานะทางการเงินที่อ่อนแอลงอย่างมากในปี 2553 จากการปรับลดอัตรากำไรในโครงการเขื่อน น้ำ 2 โดยโครงการดังกล่าวมีต้นทุนเพิ่ม ขึ้น  1,070 ล้านบาทในไตรมาสแรกของปี 2553 ทริสเรท ติ้ง คาดว่าเงินทุนจากการดำเนินงานของบริษัทจะเริ่มปรับตัวดี ขึ้น ในอนาคตอันใกล้เนื่องจากสัดส่วนกำไรจะเริ่มมาจากโครงการที่เริ่มหลังปี 2552 ซึ่งเป็นช่วงที่การแข่งขันและราคาวัสดุก่อสร้างเริ่มปรับตัวกลับเข้าสู่สภาวะปกติกว่าในปี 2551 บริษัทยังคงมีภาระหนี้อยู่ในระดับสูงจากการลงทุนในกิจการสัมปทาน กระแสเงินสดจ่ายสำหรับโครงการลงทุนในสัมปทานและค่าใช้จ่ายฝ่ายทุนน่าจะยังเป็นข้อจำกัดของบริษัทในการพยายามลดภาระหนี้ใ นระยะปานกลางต่อไป ณ  สิ้น เดือนกันยายน 2553 บริษัทมีอัตราส่วนหนีสิ้นต่อส่วนของผู้ถือหุ้นที่ 2.3 เท่า ซึ่งค่อนข้างจำกัดความยืดหยุ่นทางการเงินเมื่อเทียบกับข้อกำหนดสิทธิที่ให้รักษาอัตราดังกล่าวในระดับไม่เกิน 2.5 เท่าสภาพคล่องของบริษัทได้รับแรงหนุนอย่างมีนัยสำคัญจากการถือครองหลักทรัพย์ที่มีสภาพคล่องดีจำนวนมาก ณ สิ้น เดือนกันยายน2553 เงินลงทุนของบริษัทมีมูลค่ายุติธรรมที่ 13,925 ล้านบาทหากประเมินมูลค่าเงินลงทุนใน SEAN ตามราคาทุน มูลค่าเงินลงทุนดังกล่าวน่าจะปรับสูง ขึ้น หากสะท้อนถึงมูลค่ายุติธรรมของ SEAN