posttoday

หุ้นไทย30มิ.ย.ปิดลบ3.38จุด

30 มิถุนายน 2560

ตลาดหุ้นไทย 30มิ.ย.60 ปิดช่วงบ่ายที่ระดับ 1,574.74 จุด ลดลง 3.38 จุด (-0.21%) มูลค่าการซื้อขาย 45,123.84 ล้านบาท

ตลาดหุ้นไทย 30มิ.ย.60 ปิดช่วงบ่ายที่ระดับ 1,574.74 จุด ลดลง 3.38 จุด (-0.21%) มูลค่าการซื้อขาย 45,123.84 ล้านบาท
หลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 หลักทรัพย์ ได้แก่
PTT   มูลค่าการซื้อขาย 3,861.20 ล้านบาท ปิดที่  370.00 บาท  ลดลง 5.00 บาท             
KBANK มูลค่าการซื้อขาย 1,415.90 ล้านบาท ปิดที่  198.50 บาท  ลดลง 0.50 บาท
BANPU มูลค่าการซื้อขาย 1,346.17 ล้านบาท ปิดที่   16.60 บาท เพิ่มขึ้น 0.10 บาท
CPF   มูลค่าการซื้อขาย 1,240.24 ล้านบาท ปิดที่   24.80 บาท  ลดลง 0.20 บาท
AOT   มูลค่าการซื้อขาย 1,169.91 ล้านบาท ปิดที่   47.25 บาท ราคาไม่เปลี่ยนแปลง
นายณัฐชาต เมฆมาสิน ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ทรีนีตี้ กล่าวว่า ดัชนีฯเริ่มเด้งขึ้นในช่วงใกล้ปิดตลาดฯหลังจากที่ได้ปรับฐานระหว่างวัน มองเป็นการ Take Profit ธรรมดาไม่น่ากังวลอะไร เป็นแค่การเทรดดิ้งในช่วงสิ้นไตรมาส
         
ทั้งนี้ ในช่วงเช้ามีตัวเลขเศรษฐกิจจีน อย่างตัวเลข PMI ภาคการผลิตงวดมิ.ย. ออกมาดีกว่าตลาดคาดค่อนข้างมาก ส่วนช่วงบ่ายก็มีตัวเลขเศรษฐกิจไทยที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประกาศออกมาก็อยู่ในเกณฑ์กลาง ๆ ถึงดีเล็กน้อย โดยที่ดีเล็กน้อยเป็นเรื่องการบริโภคภายในประเทศที่ออกมาดี ทำให้คนคลายความกังวลไปได้บ้าง          
แนวโน้มการลงทุนในสัปดาห์หน้า นายณัฐชาต กล่าวว่า ตลาดฯคงจะแกว่งไซด์เวย์ โดยให้แนวรับ 1,565 จุด ส่วนแนวต้าน 1,590 จุด พร้อมมองกรอบแกว่งในเดือนก.ค.ทั้งเดือนจะมีแนวรับ 1,540 จุด ส่วนแนวต้าน 1,600 จุด
         
ปัจจัยที่น่าติดตามในสัปดาห์หน้า  เป็นตัวเลขเงินเฟ้อของไทยงวดเดือนมิ.ย.ที่จะประกาศในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ โดยให้รอดูว่าจะติดลบอีกหรือไม่ หลังจากที่เดือนพ.ค.เงินเฟ้อติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 1 ปีกว่า ซึ่งถ้างวดนี้ยังติดลบอีก ก็จะมีความเสี่ยงสูงขึ้นที่เงินเฟ้อจะอยู่ในระดับต่ำ
         
นอกจากนี้ ให้ติดตามรายงานผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) รอบล่าสุด   ซึ่งจะออกในคืนวันที่ 5 ก.ค.นี้(เวลาไทย) โดยในเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยคงจะไม่ Surprise แล้ว แต่ให้ติดตามดูรายละเอียดเกี่ยวกับเงินเฟ้อของสหรัฐฯที่ต่ำลงมาจากเป้า 2% แล้ว และให้รอดูการลงมติร่างกฏหมายเฮลท์แคร์ฉบับใหม่ของสหรัฐฯด้วย เพราะจะมีผลต่อการปฏิรูปภาษีของสหรัฐฯ และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของสหรัฐฯ ที่อาจล่าช้าได้