posttoday

“Libra”โซเซียลแบงกิ้ง เงินดิจิทัลครองโลก

09 กรกฎาคม 2562

3 ทางรอด รัฐบาล แบงก์ชาติ หรือ ธนาคารยุคเก่า คือ “เข้าไปร่วม” ใน “สภาลิบรา” สร้างเงินดิจิทัลของตัวเอง หรือ จุดจบแบบ “สมุดหน้าเหลือง”

3 ทางรอด รัฐบาล แบงก์ชาติ หรือ ธนาคารยุคเก่า คือ “เข้าไปร่วม” ใน “สภาลิบรา” สร้างเงินดิจิทัลของตัวเอง หรือ จุดจบแบบ “สมุดหน้าเหลือง”

************************

บทความ โดย...สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

สถาบันเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต จัดบรรยายพิเศษ เรื่อง Libra สกุลเงินเปลี่ยนโลกสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล โดย นายจิรายุส ทรัพย์ศรีโสภา ผู้เชี่ยวชาญทางการเงินดิจิทัล กล่าวว่า Libra ไม่ใช่ของ Facebook อย่างที่คนทั่วไปเข้าใจ แต่ “มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก”เป็นเพียงผู้ริเริ่ม โดยมี "สมาคมลิบรา" หรือ Libra Association ที่เข้ามาร่วมลงขันรายละ 100 ล้านดอล์ล่าสหรัฐฯ รวม 29 ล้านดอล์ล่าสหรัฐฯ จาก 29 บริษัท จดทะเบียนในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประเทศที่ขึ้นชื่อเรื่องกฎหมายทางการเงินเสรีที่สุดประเทศหนึ่งของโลก

ดังนั้นระบบการเงินในอนาคตไม่ได้อยู่กับสถาบันการเงิน หรือ ซีอีโอของธนาคารใดธนาคารหนึ่ง การโอนถ่ายเงินระหว่างประเทศจะทำได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง ระยะทางข้ามทวีปไม่ใช่ปัญหาหรืออุปสรรค ค่าธรรมเนียมต่างๆ หรือ ความจำเป็นต้องมีบัญชีธนาคาร ไร้ความหมาย เพราะสามารถยืนยันตัวตนบน เฟสบุ๊กได้ กลายเป็นว่า สมุด หรือ บัญชีธนาคาร ที่เคยเป็นกำแพงขวางกันจะสลายหายไป

นายจิรายุส กล่าวว่า Libra เงินดิจิทัลรูปแบบใหม่ทำให้การทำธุรกรรมง่ายๆเพียงปลายนิ้วโป้งสัมผัสบนสมาร์ทโฟน ง่ายดายเหมือนคลิกส่งสติกเกอร์หาเพื่อนบนไลน์ หรือ Facebook ดังที่ วีแชท หรือ Wechat โซเซียลมิเดียยอดนิยมของประเทศจีนได้ทำและล้ำหน้าไปก่อนแล้ว ความยุ่งยากที่เคยเจออย่างเช่น อัตราดอกเบี้ยของบัตรเครดิต หรือ บัตรเอทีเอ็ม ที่ต้องถือถุงเงินเดินทางไปเปิดบัญชีธนาคารที่สาขา หรือ ต้องเดินไปกดเงินสดที่ตู้เอทีเอ็ม แต่เงินดิจิทัลเพียงยืนยันตัวตนบนแพลตฟอร์มของ Libra ก็สามารถสั่งจ่ายซื้อของได้ โดยปราศจากปัญหาอัตราแลกเปลี่ยนด้วยซ้ำ

“Libra”โซเซียลแบงกิ้ง เงินดิจิทัลครองโลก

สำหรับความปลอดภัยทางไซเบอร์ Libra ใช้ระบบ Block chain ที่การันตีได้ว่า ไม่มีทางโดนแฮกค์ อย่างแน่นอน ที่สำคัญ Libra ไม่ใช่บริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นเจ้าของอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจว่า Facebook เป็นเจ้าของ แต่มีอีก 29 บริษัทเข้ามาลงขันหรือถือหุ้น ล้วนเป็นบริษัทมหาอำนาจทางเทคโนโลยี หรือ Digital Company อาทิ ebay , payPal , Mastercard , VISA , UEER ฯลฯ แต่ละบริษัทยักษ์มีเครือข่ายผู้ใช้บริการนับร้อยล้านคน ใช้ระบบโหวตเหมือนในสภา ดังนั้นไม่มีใครผูกขาด Libra ได้

สิ่งที่ทาง รัฐบาล หรือ สถาบันการเงินปัจจุบันกลัว คือ ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม ที่มีเม็ดเงินมหาศาลจะหายไป รวมถึงภาษีทางอ้อม ที่รัฐบาลจะได้รับย่อมสูญไปด้วย จึงเกิดแรงต้าน เพราะไลน์ มีผู้ใช้กว่า 40 ล้านคน ดังนั้นในอนาคตไลน์เพย์จะกลายเป็นธนาคารที่ใหญ่ที่สุด ถ้าไลน์ กับ Libra จับมือกัน ส่งสติกเกอร์หากันมาส่งเงินแทน ดังนั้นคนที่อยู่ห่างกันแค่ 100 เมตร หรือ ข้ามทวีป จะไม่มีปัญหา เรื่อง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ

ดังนั้น ทางรอดของรัฐบาล แบงก์ชาติ หรือ สถาบันการเงินยุคเดิม คือ ต้องเข้าไปร่วมในสภา Libra หรือ จะสร้างเงินดิจิทัลของตัวเอง แต่สิ่งที่จะพ่ายแพ้ คือ Effect Network ของ Facebook และพันธมิตร 29 บริษัทยักษ์ใหญ่ดิจิทัล

นายจิรยุส กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงหลีกเลี่ยงไม่ได้ แม้จะมีแรงต้านจากผู้เสียผลประโยชน์ เพราะ Libra คือ ทางเลือกใหม่ทางการเงิน ดังเช่น สมุดหน้าเหลือง กับ วิกิมิเดีย หรือ มือถือ โนเกีย 3310 ซีอีโอ คิดเพียงว่าจะทำอย่างไรให้โทรออก ฟังวิทยุ และ เล่นเกมงูได้ แต่ “สตีฟ จ็อบ” กลับคิดระบบ “โอเพ่นซอร์ส” ให้คนทั่วโลกมาช่วยคิดว่าใน “ไอโฟน” ควรมีอะไรบ้าง เช่น Google คิด ยูทูป หรือ Netflix ดูซีรี่ย์แบบไม่ต้องรอเป็นอาทิตย์ หรือฟังเพลงได้บนมือถือตามที่ต้องการ ดังเช่นระบบการเงินที่กำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไป นี่อาจเป็นจุดจบแบบเดียวกับ “สมุดหน้าเหลือง” หรือ “โนเกีย 3310” สิ่งที่ทำได้ ณ เวลานี้ คือ ชะลอ เพราะวันนี้ “ลิบรา” จาก “สระน้ำ” ของระบบเงินดิจิทัล กำลังกลายเป็น “มหาสมุทร” ที่คนทั่วโลกกำลังเข้าไปใช้

ดังนั้น Libra คือ “โซเซียลแบงก์กิ้ง” ทางมือถือการให้บริการจะแซงหน้า ธนาคารแบบเก่า เด็กยุคใหม่จะไม่รอเขียนเชค หรือ ไปสาขา ทุกอย่างจะพูดคุยผ่านทาง “เฟสบุ๊ก” ที่สำคัญระบบเดิมของธนาคารธรรมดาทั่วไปไม่อาจรองรับการโอนเงิน หรือ ลูกค้าที่มีจำนวนมหาศาลได้ ดังที่ Alipay ทำได้เพียงวันเดียวโอนเงินให้คนจีน 1.3 พันล้านคนจากกลยุทธการตลาด “อังเป่า อิเล็กทรอนิกส์” ผ่านแอปพลิเคชั่นในสมาร์ทโฟน Alipay และ Wechat ดังนั้น ลิบรา หรือ วีแชท และ อาลีเพย์ จะกลายเป็นแบงก์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในอนาคต และ ธนาคารเก่าจะหายไป

ดังนั้นมหาวิทยาลัยรังสิต จำเป็นต้องมีการปรับตัว ด้วยการเปิดสาขา Fin Tech , Block Chain และ Big Data ให้เด็กยุคใหม่มาเรียนเพราะมหาวิทยาลัยต้องเปลี่ยนให้ทันโลก การเรียนเศรษฐศาสตร์ หรือ ความรู้ทางการเงินแบบเดิมต้องเรียนต่อไป แต่ต้องมี “วิชาเสริม” เพื่อให้เด็กรุ่นใหม่มีทักษะตอบสนองกับตลาดการเงินดิจิทัลที่กำลังเปลี่ยนไป