posttoday

เงินบาทแข็งหุ้นไทยขึ้น มั่นใจการเมืองดอกเบี้ยลด

14 มิถุนายน 2562

เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบ 3 เดือนครึ่ง ขณะที่ ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวขึ้นท่ามกลางการคาดการณ์เรื่องการลดดอกเบี้ยของเฟดภายในปีนี้

เงินบาทแข็งค่าสุดในรอบ 3 เดือนครึ่ง ขณะที่ ดัชนีหุ้นไทยปรับตัวขึ้นท่ามกลางการคาดการณ์เรื่องการลดดอกเบี้ยของเฟดภายในปีนี้

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ธนาคารกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทรอบสัปดาห์นี้พบว่า ค่าเงินบาทแข็งค่าสุดในรอบ 3 เดือนครึ่ง ที่ 31.14 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาททยอยแข็งค่าขึ้น สอดคล้องกับแรงซื้อสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยของนักลงทุนต่างชาติในช่วงต้นสัปดาห์

ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ มีปัจจัยกดดันจากกระแสการคาดการณ์ถึงความเป็นไปได้ของการปรับลดดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) หลังจากที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงมีทิศทางที่อ่อนแอกว่าที่ตลาดคาด อาทิ เงินเฟ้อที่ชะลอลง และการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์

เงินบาทแข็งหุ้นไทยขึ้น มั่นใจการเมืองดอกเบี้ยลด

ทั้งนี้ในวันศุกร์ (14 มิ.ย.) เงินบาทอยู่ที่ 31.16 บาทต่อดอลลาร์ฯ แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับระดับ 31.37 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (7 มิ.ย.)

สำหรับสัปดาห์ถัดไป (17-21 มิ.ย.) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 31.00-31.40 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยปัจจัยในประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ผลการประชุมกนง. (19 มิ.ย.) และการจัดตั้งรัฐบาล ขณะที่ ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญ ได้แก่ สัญญาณเกี่ยวกับแนวโน้มดอกเบี้ยสหรัฐฯ จากผลการประชุมเฟด (18-19 มิ.ย.)

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ยังได้สรุปความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยในสัปดาห์นี้ ปรับขึ้นต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน โดยดัชนี SET ปิดที่ระดับที่ 1,672.33 จุด เพิ่มขึ้น 1.14% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 47,931.38 ล้านบาท ลดลง 6.94% จากสัปดาห์ก่อนสำหรับตลาดหลักทรัพย์ mai เพิ่มขึ้น 2.59% มาปิดที่ 355.84 จุด

ทั้งนี้ ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นเกือบตลอดสัปดาห์ โดยได้รับปัจจัยหนุนจากคาดการณ์เรื่องการลดดอกเบี้ยของเฟด และทิศทางการเมืองไทยที่ชัดเจนมากขึ้น ขณะที่นักลงทุนต่างชาติยังคงเข้าซื้อสุทธิหุ้นไทยอย่างต่อเนื่อง

เงินบาทแข็งหุ้นไทยขึ้น มั่นใจการเมืองดอกเบี้ยลด

สำหรับสัปดาห์ถัดไป (17-21 มิ.ย.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,650 และ 1,640 จุด ขณะที่ แนวต้านอยู่ที่ 1,685 และ 1,700 จุด ตามลำดับ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม คงได้แก่ การประชุมนโยบายการเงินของกนง. (19 มิ.ย.) การประชุมนโยบายการเงินของเฟด (18-19 มิ.ย.) ประเด็นสงครามการค้า