posttoday

ส่งสัญญาณคุมเข้มสินเชื่อ

09 กุมภาพันธ์ 2562

ธปท. จัดทำ แบบสำรวจภาวะและแนวโน้มสินเชื่อครอบคลุมทั้งด้านอุปทานของสินเชื่อ อุปสงค์ของสินเชื่อ และแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อในไตรมาสข้างหน้า

ธปท. จัดทำ แบบสำรวจภาวะและแนวโน้มสินเชื่อครอบคลุมทั้งด้านอุปทานของสินเชื่อ อุปสงค์ของสินเชื่อ และแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อในไตรมาสข้างหน้า

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้จัดทำ แบบสำรวจภาวะและแนวโน้มสินเชื่อ (Senior Loan Officer Survey) ซึ่งเป็น การสำรวจความคิดเห็นผู้บริหารระดับสูง ที่ดูแลงานด้านสินเชื่อของสถาบันการเงิน ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิต และธุรกิจ สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-Banks) โดยสำรวจเป็นประจำทุกไตรมาส เพื่อสร้างความ เข้าใจในการวิเคราะห์สินเชื่อที่ครบถ้วนและ ลึกซึ้งมากยิ่งขึ้น คำถามในแบบสำรวจ ครอบคลุมทั้งด้านอุปทานของสินเชื่อ อุปสงค์ของสินเชื่อ และแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อในไตรมาสข้างหน้า

สำหรับผลการสำรวจภาวะและแนวโน้ม สินเชื่อไตรมาส 4/2561

สินเชื่อภาคธุรกิจ : ความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจปรับเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในทุก ขนาดธุรกิจ ขณะที่สถาบันการเงินกำหนดมาตรฐานการให้สินเชื่อโดยรวมเข้มงวดขึ้นตามการเพิ่มความเข้มงวดกับกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่เป็นสำคัญ

ความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจในไตรมาส 4 ปี 2561 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน ตามความต้องการสินเชื่อของกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่และ SMEs ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าที่คาดไว้ โดยเฉพาะโครงการลงทุนขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพฯ เพื่อใช้ลงทุนสินทรัพย์ถาวรใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนและใช้ผลิตสินค้าคงคลังสะสมเป็นสำคัญ

นอกจากนี้ ธุรกิจส่วนหนึ่งหันมา ระดมทุนผ่านการขอสินเชื่อ เนื่องจากต้นทุนจากการออกหุ้นกู้ได้ทยอยปรับ เพิ่มขึ้นตามการคาดการณ์การขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ กนง. ขณะที่ธุรกิจ SMEs มีความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้น เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนเป็นสำคัญ โดยเฉพาะในกลุ่มสินค้าเกษตรและสินค้าแปรรูปเกษตร อาทิ อ้อย มันสำปะหลัง โดยมีปัจจัยบวกเพิ่มเติมจากความ ชัดเจนของการเลือกตั้งที่ช่วยเพิ่มความเชื่อมั่น

สำหรับไตรมาสแรกปี 2562 สถาบันการเงินคาดว่าความต้องการสินเชื่อธุรกิจมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นทั้งในกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ตามความชัดเจนของโครงการลงทุนภาครัฐ ทั้งโครงการลงทุนใน EEC โครงการรถไฟทางคู่และโครงการรถไฟ เชื่อม 3 สนามบิน ขณะที่ในกลุ่มธุรกิจ SMEs มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามความ ต้องการสินเชื่อของภาคเกษตรเป็นสำคัญ

ด้านมาตรฐานการให้สินเชื่อภาคธุรกิจในไตรมาส 4 ปี 2561 สถาบันการเงินระมัดระวังการให้สินเชื่อมากขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า โดยเฉพาะสินเชื่อ ที่ให้แก่ธุรกิจขนาดใหญ่ โดยปัจจัยหลักมาจากภาวะของอุตสาหกรรมและภาวะเศรษฐกิจทั่วไป

สำหรับไตรมาสแรกปี 2562 สถาบันการเงินคาดว่าจะเพิ่มความเข้มงวด โดยเฉพาะสินเชื่อที่ให้แก่ธุรกิจขนาดใหญ่ เนื่องจากเศรษฐกิจในปี 2562 มีแนวโน้ม ชะลอตัวและมีความกังวลต่อภาวะของบางอุตสาหกรรม อาทิ ปาล์มน้ำมัน ยางพารา เหล็ก

สินเชื่อภาคครัวเรือน : ความต้องการสินเชื่อภาคครัวเรือนปรับเพิ่มขึ้น จากไตรมาสก่อนในทุกวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ขณะที่สถาบันการเงินเพิ่มความเข้มงวดในการพิจารณาปล่อยสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ มากขึ้นเช่นกัน

ความต้องการสินเชื่อภาคครัวเรือน ในไตรมาส 4 ปี 2561 เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนในทุกวัตถุประสงค์ โดยเฉพาะใน สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์จากภาวะตลาดรถยนต์ที่ได้รับแรงสนับสนุนเพิ่มเติมจากงาน Motor Expo ในช่วงปลายปี 2561 เป็นสำคัญ ขณะที่ปัจจัยหลักที่ส่งผล ให้ความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิต เพิ่มขึ้น ได้แก่ การขอสินเชื่อเพื่อใช้ บริโภคทั่วไปและกลยุทธ์การขยาย ตลาดสินเชื่อรายย่อยของธนาคาร บางแห่ง

สำหรับไตรมาสแรกปี 2562 สถาบันการเงินคาดว่าความต้องการสินเชื่อภาคครัวเรือนจะเพิ่มขึ้นในกลุ่มสินเชื่อ เพื่อที่อยู่อาศัย เนื่องจากคาดว่าจะมีการเร่งโอนกรรมสิทธิ์ก่อนการบังคับใช้มาตรการ LTV ในวันที่ 1 เม.ย. 2562 ขณะ ที่สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์คาดว่าจะลดลง ตามการคาดการณ์ว่าตลาดรถยนต์ มีแนวโน้มจะขยายตัวชะลอลงในปีนี้

มาตรฐานการให้สินเชื่อภาคครัวเรือน ในไตรมาส 4 ปี 2561สถาบันการเงินเพิ่มความเข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อ ภาคครัวเรือน โดยเฉพาะสินเชื่อเช่าซื้อ รถยนต์ จากสัญญาณคุณภาพสินเชื่อ มีแนวโน้มด้อยลง ภาวะเศรษฐกิจที่มี แนวโน้มชะลอลง และความเสี่ยงของ หลักทรัพย์ค้ำประกันที่สูงขึ้น เนื่องจากธุรกิจให้เช่ารถยนต์ได้รับผลกระทบจากจำนวน นักท่องเที่ยวจีนที่ลดลงและตลาดรถยนต์มือสองมีแนวโน้มชะลอลง

สำหรับไตรมาสแรกปี 2562 สถาบันการเงินยังคงเพิ่มความเข้มงวดใน การปล่อยสินเชื่อในกลุ่มสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย