posttoday

ขู่ออกกฎคุมปล่อยเงินกู้บ้าน

20 กันยายน 2561

ธปท.เผยตลาดแข่ง สินเชื่อที่อยู่อาศัยดุจนน่าห่วง เตรียมมาตรการไมโคร-แมคโครเข้าดูแล

ธปท.เผยตลาดแข่ง สินเชื่อที่อยู่อาศัยดุจนน่าห่วง เตรียมมาตรการไมโคร-แมคโครเข้าดูแล

นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กนง.เป็นห่วงการแข่งขันในตลาดสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย ที่สูงขึ้น จนมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อด้อยลง ดังนั้น ธปท.จะใช้มาตรการเบา (Micro-Prudential) ในการกำกับดูแลสินเชื่อที่อยู่อาศัยก่อน แต่หากสัญญาณความเสี่ยงยังไม่คลี่คลายก็จะพิจารณาใช้มาตรการกำกับดูแล (Macro-Prudential) ที่ใหญ่กว่าก็เป็นได้

ทั้งนี้ สัญญาณความเสี่ยงสินเชื่อ ที่อยู่อาศัยยังไม่ลดลง สถาบันการเงินแข่งขันปล่อยกู้ในเงื่อนไขที่ผ่อนปรนมากขึ้น เช่น การขยายอายุการกู้ยืมออกไป เพื่อให้งวดการผ่อนในแต่ละเดือนลดลง รวมทั้งพบว่ายังปล่อยวงเงินต่อหลักประกัน (LTV) เกินกว่า 90% เพิ่มขึ้น ต่อเนื่อง สะท้อนการประเมินความเสี่ยงที่ต่ำเกินไป โดย ธปท.ต้องการให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อด้วยมาตรฐานที่ดี ไม่แข่งขันจนไปผ่อนปรนหลักเกณ์ฑต่างๆ

"ในอดีต ธปท.เคยนำมาตรการ Macro-Prudential มาใช้กำกับดูแลการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัย โดยให้เพิ่มค่าความเสี่ยงการปล่อยสินเชื่อ (Risk Rate) สำหรับสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่ให้ LTV สูง" นายจาตุรงค์ กล่าว

อย่างไรก็ดี จนถึงขณะนี้สัญญาณความเปราะบางสินเชื่อที่อยู่อาศัยไม่ ลดลง หลังจากที่ถูกพูดถึงครั้งแรกในการประชุมร่วม กนง.-กนส.เมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา และครั้งที่ 2 ในการประชุม กนง.เมื่อวันที่ 8 ส.ค. และล่าสุดในการประชุม กนง. วันที่ 9 ก.ย. ยังไม่เห็นการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขที่รวดเร็วนัก

นายจาตุรงค์ กล่าวว่า การแสวงหาผลตอบแทนสูงขึ้น (Search for Yeild) ยังมีจุดเสี่ยงที่ถูกยกขึ้นมาพูดในที่ประชุม กนง.ครั้งนี้ คือ ประเด็นของสหกรณ์ ออมทรัพย์ ที่พบว่าเงินฝากและสินเชื่อขยายตัวอย่างมาก เพราะดอกเบี้ยเงินฝาก ของสหกรณ์ออมทรัพย์สูงกว่าดอกเบี้ยที่สถาบันการเงินให้ ทำให้สหกรณ์ต้องนำเงินทุนไปแสวงหาประโยชน์ที่สูงขึ้น ทั้งการนำไปลงทุน และนำไปปล่อยสินเชื่อ อาจสร้างความเปราะบางต่อระบบการเงินได้ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ความเปราะบางในเชิงปริมาณ ภาวะหนี้ครัวเรือนอัตรา การขยายตัวไม่สูงเมื่อเทียบกับในอดีต โดยในอดีตการก่อหนี้เคยสูงเกิน 10% แต่ปัจจุบันต่ำกว่า 10% แต่ทิศทางการ ก่อหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากครัวเรือนหารายได้เพิ่มขึ้นทันการก่อหนี้และมีความสามารถในการชำระหนี้ก็ไม่น่ากังวล หนี้ครัวเรือนในไตรมาส 1/2561 อยู่ที่ 77.6% จากเคยสูงสุด 82% ส่วนเชิงคุณภาพหนี้ ต้องไปดูแลการปล่อยสินเชื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน