posttoday

สศค.เดินหน้าภาษีลาภลอย

12 ธันวาคม 2560

สศค.สรุปความเห็นร่างภาษีลาภลอยกับร่างทรัพย์อิงสิทธิ เสนอ สนช.ประกอบการพิจารณา

สศค.สรุปความเห็นร่างภาษีลาภลอยกับร่างทรัพย์อิงสิทธิ เสนอ สนช.ประกอบการพิจารณา

รายงานข่าวจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า หลังจาก สศค.ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติภาษีการได้รับประโยชน์จากการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของรัฐ พ.ศ. ... (ภาษีลาภลอย) เมื่อวันที่ 18 พ.ค.-15 มิ.ย. 2560 และวันที่ 12-26 ก.ค. 2560 รวม 44 วัน มีผู้แสดงความคิดเห็นที่เป็นเอกชนและประชาชนรวม 4 ราย จากนี้จะนำผลการรับฟังความคิดเห็นมาประกอบการพิจารณาจัดทำร่างกฎหมาย และเสนอผลการรับฟังความคิดเห็นต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อประกอบการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ภาษีลาภลอย

ทั้งนี้ ข้อกังวลและข้อเสนอแนะที่ สศค.จะพิจารณานำไปปรับปรุงร่างกฎหมายให้มีความสอดคล้องและเหมาะสมเช่น กรณีทรัพย์สินด้อยคุณภาพของธนาคาร ที่ส่วนต่างมูลค่าที่ดินหรือห้องชุดที่เพิ่มขึ้นจากการพัฒนาโครงการรวมกับราคาขาย หรือราคาที่คาดว่าจะขายแล้วมีมูลค่าน้อยกว่าหนี้ที่ลูกค้านำทรัพย์สินดังกล่าวมาเป็นหลักประกันจากการกู้ยืมเงินกับธนาคาร  หรือต้นทุนที่ธนาคารได้ทรัพย์สินนั้นมา กรณีเอ็นพีเอดังกล่าวไม่ควรต้องเสียภาษี ซึ่ง สศค.ชี้แจงว่า ร่างกฎหมายดังกล่าวจะกำหนดให้จัดเก็บภาษีจากผู้ที่ได้รับประโยชน์จากมูลค่าที่ดินหรือห้องชุดที่เพิ่มขึ้นจากรอบโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของรัฐเท่านั้น

“ประเด็นและมาตรการที่เกี่ยวข้องในการแสดงความเห็นครั้งนี้มีอยู่ 6 เรื่องสำคัญ คือ เรื่องหลักการจัดเก็บภาษี เรื่องการนำส่งรายได้จากการจัดเก็บภาษี เรื่องทรัพย์สินที่ต้องเสียภาษี เรื่องการกำหนดให้กรมสรรพากรเป็นหน่วยงานรับผิดชอบการจัดเก็บภาษี โดยมอบอำนาจให้กรมที่ดินและองค์กรปครองส่วนท้องถิ่นจัดเก็บภาษีแทน เรื่องการคำนวณฐานภาษี และเรื่องเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษี” แหล่งข่าวระบุ

นอกจากนี้ สศค.ยังสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. ... ที่เปิดรับฟังความเห็นวันที่ 18 พ.ค.-1 มิ.ย. 2560 และได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาต่อเนื่อง จากนั้นจะนำสรุปผลความคิดเห็นเสนอต่อ สนช. โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ เช่น คำนิยามของทรัพย์อิงสิทธิเพื่อให้เกิดความชัดเจนเรื่องการก่อภาระผูกพันในอสังหาริมทรัพย์ที่จะนำไปจดทรัพย์อิงสิทธิ ประเด็นเรื่องการใช้คำว่าขายในร่าง พ.ร.บ. โดยผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิ