posttoday

ทำอย่างไร…เมื่อพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนติดลบ

05 มิถุนายน 2562

การบริหารพอร์ตลงทุนที่ติดลบไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้ลงทุนต้องวางแผนกลยุทธ์ ด้วยข้อมูลเชิงลึกทันสมัยอย่างรอบด้าน

การบริหารพอร์ตลงทุนที่ติดลบไม่ใช่เรื่องง่าย ผู้ลงทุนต้องวางแผนกลยุทธ์ ด้วยข้อมูลเชิงลึกทันสมัยอย่างรอบด้าน

*************************

คอลัมน์ ตลาดนัดการเงิน โดย...ปริยดา สงวนหล่อสิทธิ์ AFPTTM ที่ปรึกษาบริหารทรัพย์ลูกค้าบุคคลอาวุโสธนาคารกสิกรไทย

เชื่อว่านักลงทุนหลายท่านเคยผ่านประสบการณ์การลงทุนไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่งทั้งกำไรและขาดทุน และคำพูดที่ว่า “High Risk High Return” คงคุ้นหูใครหลายๆคน โดยเฉพาะนักลงทุนที่ต้องการผลตอบแทนที่สูง แต่ก็มีโอกาสที่จะขาดทุนจากความเสี่ยงจะสูงขึ้นได้เช่นกัน หากนักลงทุนต้องลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงสูงจะมีโอกาสที่ผลตอบแทนจะติดลบได้ ในช่วงเวลาหนึ่ง

ทั้งนี้ หากมองย้อนไปจะพบว่า สาเหตุที่นักลงทุนเจอภาวะขาดทุนจากสินทรัพย์เสี่ยง อาจเกิดจากเหตุผลหลายประการ

• ผู้ลงทุนเลือกลงทุนในกองทุนที่ไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์หรือระยะเวลาการถือครอง เช่น การลงทุนบางกองทุนต้องใช้ระยะเวลาถือครองยาวเพื่อเพิ่มผลตอบแทนและลดความผันผวนลงแต่นักลงทุนอาจสนใจการทำกำไรในระยะสั้น

• ขาดความรู้ / ขาดการศึกษาข้อมูลที่เพียงพอ การเลือกลงทุนเฉพาะสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงเพื่อหวังผลตอบแทนสูงๆ การลงทุนเงินทั้งก้อนในคราวเดียว การลงทุนเฉพาะในสินทรัพย์ใดสินทรัพย์หนึ่ง กองทุนใดกองทุนหนึ่งหรือหลายกองทุนแต่มีนโยบายการลงทุนที่เหมือนกัน

• กองทุนที่ติดลบในช่วงต้นอาจเกิดจากนโยบายกองทุนมีค่าธรรมเนียม การเคลื่อนไหวของสินทรัพย์เปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็วจากปัจจัยต่างๆ

จะทำอย่างไร เมื่อพอร์ตฯการลงทุน ที่นักลงทุนเลือกลงทุนติดลบ นักลงทุนโดยส่วนมากมักจะให้ความสำคัญที่เรื่องกำไรขาดทุนจากพอร์ตฯเป็นหลัก เพราะสามารถมองเห็นได้ชัดเจนที่สุดสิ่งที่แนะนำ คือกลยุทธ์ที่เรียกว่า 3 ถ. คือ 1.ถือ 2. ถัว และ 3.ถอย แต่จะใช้กลยุทธ์ไหนในการจัดการกับพอร์ตฯ ที่ติดลบ ก็ต้องคำนึงถึงหลายๆปัจจัยด้วย เช่น ภาวะเศรษฐกิจหรือปัจจัยพื้นฐาน เทคนิคการจับจังหวะการลงทุน เหตุการณ์ต่างๆ ช่วงราคาที่นักลงทุนได้ลงทุน ยกตัวอย่างการลงทุนแต่ละประเทศเช่น

ทำอย่างไร…เมื่อพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนติดลบ

ทำอย่างไร…เมื่อพอร์ตการลงทุนของนักลงทุนติดลบ

โดยสรุป การลดโอกาสติดลบของพอร์ตฯ

• การกระจายในหลายๆสินทรัพย์ก็เป็นอีกวิธี ที่สามารถลดโอกาสการติดลบของพอร์ตฯลงได้ โดยนักลงทุนควรศึกษาข้อมูล นโยบายการลงทุนในเบื้องต้น จากหนังสือชี้ชวน งบการเงินของบริษัท / อุตสาหกรรมที่ลงทุน

• ทั้งนี้ นักลงทุนอาจเลือกลงทุนเพิ่มหรือการทยอยเข้าลงทุน เพื่อเฉลี่ยต้นทุน การลงทุนเพิ่มในกองทุนที่มีปัจจัยพื้นฐานดีมีโอกาสเติบโตสูงในช่วงที่มีการย่อตัวของ NAV นั้น สามารถช่วยลดการติดลบของพอร์ตฯ หากตลาดกลับตัวขึ้นมาได้ ผลการดำเนินงานก็จะปรับตัวกลับขึ้นมาได้เช่นกัน

เทคนิคหรือการจับจังหวะการลงทุนในกราฟ เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือนึงที่น่าสนใจ เมื่อดัชนีถึงจุดไหนควรลงทุน หยุด หรือควรถือต่อ (แนวรับ-แนวต้าน) ส่วนวัตถุประสงค์หรือระยะเวลาในการถือครองสินทรัพย์ ก็จะเป็นเรื่องของความชอบส่วนบุคคล ลูกค้าบางคนเน้นลงทุนระยะสั้น ซื้อสินทรัพย์ราคาถูกและขายเมื่อมีกำไรในระยะสั้น บางกลุ่มก็เน้นลงทุนระยะยาว เพราะเชื่อมั่นถึงการเติบโตของสินทรัพย์ และอาจไม่มีเวลามาจับตาการขึ้นลงของราคารายวัน ทั้งนี้หากนักลงทุนมีการลงทุนในกองทุนที่ปัจจุบันปัจจัยพื้นฐานไม่ดีแล้ว แนวโน้มทรงตัวหรือเป็นขาลงในระยะยาว นักลงทุนควรตัดสินใจขายกองทุน เพื่อไม่ให้ขาดทุนเพิ่มมากขึ้น หรือเปลี่ยนไปลงทุนในกองทุนที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า ดังนั้น ถ.สุดท้าย การถอยหรือที่เรียกว่า ตัดขาดทุน อาจเป็นทางเลือกหนึ่ง

จะเห็นว่าการเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่มีปัจจัยพื้นฐานดี มีการเติบโตสูง ศึกษาข้อมูลก่อนการลงทุน และจับจังหวะการลงทุนนั้น เป็นสิ่งที่นักลงทุนสามารถพิจารณาและนำมาปรับใช้สำหรับพอร์ตฯเดิมที่ติดลบไปแล้ว นอกจากนี้ นักลงทุนยังสามารถลดความเสี่ยงจากการขาดทุนได้ในอนาคต โดยการกระจายในสินทรัพย์หลายๆประเภท หรือเลือกลงทุนในผลิตภัณฑ์ที่มีความสัมพันธ์กับตลาดต่ำไปกับความผันผวนของตลาด การเลือกกองทุนที่มีการป้องกันอัตราแลกเปลี่ยนตามภาวะตลาด หรือลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอื่นในภาวะที่มีความเสี่ยงของตลาดทั่วโลก รวมถึง หากนักลงทุนสามารถถือลงทุนได้ยาว จะเพิ่มโอกาสได้ผลตอบแทนสูงขึ้สน และลดโอกาสขาดทุนลงได้