posttoday

การลงทุนแบบคำนึงผลกระทบเชิงบวก (Impact Investing)

29 เมษายน 2562

การลงทุนแบบคำนึงถึงผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถที่จะสร้างผลกระทบต่อโลก และให้ผลตอบแทนสูง จนนักลงทุนไม่สามารถมองข้ามได้อีกต่อไป

การลงทุนแบบคำนึงถึงผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถที่จะสร้างผลกระทบต่อโลก และให้ผลตอบแทนสูง จนนักลงทุนไม่สามารถมองข้ามได้อีกต่อไป

********************

คอลัมน์ รู้รอบโลก รู้รอบรวย โดย...ตรีพล ภูมิวสนะ ผู้บริหารกลุ่มธุรกิจบริการไพรเวทแบงก์ ธนาคารกสิกรไทย

ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมานักลงทุนหลายท่านคงเคยได้ยินแนวทางการลงทุนแบบมีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมมากขึ้น หรือที่อาจจะคุ้นเคยกันอย่างดีคือ การลงทุนในบริษัทที่มีธรรมาภิบาลที่ดี ซึ่งหลายปีที่ผ่านมากองทุนหลายกองทุนเริ่มมีการคัดกรองหุ้นที่จะต้องมีธรรมาภิบาลที่ดี นอกเหนือไปจากนั้นต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อมด้วย

ในที่นี้จะกล่าวถึงการลงทุนที่นอกจากจะต้องดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับความรับผิดชอบดังกล่าวแล้ว ยิ่งไปกว่านั้นต้องดำเนินธุรกิจที่ต้องสร้างผลกระทบเชิงบวก และสร้างผลกำไรควบคู่กันไป พร้อมทั้งสามารถที่จะวัดผลกระทบที่ออกมาเป็นปริมาณได้ด้วย

การลงทุนแบบคำนึงผลกระทบเชิงบวก (Impact Investing)

กองทุนลักษณะดังกล่าวเริ่มเป็นที่นิยมแพร่หลายในต่างประเทศ โดยเฉพาะในยุโรปเป็นทวีปแรกๆ ที่ให้ความสำคัญผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคมมากเป็นอย่างสูง ในช่วงต้นมีผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า บริษัทที่ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน มีตัวชี้วัดผลการดำเนินงาน เช่น Return on Equity (ROE) หรือ Return on Assets (ROA) ได้ดีกว่าบริษัทที่ให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าวน้อยกว่า

ยิ่งไปกว่านั้นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจที่สร้างผลกระทบเชิงบวกไม่ว่าจะเป็นต่อสังคม หรือสิ่งแวดล้อมนั้น ล้วนแล้วแต่ต้องมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ถึงการเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ยกตัวอย่าง เช่น พลังงานทางเลือกที่ถือว่าสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก สามารถสร้างผลกำไรควบคู่ไปกับการลดมลภาวะสิ่งแวดล้อม

อีกสาเหตุหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือ รถยนต์ไฟฟ้า ที่ในช่วงแรกอาจจะยังไม่เป็นที่นิยม และอาจจะต้องใช้เวลานานกว่าจะเป็นที่ยอมรับ หรือเป็นไปไม่ได้ในทางปฏิบัติ แต่เทคโนโลยีในยุคนี้ที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งโครงสร้างพื้นฐานได้เอื้อประโยชน์อย่างมาก กลับกลายเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว และสามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ในที่สุด สุดท้ายแล้วส่งผลให้ราคาหุ้นของบริษัทเหล่านี้ปรับตัวขึ้นอย่างมาก และรวดเร็ว สาเหตุจากการเล็งเห็นแนวโน้มอนาคต และเริ่มดำเนินการเป็นกลุ่มแรกๆ ก่อนที่ตลาดจะเริ่มตระหนักถึง

การลงทุนแบบคำนึงผลกระทบเชิงบวก (Impact Investing)

KBank Private Banking ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญต่อสิ่งแวดล้อม และสังคม ขณะเดียวกันนักลงทุนต้องได้รับผลตอบแทนที่ดีควบคู่กันไปด้วย ดังเช่นกองทุน K Positive Change Equity (K-Change) ที่จะเริ่ม IPO ในวันที่ 30 เม.ย. – 14 พ.ค. นี้ ลงทุนในกองทุน Baillie Gifford Positive Change ที่มีหลักการการคัดเลือกหุ้นเข้ามาลงทุนต้องเป็นบริษัทมีความสามารถในการแข่งขันสูง มีการอัตราการเติบโตทางกำไรสูง พร้อมทั้งต้องสร้างผลกระทบเชิงบวก (Positive Impact) เพื่อช่วยเปลี่ยนแปลงโลกให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน

ยกตัวอย่างเช่น บริษัท Tesla ที่ผลิตรถไฟฟ้า สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ หรือ ธนาคาร Rakyat Indonesia ที่ให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้ง่ายขึ้น สำหรับผู้ที่อยู่ห่างไกล และผู้ที่มีรายได้น้อย สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม ให้ประชาชนมีชีวิตที่ดีขึ้น

ยิ่งไปกว่านั้นผลการดำเนินงาน ของกองทุนนี้ย้อนหลังตั้งแต่จัดตั้งกองเมื่อวันที่ 31 ม.ค. 2017 จนถึงวันที่ 28 ก.พ. 2019 อยู่ที่ 58.6% ขณะที่ดัชนีให้ผลการดำเนินงาน 14.0% พิสูจน์ให้เห็นว่าการลงทุนแบบคำนึงถึงผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม สามารถที่จะสร้างผลกระทบต่อโลก และให้ผลตอบแทนที่ดีควบคู่กันไปด้วยเช่นเดียวกัน