posttoday

"เอสพีซีจี"จับมือ 3 บริษัทยักษ์ใหญ่เท3 หมื่นล้านร่วมธุรกิจโซลาร์รูฟในไทย

22 กรกฎาคม 2562

SPCG จับมือ MUL, PEA ENCOM และ KYOCERA สามบริษัทยักษ์ใหญ่ทุ่ม 3 หมื่นล้านร่วมธุรกิจโซลาร์รูฟในไทย

SPCG จับมือ MUL, PEA ENCOM และ KYOCERA สามบริษัทยักษ์ใหญ่ทุ่ม 3 หมื่นล้านร่วมธุรกิจโซลาร์รูฟในไทย

เมื่อวันที่ 22 ก.ค.ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) หรือ SPCG พร้อมด้วย Mr.Koji Nemoto, Managing Executive Officer, Mitsubishi UFJ Lease & Finance Company Limited หรือ MUL นายเขมรัตน์ ศาสตร์ปรีชารักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท พีอีเอ เอ็นคอม อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด หรือ PEA ENCOM และ Mr. Masaki Tamagawa, General Manager Sales Division Corporate Solar Energy Group, KYOCERA Corporation, Japan หรือ KYOCERAได้ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Roof) เพื่อเพิ่มศักยภาพและโอกาสการลงทุนด้านธุรกิจโซลาร์รูฟในประเทศไทยณ ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ เซ็นทรัลพลาซา ลาดพร้าว

"เอสพีซีจี"จับมือ 3 บริษัทยักษ์ใหญ่เท3 หมื่นล้านร่วมธุรกิจโซลาร์รูฟในไทย

ดร.วันดี กล่าวว่า เนื่องจาก SPCG ในฐานะผู้บุกเบิกธุรกิจด้านการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ ในรูปแบบโซลาร์ฟาร์ม และ โซลาร์รูฟรายแรกของประเทศไทยและประชาคมอาเซียน ได้เล็งเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในปัจจุบันที่จะเข้ามามีบทบาทอย่างมากในอนาคตอันใกล้ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Roof) เพื่อสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังเกิดความเชื่อมั่นและมองเห็นถึงโอกาสในการพัฒนาและขยายฐานธุรกิจด้านการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Roof) จึงได้เกิดความร่วมมือในครั้งนี้ โดยทุกฝ่ายได้เล็งเห็นถึงศักยภาพและความสามารถของแต่ละหน่วยงาน ซึ่งการร่วมมือในครั้งนี้เป็นการร่วมทุนแบบกิจการร่วมค้า (Joint Venture)

ทั้งนี้ การร่วมมือในโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาครั้งนี้ จะเน้นไปที่ลูกค้ากลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม (Industrial) เป็นหลัก เนื่องจากในแต่ละวันโรงงานอุตสาหกรรม มีการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ทำให้การลดต้นทุนด้านค่าไฟฟ้าของโรงงานอุตสาหกรรม กลายเป็นปัจจัยอันดับต้นๆ ที่หลายโรงงานกำลังเผชิญอยู่ การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาจะเข้ามามีส่วนในการช่วยเหลือโรงงานอุตสาหกรรมทั้งในเชิงการผลิตและการลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้าได้เป็นอย่างมาก อีกทั้งยังมีส่วนช่วยเหลือในการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Co2 ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดปัญหาภาวะโลกร้อนอีกด้วย

ดร.วันดี ยังว่า การร่วมธุรกิจในครั้งนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของบริษัท ซึ่งหน้าที่หลักของเราคือการแสวงหาประโยชน์สูงสุดให้กับลูกค้า และบริการลูกค้าแบบ one stop service ตั้งแต่เริ่มติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (Solar Roof) ไปจนถึงการดูแลสนับสนุนลูกค้าภายหลังจากการติดตั้ง รวมไปถึงการให้บริการหลังการขายสำหรับลูกค้าอย่างเต็มประสิทธิภาพ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการทำงานและการบำรุงรักษาของระบบพลังงานมีประสิทธิภาพสูงสุด

"เอสพีซีจี"จับมือ 3 บริษัทยักษ์ใหญ่เท3 หมื่นล้านร่วมธุรกิจโซลาร์รูฟในไทย

ด้าน Mr. Nemoto กล่าวว่า MUL เป็นบริษัทการเงินใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นที่ให้ความสำคัญในด้าน สิ่งแวดล้อมและพลังงานเป็นอันต้นๆดำเนินการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นโดยมีขนาดรวมประมาณ 400 เมกะวัตต์ จากที่ได้ทำการศึกษาโครงการบวกกับฐานลูกค้าของเราที่มีอยู่ในประเทศไทยจึงได้ตัดสินร่วมมือกับ SPCG, PEAENCOM และ KYOCERAโดยได้มองเห็นถึงจุดแข็งของแต่ละบริษัทที่มีในประเทศไทย ซึ่งเป็นตลาดพลังงานทดแทนที่เรามีฐานลูกค้าอยู่

“MUL คิดว่าการรวมความรู้และความสามารถของทั้ง 4 บริษัท ทำให้เราสามารถให้บริการที่มีคุณภาพและรวดเร็วแก่ลูกค้าได้ และกลายเป็นบริษัทชั้นนำในตลาด PPA ของประเทศไทย ส่วนเป้าหมายเริ่มแรกของเราคือตั้งเป้าการบริการให้ได้จำนวน100 MW ซึ่งบทบาทของเราจะเป็นการช่วยระดมทุนและพัฒนาธุรกิจซึ่งเป็นจุดแข็งของเรา” Mr.Nemotoกล่าว

ด้าน นายเขมรัตน์ กล่าวว่า การร่วมพัฒนาธุรกิจในครั้งนี้ ถือเป็นการนำศักยภาพของทั้ง 4 บริษัทมาพัฒนาโครงการผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์บนหลังคา โดย PEA ENCOM มีแผนดำเนินการด้านการลงทุนดังกล่าวเช่นกัน ซึ่งปัจจุบันมีกลุ่มลูกค้าที่มีความเชื่อถือในภาพลักษณ์ของ PEA ENCOM ที่เป็นบริษัทในเครือของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) ในด้านความมั่นคง ความน่าเชื่อถือและมาตรฐานและความปลอดภัยด้านการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์บนหลังคา

"เอสพีซีจี"จับมือ 3 บริษัทยักษ์ใหญ่เท3 หมื่นล้านร่วมธุรกิจโซลาร์รูฟในไทย

“การร่วมพัฒนาธุรกิจในครั้งนี้ในระยะแรกจะมุ่งเน้นกลุ่มลูกค้าหรือนักลงทุนในภาคอุตสาหกรรมจากประเทศญี่ปุ่นที่มีการตั้งฐานการผลิตในประเทศไทย เป็นที่ทราบดีว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยใน 20 กว่าปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งได้ถูกขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น การร่วมพัฒนาธุรกิจของทั้ง 4 บริษัทในครั้งนี้ จะเป็นแรงผลักดันและกระตุ้นการส่งเสริมการใช้ระบบผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์บนหลังคา ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดในประเทศไทยให้มากยิ่งขึ้นและยั่งยืนต่อไป” นายเขมรัตน์กล่าว

ด้าน Mr.Tamagawa กล่าวว่า KYOCERA เป็นผู้ผลิตแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีประสบการณ์มากกว่า 30 ปี ได้คุณภาพมาตรฐานระดับโลก เราจะทำหน้าที่จัดหาและสนับสนุนแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่มีคุณภาพสูง และเหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า ซึ่งการร่วมพัฒนาธุรกิจในครั้งนี้ ทุกบริษัทล้วนแล้วแต่มีจุดแข็งและความสามารถในด้านที่ต่างกันออกไป ซึ่งถือเป็นโอกาสที่ดี

สำหรับ ความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการร่วมทุนแบบกิจการร่วมค้า (Joint Venture) และจัดตั้งบริษัทใหม่สัดส่วนการถือหุ้นแบ่งเป็น SPCG Public Company Limited (SPCG) ร้อยละ 35, Mitsubishi UFJ Lease & Finance Company Limited (MUL) ร้อยละ 35, Pea Encom International Co., Ltd.(PEA ENCOM)ร้อยละ 20 และKyocera Corporation, Japan (KYOCERA) ร้อยละ 10 หลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ก็จะมีการจัดตั้งบริษัทร่วมกันภายในวันที่ 31 ก.ค.2562

"เอสพีซีจี"จับมือ 3 บริษัทยักษ์ใหญ่เท3 หมื่นล้านร่วมธุรกิจโซลาร์รูฟในไทย

"เอสพีซีจี"จับมือ 3 บริษัทยักษ์ใหญ่เท3 หมื่นล้านร่วมธุรกิจโซลาร์รูฟในไทย