posttoday

เผย3ปัจจัยทำเงินบาทแข็ง

04 ตุลาคม 2553

บล.กรุงศรีชี้ 3ปัจจัยหลักทำเงินบาทแข็งค่าถึงสิ้นปี 53

บล.กรุงศรีชี้ 3ปัจจัยหลักทำเงินบาทแข็งค่าถึงสิ้นปี 53

บล.กรุงศรีอยุธยา(AYS)ได้ออกบทวิเคราะห์ ว่าตั้งแต่สิ้นปี 52 ค่าเงินเยนได้แข็งค่ามากสุดในรอบ 15 ปี และสูงสุด ในภูมิภาคเอเชีย(+20.1%) ตามมาด้วยริงกิตมาเลเซีย (+11.5%) และ เงินบาทแข็งค่ามากเป็นอันดับสาม สาเหตุจากการไหลเข้าของเม็ด เงินทุนจากต่างประเทศโดยในตลาดตราสารหนี้(พันธบัตรรัฐบาล และหุ้นกู้เอกชน) โดยนักลงทุนต่างชาติเข้าซื้อสุทธิจากสิ้นปี 52 ถึงปัจจุบัน 1.84  แสนล้านบาทและในตลาดทุน (หุ้น) นักลงทุนต่าง ชาติซื้อสุทธิ 3.54
หมื่นล้านบาท รวม 2 ตลาดมีเม็ดเงินซื้อสุทธิ 2.2 แสนล้านบาท 

คาดการณ์ว่า ค่าเงินบาทจะมีทิศทางการแข็งค่าต่อ เนื่องไปอย่างน้อยอีก 3 เดือน ด้วยเหตุผลดังนี้

1. จีดีพีไทยและภูมิภาคเติบโตสูงกว่าสหรัฐฯและยุโรป ประมาณ การเศรษฐกิจไทยและในภูมิภาค (Appendix 1) แสดงอัตราการ เติบโตที่สูงและต่อเนื่องในปี 54ขณะที่การเติบโตทางเศรษฐกิจใน สหรัฐและยุโรปยังมีทิศทางอ่อนแอ

2. อัตราดอกเบี้ยไทยยังมีทิศทางขาขึ้น อย่างน้อยอีก 0.25% ใน ไตรมาส 4/53(ปัจจุบัน R/P-1 วันที่ 1.75%) ด้วยวงจรเศรษฐกิจ เข้าสู่การเติบโตแต่อัตราดอกเบี้ยแท้จริงไทยที่ยังติดลบ (-1.55%) จะส่งผลกระทบที่ตามมา ด้วยแนวโน้มดอกเบี้ยไทยขาขึ้นในขณะ ทีสหรัฐฯและยุโรปมีทิศทางยังทรงตัวเนื่องจากต้องการกระตุ้น ระบบเศรษฐกิจเป็นการเพิ่มแรงดึงดูดต่อเม็ดเงินต่างชาติใหม่เข้า สู่ตลาดการลงทุนไทยอัตราผลตอบแทนตราสารหนี้ไทยปัจจุบัน ยังสูงกว่าสหรัฐฯโดยพันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 5 ปีมีส่วนต่าง 1.53% และ 10 ปีมีส่วนต่าง 0.64%

3. ดุลบัญชีเดินสะพัดไทยจะเกินดุลทั้งปี 53 เป็นอย่างน้อย การ เกินดุลบัญชีฯเป็นหนึ่งในภาพที่สะท้อนถึงความเชื่อมั่นในด้าน ความมั่งคั่งและเชื่อมั่นของประเทศ ยอดเกินดุลการค้าเป็นหนึ่ง ในปัจจัยหลักต่อการเกินดุลบัญชีฯ ไทยพึ่งพาการส่งออกต่อการ เติบโตทางเศรษฐกิจมีสัดส่วนสูงถึง 59% (เฉลี่ยย้อนหลัง16 ปี) ของจีดีพีและมียอดเกินดุลบัญชีฯมาตลอด 10 ปี (ยกเว้นในปี 47) ด้วยผลกระทบค่าเงินบาทแข็งค่าอาจส่งผลกระทบต่อดุลการค้าแคบลง ซึ่งคาดว่าจะเห็นผลในไตรมาส 4/53 แต่ทั้งปี 53 คาดการณ์จะการ เกินดุล คาดว่าจะเป็นเหตุให้ค่าเงินบาทจะยังคงแนวโน้มที่แข็งค่า

อย่างไรก็ตามค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นนั้นทางEXIM Bank ประเมินธุรกิจส่งออกไทยจะสูญเสียความได้เปรียบจากค่า เงินบาทแข็งค่าขึ้น +8.6% เมื่อเทียบกับสกุลเงินคู่แข่งสำคัญของไทย ที่แข็งค่าขึ้นน้อยกว่าเมื่อเทียบกับสกุลดอลลาร์สหรัฐฯ เช่นเป็นประเด็นที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าผู้ประกอบการที่เน้นส่งออกจะเกิดผลกระ ทบด้านรายได้และต้นทุน ด้วยเงินบาทที่แข็งค่าจะกระทบรายได้บาท ลดลง ในด้านต้นทุนบาทแข็งค่าจะทำให้ต้นทุนวัตถุดิบนำเข้าต่ำลง แต่หากสัดส่วนการส่งออกกับการนำเข้าวัตถุดิบไม่สมดุลย์จะเกิด ผลกระทบต่ออัตรากำไรเช่นกัน ซึ่งเราเชื่อว่าผลกระทบค่าเงินแข็งค่า นี้จะเกิดขึ้นเต็มไตรมาส 4/54