posttoday

หุ้นเช้า31มค. ปิด ลดลง 10.27 จุด

31 มกราคม 2560

ดัชนีหุ้นไทยปิดทำการ เช้าวันที่ 31 ม.ค. ที่ 1,580.29 จุด ลดลง 10.27 จุด มูลค่าซื้อขาย 23,982.43 ล้านบาท

ดัชนีหุ้นไทยปิดทำการ เช้าวันที่ 31 ม.ค. ที่ 1,580.29 จุด ลดลง  10.27 จุด มูลค่าซื้อขาย 23,982.43 ล้านบาท

มูลค่าหลักทรัพย์ที่มีมูลค่าการซื้อขายสูงสุด 5 อันดับ ได้แก่


PTT ปิด 408  บาท ลดลง -10 บาท มูลค่าซื้อขาย   1,413 . 48 ล้านบาท
AOT ปิด 414 บาท บวก6 บาท มูลค่าซื้อขาย  1,382 . 95 ล้านบาท
PTTEP ปิด 99 บาทลดลง 3 บาท มูลค่าซื้อขาย 1,316 .46ล้านบาท
DTAC ปิด 40.50บาทลดลง 1 บาท มูลค่าซื้อขาย 925 .10 ล้านบาท
STA ปิด 25 บาทลดลง  1.50  บาท มูลค่าซื้อขาย 808 .38 ล้านบาท

นักวิเคราะห์ บลเอเซียพลัส กล่าวว่า หุ้นไทยดิ่งตามหุ้น ตลาดหุ้นทั่วโลกกังวลต่อนโยบายต่างประเทศของทรัมป์  เชื่อว่าทั่วโลกยังให้น้ำหนักต่อการดำเนินนโยบายของทรัมป์ฯ หลังจากประกาศยกเลิกวีซ่ากับ 7 ประเทศมุสลิม เป็นเวลา 90 วัน และห้ามมิให้ผู้อพยพเข้าประเทศสหรัฐเป็นเวลา 120 วัน  และเตรียมจัดเก็บภาษีนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้น 20% เพื่อจะนำภาษีดังกล่าวมาสร้างกำแพงกั้นพรมแดนสหรัฐและเม็กซิโก เพื่อกีดกันแรงงานผิดกฎหมาย และเชื่อว่า จีน เป็นประเทศถัดมาที่น่าจะได้รับผลกระทบจากที่เคยนำเสนอมาตลอดว่า จีนได้ดุลการค้ากับสหรัฐสูงสุดราว 40% ของการขาดดุลทั้งหมดปีละ 4 แสนล้านเหรียญฯ (ขณะที่เม็กซิโกได้ดุลการค้ามากสุดอันดับ 4 ราว 7.6% ของขาดดุลการค้าสหรัฐทั้งหมด)   โดยสินค้าส่งออกหลักของจีนคือ คอมพิวเตอร์ และชิ้นส่วนเครื่องมือสื่อสาร (ราว 43.8% ของยอดส่งออกจีนทั้งหมด)  รองลงมาคือ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม 10.9% และ เหล็ก 5.7%  โดยมีแนวโน้มจะขึ้นภาษีนำเข้าจากระดับต่ำสุดที่ 3%  เป็น 45% เช่น ภาษีสิ่งทอฯ ปัจจุบันอยู่ที่ 5-6.5% จะเพิ่มเป็น 10-13%  เป็นต้น
 
ขณะที่ไทย  แม้ส่งออกไปสหรัฐนำเข้าไทยราว 10% ของมูลค่าส่งออกรวมของไทย  (สินค้าส่งออกหลัก คือ แผงวงจรชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้สำนักงาน ยางแผ่นและยางแท่ง และอาหารทะเล เป็นต้น)  แต่ไทยค้าขายกับจีนราว 11.05% ของยอดส่งออกรวมทั้งหมด  (สินค้าส่งออกหลักคือ ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เม็ดพลาสติก ยางพารา มันสำปะหลัง และเคมีภัณฑ์ ตามลำดับ) และประเทศสหรัฐสมาชิก ในอาเซียนมีการค้าขายกับจีนด้วยเช่นกัน ผลกระทบสุทธิต่อไทยจึงมีทั้งทางตรงและทางอ้อม

ส่วนในสัปดาห์นี้ การประชุมธนาคารกลางโลกหลายแห่งเชื่อว่าไม่มีอะไรใหม่  โดยวันที่  30-31 ม.ค.60 ธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ) คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% และวงเงิน QE ที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปี เช่นเดิม  และระหว่าง 31 ม.ค. - 1ก.พ.60 การประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เชื่อว่าปี 2560 ยังเดินหน้าขึ้นนดอกเบี้ย 4 ครั้ง  โดยผลสำรวจของ Bloomberg  ให้น้ำหนักการขึ้นดอกเบี้ยในงวด 2H60 เป็นต้นไป และ 2 ก.พ. การประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) คาดคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.25%  หลังจากได้ปรับลดลงไปเมื่อปลายปี 2559 เพราะกังวลต่อปัญหา Brexit