posttoday

ดัชนีหุ้นไทยป่วนปิดตลาด+0.88จุด

11 พฤศจิกายน 2556

สถานการณ์การเมืองป่วนตลาดหุ้นไทย ช่วงเช้าปิดลบ บ่ายตีกลับ ทำให้ดัชนีกลับมาใกล้เคียงวานนี้ได้ นักวิเคราะห์ยันพรุ่งนี้สะท้อนการเมืองชัดเจน แนะรอดูสถานการณ์

สถานการณ์การเมืองป่วนตลาดหุ้นไทย ช่วงเช้าปิดลบ บ่ายตีกลับ ทำให้ดัชนีกลับมาใกล้เคียงวานนี้ได้ นักวิเคราะห์ยันพรุ่งนี้สะท้อนการเมืองชัดเจน แนะรอดูสถานการณ์

ดัชนีปิดที่ 1405.91 จุดเพิ่มขึ้น 0.88 จุดหรือ เพิ่มขึ้น0.06% โดยเคลื่อนไหวระหว่าง1379.79-1408.53 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 32278.83 ล้านบาท

มูลค่าซื้อขาย 5 อันดับแรกคือ 

บริษัทแอดวานอินโฟร์เซอร์วิส(ADVANC ) ปิดที่  234.00 บาท +6.00บาท (+2.63%) 
บริษัททรูคอร์ปอเรชัน(TRUE ) ปิดที่  8.05  บาท-0.05บาท (-0.62%) 
บริษ้ัทชินคอร์ปอเรชั่น(INTUCH ) ปิดที่ 78.75 บาท +1.25บาท (+1.61%) 
ธนาคารไทยพาณิชย์(SCB  )ปิดที่  167.00 บาท +0.50บาท (+0.30%) 
บริษัทซีพีออลล์(CPALL  )ปิดที่  40.25บาท  -0.25บาท (-0.62%)

นายอดิศักดิ์ ผู้พิพัฒน์หิรัญกุล นักกลยุทธ์การลงทุน ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์(บล.)ธนชาต ให้ความเห็นว่า ดัชนีผันผวนช่วงเช้าลดลง 20 จุด จนดัชนีหลุด 1400 จุด แล้วช่วงบ่ายดีดกลับขึ้นมาเหนือ 1400 จุดเป็นการดีดตัวขึ้นตามเทคนิคและเชื่อว่าดัชนีคงไปได้ไม่ไกลและเชื่อว่าวันพรุ่งนี้จึงจะเห็นผลกระทบจากสถานยการณ์การเมืองอย่างชัดเจนเพราะกว่าจะรู้ผลการตัดสินการปักปันเขตแดนปราสาทพระวิหารก็ปิดตลาดหุ้นวันนี้ไปแล้ว
อย่างไรก็ตามได้แนะนำให้นักลงทุนรอดูสถานการณ์จนกว่าเหตุการณ์การเมืองจะชัดเจนจึงค่อยทยอยเข้าซื้อ

นายสมบัติ เอกวรรณพัฒนา นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์(บล.)ดีบีเอสวิคเคอร์ส กล่าวว่า กลุ่มหุ้นที่ได้รับผลกระทบทางลบจากเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมือง และเสถียรภาพของรัฐบาล เพราะเกี่ยวกับความมั่นใจของผู้บริโภคได้แก่ กลุ่มท่องเที่ยว ตัวเด่นๆ เช่นบริษ้ัทไมเนอร์อินเตอร์เนชั่นแนล( MINT)โรงแรมเซ็นทรัลพลาซ่า( CENTEL )กลุ่มที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง เช่นบริษัทท่าอากาศยานไทย( AOT)บริษัทการบินไทย( THAI)บริษัทเอเชียเอวิชันส์( AAV )และบริษัทสายการบินนกแอร์( NOK)กลุ่มพาณิชย์ และนิคมอุตสาหกรรม เช่นบริษัทอมตะคอร์ปอเรชัน( AMATA)บรืษัทเหมราชพัฒนาที่ดิน( HEMRAJ )และบริษัทสวนอุตสาหกรรมโรจนะ( ROJNA )และงานอาจเกิดความล่าช้าได้เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เช่น ผู้รับเหมาก่อสร้างบริษัทอิตาเลี่ยนไทยดิเวลล๊อปเมนต์( ITD)บริษัทช.การช่าง( CK )และบริษัทซิโท-ไทยเอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชัน( STEC )กลุ่มวัสดุก่อสร้าง เช่นบริษัทปูนซิเมนต์ไทย( SCC)บริษัทปูนซิเมนต์นครหลวง( SCCC )แต่กลุ่มหลักทรัพย์ที่ได้รับผลกระทบน้อยคือ พลังงาน เช่นบริษัทปตท.( PTT)บริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม( PTTEP)บริษัทบางจากปิโตรเลียม( BCP )และสื่อสาร เช่นบริษัทแอดวานอินโฟร์เซอร์วิส( ADVANC)บริษัทโทเทิ่ลแอ็คเซ็สคอมมูนิเคชัน( DTAC )และบริษัททรูคอร์ปอเรชัน( TRUE)

กลุ่มหลักทรัพย์ที่ทำธุรกิจที่ประเทศกัมพูชา ที่วันนี้จะมีการตัดสินเขาพระวิหาร ซึ่งมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้น ได้แก่บริษัทสามารถคอร์ปอเรชัน( SAMART) บริษัทไทยคม(THCOM)บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งส์( RATCH) PTTEPธนาคารกรุงไทย( KTB )และบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร( CPF )คาดว่าจะเกิดจิตวิทยาทางลบมากกว่า เพราะไม่ได้เป็นธุรกิจหลัก บางบริษัทถือว่าเป็นส่วนน้อยมาก โดยธุรกิจหลักยังคงอยู่ที่ประเทศไทยบริษัทเอสซีแอสเสท( SC )อาจได้รับผลจิตวิทยาทางลบ หากรัฐบาลมีเสถียรภาพที่น้อยลง เพราะผู้ถือหุ้นใหญ่ปัจจุบันคือ ตระกูลชินวัตร ได้แก่ น.ส. แพทองธาร ชินวัตร 29.13% น.ส.พิณทองทา ชินวัตร 28.19% และนายบรรณพจน์ ดามาพงค์ 4.82% แต่ในความเป็นจริงไม่เกี่ยวกับปัจจัยพื้นฐาน เพราะประกอบธุรกิจอย่างมืออาชีพ

บริษัทบีทีเอสกรุ๊ปโฮลดิ้ง( BTS)บริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ( BMCL )จะได้รับทั้งข้อดี และข้อเสีย ข้อดีคือ การปิดถนนหนทาง ในการชุมนุมของประชาชน ทำให้บางถนนใช้การไม่ได้ไม่เหมาะกับการใช้รถยนต์ส่วนตัว หรือ ม็อบมาใช้รถไฟฟ้ามากขั้นในการเดินทางไปชุมนุม ล้วนแล้วแต่ทำให้ผู้ใช้บริการ (ridership) สูงขึ้น แต่จะกลับเป็นข้อเสียในระยะสั้น หากการเมืองรุนแรง ทำให้ต้องปิดใช้บางสถานี อย่างที่เคยเกิดขึ้นในปี 53 ที่มีม็อบเสื้อแดง ที่ถนนราชประสงค์ อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ในครั้งนั้น ถือว่ามีผลกระทบน้อยมาก