posttoday

สรรพกร-เบเคอร์ฯ ชี้ภาระภาษีสินทรัพย์ดิจิทัลแต่ละประเภท เห็นชัดเจนในปี64-65

24 สิงหาคม 2564

'สรรพกร' เผยเก็บภาษีคริปโตฯ และเหรียญโทเคน จากกำไรที่ได้ ด้านเบเคอร์ฯ ระบุนักลงทุน-ผู้ประกอบการ ต้องศึกษาข้อมูลโทเคนแต่ละประเภท ชี้ภาครัฐทำแซนด์บ็อกซ์ ปรับตัวรับกระแสอัลเทอร์เนทีฟ ไฟแนนซิง

จากงานสัมมนาออนไลน์ POSTTODAY CRYPTOCURRENCY FORUM 2021"สินทรัพย์ดิจิทัล ทางเลือกลงทุนใหม่ หรือแค่ช่องทางเก็งกำไร" จัดโดย กองบรรณาธิการโพสต์ทูเดย์ ออนไลน์ พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในภาค กฎหมายและภาษีที่เกี่ยวข้องในอุตสาหรกรมสินทรัพย์ดิจิทัล นายอัคร ราชย์ บุญญาศิริ นักวิชาการภาษีชำนาญการพิเศษ กรมสรรพากร และนางสาวกุลรัตน์ ผ่องสถาพร Partner, Baker & McKenzie บริษัที่ปรึกษาด้านกฎหมาย ให้เกียรติร่วมบรรยายในห้อข้อ Crypto TALK II กฎหมายและภาษีเกี่ยว กับสินทรัพย์ดิจิทัล

นายอัครราชย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาการเก็บภาษีจะเก็บลงทุนผ่านหุ้น ตราสารหนี้ กองทุนรวม กองทุนทรัสต์ เมื่อได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน เช่นการลงทุนในหุ้น ได้ปันผลจะต้องเสียภาษี 10% เป็นต้น

สำหรับภาระภาษีจากการลงทุนจากสินทรัพย์ดิจิทัล เริ่มคิดทำกันปี 2561 แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ คริปโทเคอเรนซี และโทเคนดิจิทัล ในส่วนของคริปโทเคอเรนซี ถือเป็นสินค้าที่ต้องเสียภาษีหากขายแล้วมีกำไรต้องเสียภาษี บุคคลธรรมดามีกำไรเสียภาษี 15% หากนิติบุคคลธรรมดาต้องนำกำไรไปรวมกับการเสียภาษี

นอกจากนี้ การแลกเปลี่ยนคริปโทเคอเรนซี ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มหากมายอดขายเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเหมือนธุรกิจอื่นๆ

ในส่วนของโทเคนดิจิทัล ถือเป็นสินค้ามีภาระภาษีเงินได้ ส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากเงินปันผล ต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดาและภาษีเงินได้นิติบุคคล รวมถึงการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเหมือนกับคริปโทเคอเรนซี ซึ่งเป็นแนวทางที่ดำเนินการปี 2561 มาจนถึงปัจจุบัน และเชื่อว่าแนวทางการจัดเก็บภาษีสินทรัพย์ดิจิทัลแต่ละประเภทจะเห็นความชัดเจนในปลายปี2564 หรือราวต้นปี2565

ด้าน นางสาวกุลรัตน์ กล่าวว่าสิ่งที่นักลงทุนจะต้องตระหนักในการลงทุน สินทรัพย์ดิจิทัล คือ ควรหาความรู้และทำความเข้าใจต่อประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในสินทรัพย์ดิจิทัลที่ตนเองลงทุน พร้อมตรวจสอบผู้ให้บริการต่างๆ ถึงความน่าเชื่อถือหรือไม่ ด้วยประเภทสินทรัพย์ดิจิทัล ตามกฎหมายไทยอยู่ภายใต้การกำกับกฎหมายสินทรัพย์ดิจิทัล แบ่ง ออกเป็น 3 ประเภท 1. คริปโตเคอเรนซี หน่วยข้อมูลเเล็กทรอนิกส์ เป็น สิ่งที่สร้างเพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน สินค้า บริการ สินทรัพย์ ดิจิทัลอื่นๆ และ สิทธิอื่นใด

2.โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token) หน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ สร้างเพื่อกำหนดสิทธิในการร่วมลงทุนในโครงการ หรือ บริการ เช่น สิทธิในส่วนแบ่งรายได้ ผลกำไรจากการลงทุน (คล้ายหลักทรัพย์) และ 3.โทเคนเพื่อการใช้ประโยชน์ (Utility Token) เป็นหน่วย ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ สร้างเพื่อกำหนดสิทธิในการได้รับในสินค้า บริการ หรือ สิทธิอื่นใดที่เฉพาะเจาะจง เป็นต้น

"การลงทุนผ่านผู้ประกอบการธุรกิจที่มีใบอนุญาตในไทย คือ ได้ มาตรฐานต่างๆ ตามกฎหมายรับรอง โดยช่วงหลังๆมีคนลงทุนในดิจิทัลโทเคน หรือ ไอซีโอ เป็นการลงทุนในดิจิทัลโทเคนที่เสนอขายต่อประชาชนซึ่งผู้สนใจควรทำความเข้าใจ รู้จักสินทริพย์ดิจิทัลต่างๆก่อน รวมถึงการศึกษาไวท์เปเปอร์หลักของสินทรัพย์ฯ เพื่อดูความน่าเชือถือในแต่ละประเด็น ซึ่งในประเทศไทยเองมีคอมมูนิตีที่ให้ความรู้ ให้การสนับสนุน เป็นช่องทางที่ดีในการแนะนำนักลงทุนได้ รวมถึงการอ่านไฟลิ่งสำหรับไอซีโอในไทยด้วย" นางสาวกุลรัตน์ กล่าว

สำหรับกรณีผู้ประกอบการที่เตรียมพิจารณาการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาต่อยอดธุรกิจ จะต้องคำนึงอันดับแรก คือ สิ่งที่ต้องการทำเป็นโครงการ ประเภทใด ด้วยมีกฎหมายเข้ามาเกี่ยวข้องแตกต่างกันออกไปในแต่ละกรณี หรือ การมีภาระภาษีที่เข้ามาเกี่ยวข้องเพิ่มเติม ด้วยมีรายละเอียดแต่ละโทเคนออกมา โดยในประเทศไทยที่ผ่านมามีโปรเจคแรกและเป็นโปรเจคเดียวที่มีการออกโทเคน โดยการกำกับดูแลของ กลต. คือ อินเวสต์เมนต์ โทเคน 'สิริฮับ โทเคน' ที่มีกระแสรายรับจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นำมาจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้ถือโทเคน ดังกล่าว

นอกจากนี้ยังมีผู้ประกอบการธุรกิจบางรายเตรียมออก ยูทิลิตี โทเคน พร้อมใช้โดยไม่ต้อวผ่านไอซีโอ พอร์ทัล ซึ่งมีความต่างจากอินเวสต์เมนต์ โทเคน ที่ต้องถูกกำกับดูแลโดยกลต. ดังนั้นหากเปรียบเทียบในเชิงภาษี จะพบว่า ยูทิลิตี โทเคน ออกมาใช้แทนในแง่ของสินค้าบริการ ซึ่งหากมี การเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (Vat) ก็อาจมีความเป็นไปได้ ด้วยไม่ต่างกับการออกสินค้าบริการ

นางสาวกุลรัตน์ กล่าวว่าผู้ประกอบธุรกิจที่สนใจลงทุนสินทรัพย์ดิจิทัลมีโอกาสในหลายด้านในอนาคต เช่น โปรเจคที่เกี่ยวข้องกับการ ระดมทุนประเภทต่างๆ ที่มีทางเลือกหลากหลาย (Alternative Financing) ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในขณะนี้หรือไม่ ซึ่งกฎหมาย สินทรัพย์ดิจิทัลของไทย ได้มีการกำหนดให้การระดมทุนสินทรัพย์ดิจิทัลต่อประชาชนต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด คือ ผ่านไอซีโอ พอร์ทัล และการได้รับอนุญาตดำเนินการหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแล

"โจทย์หลักหากรัฐต้องการเข้ากำกับดูแลในอุตสาหกรรมนี้ ควรเป็นไปในรูปแบบสมดุลมองว่ามีประโยขน์กับประเทศได้ อาจมีโปรเจคแซนด์บ็อกซ์ เข้ามาช่วยหาคำตอบต่อไปด้วยเป็นเรื่องใหม่มาก เพราะเป็นโลกที่เร็วกว่าสินทรัพย์การเงินประเภทอื่นๆ ทำให้ในแง่กฎหมายแล้วต้องใช้ระยะเวลาในการพิจารณาพอสมควร" นางสาวกุงรัตน์ กล่าว

ผู้สนใจ สามารถรับชมเนื้อหาเต็มรูปแบบงานสัมมนา POSTTODAY CRYPTOCURRENCY FORUM 2021 "สินทรัพย์ดิจิทัล ทางเลือกลง ทุนใหม่ หรือแค่ช่องทางเก็งกำไร" ในหัวข้อเสวนา

  • ความท้าทายในการกำกับดูแลและการลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล

คุณจอมขวัญ คงสกุล ผู้ช่วยเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

  • คริปโต’สินทรัพย์ดิจิทัล ช่องทางลงทุนหรือเก็งกำไร

คุณพีรพัฒน์ หาญคงแก้ว ผู้ก่อตั้งเพจ Blockchain Review และกรรมการสมาคมสินทรัพย์ดิจิทัลไทย

คุณกานต์นิธิ ทองธนากุล ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุน Merkle Capital

ผู้ก่อตั้งเพจ Bitcoin Addict Thailand และเพจ Kim DeFi Daddy

  • การรองรับการซื้อขาย จากผู้ประกอบการ

ม.ล.หริรัศมิ์ ทองใหญ่ Project Director บริษัท ธนบุรี เฮลท์แคร์ กรุ๊ป จำกัด

ดร.เอกลาภ ยิ้มวิไล CEO Zipmex Thailand

ผ่านช่องทาง https://bit.ly/2Uxc6Hl