posttoday

โควิดพ่นพิษคนจนเอเชียเพิ่ม38ล้านคน

29 กันยายน 2563

ธนาคารโลกรายงานคนจนเอเชียเพิ่มขึ้นเป็น 38 ล้านคน สูงขึ้นครั้งแรกรอบ 20 ปี จากพิษโควิด-19

ธนาคารโลก รายงานว่า โควิด-19 ส่งผลให้เกิดความตื่นตระหนกในสามด้านที่มีต่อประเทศกำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก (EAP) ซึ่งประกอบไปด้วย ตัวของโรคระบาดเอง ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากมาตรการการควบคุมการแพร่ระบาด และการตกต่ำของเศรษฐกิจทั่วโลกซึ่งเกิดจากวิกฤตที่ยาวนาน ดังนั้นการดำเนินการอย่างรวดเร็วจึงเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้มั่นใจว่าโรคระบาดจะไม่ทำให้การเติบโตหยุดชะงักลงและเพิ่มความยากจนในอีกหลายปีที่กำลังจะมาถึง

ทั้งนี้ กิจกรรมของเศรษฐกิจภายในประเทศกำลังฟื้นตัวในบางประเทศที่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้มาจนถึงทุกวันนี้ แต่เศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ยังคงต้องพึ่งพาประเทศอื่น ๆ ในโลกนี้อย่างมาก และความต้องการของทั่วโลกนั้นยังคงต่ำอยู่ มีการคาดการณ์ว่าการเติบโตของภูมิภาคนี้จะสูงขึ้นเพียงแค่ 0.9% ในปี 2563 ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่ต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2510 ในขณะที่มีการคาดการณ์ว่าจีนจะเติบโตขึ้น 2.0% ในปี 2563 อันเนื่องมาจากการเพิ่มการลงทุนของภาครัฐในขณะเดียวกันจีนยังสามารถควบคุมอัตราการติดเชื้อใหม่ในระดับที่ต่ำได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม สาหรับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค EAP นั้น มีการประมาณการว่าเศรษฐกิจจะหดตัวลง 3.5%

โอกาสสาหรับภูมิภาคนี้จะดูสดใสขึ้นในปี 2564 ด้วยการคาดการณ์การเติบโตในจีน 7.9% และ 5.1% ในประเทศอื่นๆ ของภูมิภาค โดยอ้างอิงจากสมมติฐานของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นปกติในประเทศที่สาคัญของภูมิภาคและเชื่อมโยงกับความเป็นไปได้ในการมีวัคซีน อย่างไรก็ตาม ในอีก 2 ปีข้างหน้ามีการคาดการณ์ผลผลิตไว้ว่าจะยังคงต่ำกว่าการคาดการณ์ในช่วงก่อนเกิดโรคระบาด แนวโน้มทางเศรษฐกิจจะแย่มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับประเทศที่ได้รับผลกระทบในหมู่เกาะแปซิฟิก ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าตลอดปี 2564 ผลผลิตจะยังคงต่ำกว่าระดับช่วงก่อนเกิดเหตุวิกฤตอยู่ 10% โดยประมาณ

ความยากจนในภูมิภาคนี้มีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 20 ปี โดยมีประชากรจานวน 38 ล้านคนที่คาดการณ์ว่าจะยังตกอยู่ในความยากจน หรือต้องกลับไปอยู่ในความยากจนซึ่งเป็นผลมาจากโรคระบาด (อ้างอิงจากเส้นแบ่งความยากจนของระดับรายได้กลาง-สูงที่ 5.50 ดอลลาร์ต่อวัน)

เนื่องจากเหตุการณ์โควิด-19 รัฐบาลของประเทศต่างๆ ในภูมิภาค EAP ได้กาหนดให้มีการใช้เกือบ 5% ของ GDP โดยเฉลี่ยเพื่อปรับปรุงระบบสาธารณสุข ช่วยเหลือครัวเรือนเพื่อให้เกิดการบริโภคอย่างต่อเนื่อง และช่วยธุรกิจให้รอดพ้นจากการล้มละลาย อย่างไรก็ตามหลายประเทศพบว่ามันเป็นสิ่งที่ยากในการขยายโครงการการคุ้มครองทางสังคมที่มีอยู่อย่างจำกัด เนื่องจากก่อนหน้านี้ ประเทศเหล่านี้ใช้จ่ายน้อยกว่า 1% ของ GDP และการให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องจะสร้างแรงกดดันให้กับฐานรายได้ของรัฐ

“โควิด-19 ไม่เพียงแต่กระทบกลุ่มคนยากจนอย่างหนักหน่วงที่สุด แต่ยังสร้าง “คนจนกลุ่มใหม่” ขึ้นมา ภูมิภาคนี้ต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายต่างๆ อย่างที่ไม่เคยคาดคิดมาก่อน และรัฐบาลกาลังเผชิญกับทางเลือกที่ยาก” วิคตอเรีย กวากวา รองประธานธนาคารโลกประจาภูมิภาคเอเชียตะวันออกและแปซิฟิก กล่าว “แต่ยังมีทางเลือกของนโยบายที่ชาญฉลาดที่ช่วยลดการเกิดสถานการณ์ที่ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น การลงทุนในการตรวจคัดกรองและความสามารถในการติดตาม และการขยายการให้ความคุ้มครองทางสังคมอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยเหลือคนจนและผู้ที่อยู่นอกระบบ”

รายงานแจ้งเตือนว่าหากไม่มีการดาเนินการเพื่อรับมือในรูปแบบที่หลากหลาย โรคระบาดอาจทำให้การเติบโตของภูมิภาคน้อยลงในช่วงทศวรรษหน้าคิดเป็น 1% จุดต่อปี ซึ่งกระทบต่อครัวเรือนที่ยากจนมากที่สุดโดยรับรู้ได้จากระดับการเข้าถึงการให้บริการสาธารณสุข การศึกษา งาน และเงิน อยู่ในระดับที่ต่ำลง

กลุ่มธนาคารโลก จะใช้เงินทุนจำนวน 160,000 ล้านดอลลาร์ในการสนับสนุนทางการเงินตลอดช่วงระยะเวลา 15 เดือนเพื่อช่วยเหลือมากกว่า 100 ประเทศเพื่อให้ความคุ้มครองแก่คนจนและผู้ที่เปราะบาง พัฒนาทุนมนุษย์ ช่วยเหลือธุรกิจ และค้ำจุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยรวมถึงเงินจำนวน 50,000 ล้านดอลลาร์ซึ่งเป็นเงินทุนก้อนใหม่ของ IDA ผ่านการให้เงินช่วยเหลือและการให้เงินกู้แบบผ่อนปรน