posttoday

ครบรอบ 1 ปี Lehman Brothers ล้มละลาย... แล้วอะไรจะเกิดขึ้นอีก

15 กันยายน 2552

ส$lt;B>วัสดีครับทุกท่าน บทความในสัปดาห์นี้ซึ่งบังเอิญตรงกับวันที่ 15 ก.ย. ซึ่งวันนี้ในปีที่แล้วเป็นวันที่ Lehman Brothers วาณิชธนกิจเก่าแก่ใน Wall Street ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับวงการการเงินโลก โดยการประกาศล้มละลาย ซึ่งกลายเป็นต้นเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจในปั

ส$lt;B>วัสดีครับทุกท่าน บทความในสัปดาห์นี้ซึ่งบังเอิญตรงกับวันที่ 15 ก.ย. ซึ่งวันนี้ในปีที่แล้วเป็นวันที่ Lehman Brothers วาณิชธนกิจเก่าแก่ใน Wall Street ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับวงการการเงินโลก โดยการประกาศล้มละลาย ซึ่งกลายเป็นต้นเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจในปั

ดังนั้น เพื่อไม่ให้ตกเทรนด์ผมจึงอยากจะขอนำเสนอมุมมองของผมต่อเหตุการณ์สำคัญครั้งนี้ด้วยคน แต่การนำเสนอความเห็นของผมนั้น ผมจะวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอีก 1 ปีข้างหน้า เนื่องจากผมเห็นว่าจะมีเรื่องราวใหม่ๆ ที่น่าสนใจเกิดขึ้น ส่วนเรื่องราวในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา หลังการล้มละลายของ Lehman Brothers ผมคิดว่ามีการนำเสนอประเด็นดังกล่าวมากพอสมควรแล้ว

สำหรับความเห็นส่วนตัวของผม ผมประเมินว่า ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา วิกฤตการเงินและเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นมีผลช่วยให้เกิดการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลง (Change) ในหลายภาคส่วน ทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ประเด็นในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงถูกหยิบยกขึ้นเป็นตัวอย่างที่ดี รวมถึงเรื่องการกำกับดูแลสถาบันการเงินเพื่อไม่ให้ดำเนินธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ตราสารอนุพันธ์ แต่สำหรับความเห็นของผมนั้น การเปลี่ยนแปลงยังคงไม่เท่ากับความคาดหวังหรือความตั้งใจของผู้ดำเนินนโยบาย (Policy Maker) ดังนั้นผมจึงประเมินว่าวิกฤตเศรษฐกิจในปัจจุบันยังคงไม่ได้รับการแก้ไขอย่าง เต็มที่ ดังนั้นจึงยังคงไม่สามารถไว้วางใจได้ว่าเศรษฐกิจจะสามารถฟื้นตัวได้อย่างมีเสถียรภาพ สำหรับประเด็นที่ผมอยากจะนำเสนอไว้ในเบื้องต้นว่าน่าจะเป็นประเด็นสำคัญในช่วง 1 ปีจากนี้ไป มีดังนี้

การแยกตัวกันของเศรษฐกิจแต่ละประเทศ ผมคาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจในแต่ละประเทศมีโอกาสที่จะแยกตัวออกจากกัน ทั้งนี้เนื่องจากพื้นฐานเศรษฐกิจของแต่ละประเทศที่แตกต่างกัน รวมถึงวงเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจในแต่ละประเทศที่ไม่เท่ากัน ซึ่งผลของการกระตุ้นเศรษฐกิจคาดว่าจะเริ่มเห็นผลอย่างชัดเจนมากขึ้นในช่วง 6 เดือนข้างหน้า ในเบื้องต้นสามารถสรุปได้ว่า ประเทศในเอเชียมีโอกาสมากที่จะฟื้นตัวได้เร็วกว่าประเทศในสหรัฐ และยุโรป เนื่องจากภาคสถาบันการเงินมีความพร้อมในการกลับมาปล่อยสินเชื่อได้เร็วกว่า เนื่องจากเกิดความเสียหายไม่มาก และที่สำคัญประเทศในเอเชียสามารถระดมทุนในประเทศได้ถึงแม้ต้นทุนจะสูงขึ้นก็ตาม

การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย ผมคาดว่าทุกประเทศทั่วโลกคงต้องมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายใน 1 ปีข้างหน้า โดยเร็วที่สุดน่าจะเป็นไตรมาส 1/2553 ทั้งนี้เนื่องจากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อจะเริ่มเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาสินค้าวัตถุดิบเริ่มปรับตัวขึ้นแล้ว โดยเฉพาะวัตถุดิบหลัก เช่น น้ำมัน เหล็ก และสินค้าเกษตร ในขณะเดียวกัน คาดว่าปริมาณเงินที่อยู่ในระบบเป็นจำนวนมากจะเริ่มส่งผลให้เกิดความเสี่ยงเงินเฟ้อมากขึ้น เนื่องจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคเริ่มปรับตัวดีขึ้น

การกีดกันทางการค้า ผมประเมินว่าวิกฤตเศรษฐกิจที่เริ่มคลี่คลายจะส่งผลให้ระดับของความร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจลดลง โดยมีความเสี่ยงที่จะหันกลับมาดูแลเศรษฐกิจของประเทศตนเองมากขึ้น โดยปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศกำลังเผชิญ คือ การค้าระหว่างประเทศลดลง ดังนั้นหากจำกันได้ในช่วงต้นปีทุกท่านจะได้ยินคำว่า Buy America หรือ Buy China ซึ่งผมคาดว่าความคิดเหล่านั้นจะกลับมาอีก ด้วยเหตุผลที่ทุกประเทศต้องการลดการขาดดุลการค้า

การเมืองสหรัฐ ผมประเมินว่า สถานการณ์การเมืองในสหรัฐมีความน่าสนใจที่ต้องติดตามมากขึ้น โดยมีประเด็นสำคัญ คือ คะแนนความนิยมของประธานาธิบดี โอบามา ลดลง ทั้งนี้เนื่องจากประชาชนมีความคาดหวังสูงมากที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลง แต่สิ่งที่เกิดขึ้น คือ นโยบายของประธานาธิบดี โอบามา กำลังถูกคัดค้านจากหลายฝ่าย โดยเฉพาะคนเสียภาษีที่ยังคงไม่พอใจกับการอุ้มสถาบันการเงิน และการที่จะแก้ไขโครงสร้างด้านสาธารณสุข ซึ่งต้องใช้เงินภาษีจำนวนมาก หากการเมืองของสหรัฐเกิดปัญหาย่อมไม่ส่งผลดีต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐและของโลกอย่างแน่นอน

ฟองสบู่ในตลาดหุ้น ในความเป็นจริงแล้วผมมีความเป็นห่วงในเรื่องนี้ไม่มากนัก เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่คาดว่าจะฟื้นตัวขึ้นในระยะยาว แต่เนื่องจากระดับราคาหุ้นมีการปรับขึ้นมาเร็วมาก โดยอาศัยสภาพคล่องส่วนเกินในระบบเป็นแรงผลักดัน และส่วนหนึ่งคาดว่าจะเริ่มมีการใช้ เงินกู้มาลงทุนด้วย ทั้งนี้เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยในปัจจุบันต่ำมาก เช่น สหรัฐ ส่งผลให้การทำ Carry Trade มีปริมาณที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น หากเศรษฐกิจไม่ฟื้นตัวตามที่คาดการณ์ หรืออัตราดอกเบี้ยเริ่มปรับตัวขึ้น ย่อมเป็นความเสี่ยงที่จะทำให้ตลาดหุ้นปรับตัวลดลงอย่างรุนแรง

เงินหยวนของจีนมีบทบาทมากขึ้น การอ่อนค่าของเงินเหรียญสหรัฐในระดับที่มากที่สุดในรอบ 1 ปี เป็นสัญญาณเตือนภัยว่าในอีก 1 ปีข้างหน้า การอ่อนค่าของเงินเหรียญสหรัฐมีโอกาสที่จะยังคงดำเนินต่อไป เนื่องจาก 1) ปัญหาพื้นฐานของสหรัฐ คือ การขาดดุลแฝด (ขาดดุลการค้า และขาดดุลบัญชีเดินสะพัด) 2) การเพิ่มบทบาทของเงินหยวนของจีน ซึ่งผมประเมินว่า จีนได้มีการเตรียมพร้อมที่จะผลักดันให้เงินหยวนเป็นที่ยอมรับมากขึ้นแล้ว ในประเด็นนี้ผมยังคงห่วงในเรื่องค่าเงินบาทของไทยด้วยที่อาจจะกลับมาแข็งค่าขึ้นอีก เนื่องจากเงินทุนไหลเข้า ในขณะที่เครื่องมือในการจัดการยังคงมีไม่มาก อย่างไรก็ตาม ผมยังคงเชื่อมั่นว่าเงินเหรียญสหรัฐยังคงจะเป็นเงินสกุลหลักของโลก

อุตสาหกรรมดาวรุ่ง หลังจากภาวะเศรษฐกิจดีขึ้นคาดว่าจะส่งผลให้ภาคธุรกิจกลับมาเดินหน้าทำธุรกิจต่อไป โดยอุตสาหกรรมที่ผมประเมินว่ายังคงเป็นอุตสาหกรรมดาวรุ่ง ได้แก่ พลังงานทางเลือก หรือพลังงานทดแทน แล้วแต่ว่าจะเรียกทั้งนี้ เพราะเรื่องของภาวะโลกร้อน มลภาวะเป็นพิษ เป็นเรื่องที่มีผลกระทบต่อประชาชนมากขึ้น

พบกันใหม่สัปดาห์หน้าครับ