posttoday

สรุปภาวะตลาดตราสารหนี้ เดือนส.ค. 2552

15 กันยายน 2552

ในเดือนส.ค. 2552 มีปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้แบบปกติ (Outright) รวมทั้งสิ้นประมาณ 1.07 ล้านล้านบาท ลดลง 188,550 ล้านบาท จากเดือนที่ผ่านมา (ลดลง 15.02%) ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการซื้อขายจากการฝากประมูล 243,167 ล้านบาท หรือคิดเป็น 23% โดยที่มูลค่าของการซื้อขายส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพันธบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยคิดเป็น 77% ของมูลค่าการซื้อขายแบบปกติที่เกิดขึ้นทั้งหมด สำหรับผลตอบแทนตลาดวัดจากดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond Index) ปรับตัวลดลง 0.03% (มาอยู่ที่ 191.03) ส่วนดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corporate Bond Index) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.39% (มาอยู่ที่ 158.36) จากเดือนก่อน

ในเดือนส.ค. 2552 มีปริมาณการซื้อขายตราสารหนี้แบบปกติ (Outright) รวมทั้งสิ้นประมาณ 1.07 ล้านล้านบาท ลดลง 188,550 ล้านบาท จากเดือนที่ผ่านมา (ลดลง 15.02%) ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการซื้อขายจากการฝากประมูล 243,167 ล้านบาท หรือคิดเป็น 23% โดยที่มูลค่าของการซื้อขายส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพันธบัตรของธนาคารแห่งประเทศไทย โดยคิดเป็น 77% ของมูลค่าการซื้อขายแบบปกติที่เกิดขึ้นทั้งหมด สำหรับผลตอบแทนตลาดวัดจากดัชนีพันธบัตรรัฐบาล (Government Bond Index) ปรับตัวลดลง 0.03% (มาอยู่ที่ 191.03) ส่วนดัชนีหุ้นกู้เอกชน (Corporate Bond Index) ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.39% (มาอยู่ที่ 158.36) จากเดือนก่อน

ภาพรวมของเส้นอัตราผลตอบแทน (Yield Curve) เดือนส.ค. พบว่าตราสารอายุคงเหลือน้อยกว่า 10 ปี มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 7-17 bps. ส่วนในตราสารที่มีอายุคงเหลือ 10 ปีขึ้นไป ปรับตัวลดลงประมาณ 3-10 bps. ทั้งนี้สามารถสรุปถึงสาเหตุที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงในเส้นอัตราผลตอบแทน ได้ดังนี้

ในช่วง 2 สัปดาห์แรก เส้นอัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่ม/ลดตามปัจจัยจากต่างประเทศเป็นหลัก ทั้งจาก US Treasury, SWAP Curve และแรงซื้อ/ขายจากนักลงทุนต่างชาติ โดยในวันที่ 6 ส.ค. และวันที่ 10 ส.ค. เส้นอัตราผลตอบแทนปรับตัว เพิ่มขึ้นค่อนข้างมากประมาณ 10-20 bps. โดยมีสาเหตุมาจากการปรับตัวตาม US Treasury ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมถึงมีแรงขายจากนักลงทุนต่างชาติออกมาค่อนข้างมาก ส่วนในช่วงกลาง-ปลายสัปดาห์ที่ 2 เส้นอัตราผลตอบแทนเริ่มปรับตัวลดลงประมาณ 1-10 bps. เนื่องจากการประมูล LB233A (วันที่ 11 ส.ค.) ผลตอบแทนของการประมูลออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ทำให้เริ่มมีแรงซื้อกลับเขามาในตลาด

ในช่วงต้นสัปดาห์ที่ 3 เส้นอัตราผลตอบแทนปรับตัวลดลงต่อเนื่องอีกประมาณ 1-10 bps. โดยปัจจัยหลักนั้นยังคงมาจากปัจจัยจากต่างประเทศ เนื่องจากตัวเลขทางเศรษฐกิจของ US และ EU ที่ประกาศออกมาทั้งเรื่องการจ้างงานและยอดค้าปลีกที่หดตัวลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้ จึงทำให้นักลงทุนเริ่มโยกย้ายเงินมาลงทุนในตลาดตราสารหนี้ รวมถึงความกังวลในเรื่องของปริมาณอุปทานของพันธบัตรรัฐบาลในปีหน้าที่ตลาดคาดว่าอาจจะลดลง ทำให้มีแรงซื้อเพิ่มสูงขึ้น เส้นอัตราผลตอบแทนจึงปรับตัวลดลง

ในสัปดาห์สุดท้าย เส้นอัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อยประมาณ 1-5 bps. โดยช่วงต้นสัปดาห์เส้นอัตราผลตอบแทนปรับตัวเพิ่มขึ้นตาม US Treasury (US ปรับขึ้น 10 bps.) และวันที่ 26 ส.ค. ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศคงอัตราดอกเบี้ย RP 1 วัน ไว้ที่ระดับ 1.25% ตามเดิม ซึ่งเป็นไปตามความคาดการณ์ของตลาด จึงไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดแต่อย่างใด