posttoday

ธปท.หั่นศก.ไทยปีนี้เหลือ2.5%ปีหน้าแค่2.8%

18 ธันวาคม 2562

ตามคาด ธปท. หั่นเศรษฐกิจไทยปีหน้าโตไม่ถึง 3% ความเสี่ยงเพียบส่งออกทรุด ค่าเงินบาทแข็ง การลงทุนช้า การบริโภคชะลอ หนี้เสียสถาบันการเงินเพิ่ม

ตามคาด ธปท. หั่นเศรษฐกิจไทยปีหน้าโตไม่ถึง 3% ความเสี่ยงเพียบส่งออกทรุด ค่าเงินบาทแข็ง การลงทุนช้า การบริโภคชะลอ หนี้เสียสถาบันการเงินเพิ่ม

นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยว่า ที่ประชุม กนง. ได้ปรับคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปี 2562 เหลือ 2.5% จากเดิม 2.8% และเศรษฐกิจไทยปี 2563 จะขยายตัวได้ 2.8% จากเดิม 3.3% โดยเศรษฐกิจไทยปีนี้ขยายตัวได้น้อยกว่าปี 2561 ที่ขยายตัวได้ 4.1%

ทั้งนี้ ที่ประชุม กนง. ครั้งที่ 8 ที่เป็นครั้งสุดท้ายของปีนี้ มีมติเอกฉันท์ 7 ต่อ 0 ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้เท่าเดิม 1.25% เนื่องจากประเมินว่าเศรษฐกิจไทยยังขยายตัวได้ต่ำกว่าประมาณการเดิมและต่ำกว่าศักยภาพ จากการส่งออกที่ขยายตัวลดลง ส่งผลกระทบกับการจ้างงานและการบริโภคในประเทศ

นอกจากนี้ กนง. เห็นว่าการดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากชึ้น ช่วยเศรษฐกิจขยายตัวได้ดี และทำให้เงินเฟ้อเข้าสู่กรอบเป้าหมายมากขึ้น อย่างไรก็ตาม กนง. มองว่าแนวโน้มเศรษฐกิจโลกมีเสถียรภาพมากขึ้นในปีหน้า ส่งผลดีกับกับการส่งออกและการขยายตัวเศรษฐกิจ แต่ก็ยังขยายตัวได้ต่ำกว่าคาดการณ์เดิม และฟื้่นตัวได้ช้ากว่าที่คิดไว้ ส่วนภาคการท่องเที่ยวยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง

ในส่วนของการใช้จ่ายลงทุนภาครัฐและเอกชน ช้ากว่าที่คาด จากการลงทุนล่าช้าของรัฐวิสาหกิจในบางโครงการ การบริโภคเอกชนชะลอ จากรายได้ที่ลดลง และหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น

นอกจากนี้เศรษฐกิจไทยยังต้องติดความเสี่ยงสงครามการค้า ผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การใช้จ่ายภาครัฐ การลงทุนรัฐวิสาหกิจ และการลงทุนภาคเอกชนที่จะตามมา การดูแลเป้าหมายเงินเฟ้อ ที่เงินเพิ่มเพิ่มขึ้นช้ากว่าอดีต ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ สภาพคล่องการเงินสูง สินเชื่อสถาบันการเงินขยายตัวทั้งสินเชื่ออุปโภคบริโภคและสินเชื่อเพื่อการนลงทุน

นายทิตนันทิ์ กล่าวว่า กนง. เป็นห่วงและกังวลาค่าเงินบาทแข็งค่ากว่าคู่แข่ง จึงได้มีการติดตามต่อเนื่องใกล้ชิด ให้ติดตามมาตรการผ่อนคลายที่ออกไปก่อนหน้านี้ว่าได้ผลหรือไม่ และพร้อมออกมาตรการเพิ่มเติมหากมีความจำเป็น

นอกจากนี้ กนง. ยังติดตามระบบการเงินที่มีความเสี่ยงหนี้เสียของเอสเอ็มอีมากขึ้น แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการออกมาตรการดูแลไปได้รับดับหนึ่งแล้ว แต่ยังต้องติดตามดูแลการแสวงหาผลกำไรสูงจากภาวะดอกเบี้ยต่ำ การขยายหนี้ของผู้ประกอบการเอสเอ็มอี การก่อหนี้ธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีการประเมินความเสี่ยงต่ำเกินไป ทางธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงต้องมีการดำเนินการมาตรการแม็คโครพรูเด็นเชียล
ไมโครพรูเด็นเชียลกับสถาบันการเงินอย่างเหมาะสม และพร้อมออกเครืองมืออย่างเหมาะสมในการดูแลระบบสถาบันการเงินให้มีเสถียรภาพต่อไป