posttoday

เอดีบีคาดเศรษฐกิจไทยโต3%

25 กันยายน 2562

เอดีบีคาดเศรษฐกิจไทยปีนี้โต3% ปีหน้าโต 3.2% ได้แรงหนุนจากการลงทุนในโครงการอีอีซี

เอดีบีคาดเศรษฐกิจไทยปีนี้โต3% ปีหน้าโต 3.2% ได้แรงหนุนจากการลงทุนในโครงการอีอีซี

นายเทียม ฮีอึง เศรษฐกรอาวุโส ประจำธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) เปิดเผยว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2562 แม้ว่าจะมีการคาดการณ์ว่าจะฟื้นตัวได้ในครึ่งปีหลัง แต่ประมาณการการเติบโตเศรษฐกิจของทั้งปีจะลดลงจาก 4.1% ในปี 2561 มาอยู่ที่ 3.0% และปี 2563 จะขยายตัว 3.2%

เอดีบีคาดเศรษฐกิจไทยโต3%

ทั้งนี้จากสงครามการค้ากระทบการส่งออกสินค้าและบริการของไทยซึ่งคาดว่าจะขยายตัว 5.5% ต่อปีในรายงานฉบบัเดอืนเมษายน ปรับมาเป็นการหดตัว 3.5% ในปีหน้าหดตัว 3.0%

ด้านการลงทุนโดยรวมคาดว่าจะยังขยายตัวได้ในช่วงที่เหลือของปี ก่อนที่จะขยายตัวเร่งขึ้นในปี 2563 การลงทุนภาครัฐ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในปีหน้า จากการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่จะเริ่มก่อสร้างในปีหน้า

ขณะที่การลงทุนภาคเอกชนคาดว่าจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปเริ่มตั้งแต่ปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า ตามการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่เสรมิการลงทุน (บีโอไอ) ที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในครึ่งแรกของปี 2562 เพิ่มขึ้นมากกว่า 2 เท่า เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีมูลค่าเกือบ 150 พันล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นของโครงการลงทุนที่ตั้งอยู่ในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี)

การบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัว 5.0% ต่อปี ภาคการบริการคาดว่าจะขยายตัว 4.0% จากการที่รัฐบาลประกาศมาตรการอุดหนุนเงินนักท่องเที่ยวในประเทศ 1,000 บาท และยังให้ที่ได้สิทธิสามารถใช้จ่ายท่องเที่ยวและได้เงินคืนอีก 15% ของค่าใช้จ่ายไม่เกิน 3 หมื่นบาท ซึ่งจะช่วยชดเชยการลดลงของนักท่องเที่ยวต่างชาติได้

เศรษฐกิจไทยในปี 2562 คาดว่าจะขยายตัวช้ากว่าที่เอดีบี คาดการณ์ไว้เดิมในรายงานฉบบัเดือนเมษายนที่ผ่านมา แม้ว่า การบริโภคภาคเอกชนจะยังขยายตัวในเกณฑ์ดี แต่การส่งออกและการลงทุนที่อ่อนแอกว่าคาดเป็นตัวฉุดให้ผลิตภัณฑ์มวลรวม ภายในประเทศ (GDP) เติบโตลดลงกว่าที่คาดการณ์ไว้

ขณะเดียวกันอัตราเงินเฟ้อและการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดในครึ่งแรกของปีมีแนวโน้มเป็นไปในทิศทางเดีย วกับที่เคยคาดการณ์ไว้ ในรายงานฉบบัเดอืนเมษายน

เอดีบีคาดเศรษฐกิจไทยโต3%

นายเทียม ฮีอึง กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจไทย ครึ่งแรกของปี 2562การหดตัวของการส่งออกและการชะลอตัวของการลงทุนที่มากกว่าการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนส่งผลให้ GDP ขยายตวัลดลงจาก 4.8% ในครึ่งแรกของปี 2561มาอยู่ที่ 2.6% ในช่วงเดียวกันของปีนี้ ปริมาณ การส่งออกสินค้าและบริการ หดตัว 6.1% จากที่เคย ขยายตัว 8.8% ในปีก่อน จากปัญหาความขัดแย้งทาง การค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและสาธารณรัฐที่มากขึ้นจนส่งผลใหก้ารค้าโลกชะลอลงมลูค่าการส่งออกสินค้าหดตัว 4.1% ในรูปเหรียญสหรัฐลดลงจากการขยายตัว 12.4% ในปีก่อนหน้า

ซึ่งเป็นการหดตัวในทุกหมวดสิน ค้า โดย การส่งออกอิเล็กทรอนิกส์หดตัว 10.4% การส่งออกเครื่องจักรและอุปกรณ์หดตัง 4.5% และการส่งออกยานยนต์หดตัว 3.7% ยิ่งไปกว่านั้นรายรับจากการส่งออก สินค้าเกษตรยังลดลงจากการส่งออกข้าว ยางพารา และมันสำปะหลัง
นอกจากการส่งออกที่หดตัวแล้วการเติบโตของการลงทุนรวมภายในประเทศยังอ่อนแอลง จากที่ขยายตัว 3.5% ในครึ่งแรกของปี 2561 มาอยู่ที่ 2.6% ในครึ่งแรกของปีนี้

โดยการลงทุนภาคเอกชนยังขยายตัวในเกณฑ์ที่ดี 3.3% ขณะที่การลงทุนภาครัฐบาลขยายตัวเล็กน้อย 0.6% ซึ่ง การหดตัวของการส่งออกและการขยายตัวลดลงของการลงทุนรวม นั้นถูกชดเชยได้บ้างจากการบริโภคภายในประเทศที่ยังแข็งแกร่งโดยมี แรงสนับสนุนจากการขึ้น ค่าจ้างแรงงาน อัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำ และโครงการสวัสดิการแห่งรัฐ เพื่อผู้มีรายได้น้อย ซึ่งทำให้การบริโภคภาคเอกชนขยายตัวเร่งขึ้นจากระดับ 4.0% ในปีก่อนมาอยู่ที่ 4.6% การใช้จ่ายภาครัฐบาลขยายตัวในเกณฑ์ดีจากรายจ่ายเงินโอนและค่าตอบแทนบุคลากรที่สูงขึ้นต่อเนื่อง