posttoday

ธปท.หั่นศก.โต2.8%เหตุส่งออกทรุดติดลบ1%

25 กันยายน 2562

ธปท.ดับฝันรัฐบาลเศรษฐกิจโตเกิน 3% หลังจากปรับล่าสุดหั่นเหลือโต 2.8% คงดอกเบี้ยนโยบาย 1.5%

ธปท.ดับฝันรัฐบาลเศรษฐกิจโตเกิน 3% หลังจากปรับล่าสุดหั่นเหลือโต 2.8% คงดอกเบี้ยนโยบาย 1.5%

นายทิตนันทิ์ มัลลิกะมาส เลขานุการคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการ กนง. ในวันที่ 25 ก.ย. 2562 ว่า ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศไทยไว้ที่ระดับ 1.50% ต่อปี พร้อมทั้งได้มีการปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ในปีนี้ เหลือ 2.8% จากเดิม 3.3% และปรับลดจีดีพีในปี 2563 เหลือ 3.3% จากคาดการเดิม 3.7%

สาเหตุสำคัญที่เศรษฐกิจไทยในปีนี้ชะลอตัวลง มาจากการส่งออกสินค้าที่หดตัวมากกว่าที่ประเมินไว้ ตามเศรษฐกิจคู่ค้าและปริมาณการค้าโลกทีะลอลง จากสภาวะการกีดกันทางการค้าที่ทีวีความรุนแรงและขยายวงกว้างมากขึ้น และส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ในประเทศ ภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง รวมถึงการจ้างงาน ซึ่งเป็นผลกระทบจากปัญหาสงครามการค้าในช่วงที่ผ่านมา เริ่มส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยมากขึ้น ทำให้คาดว่าภาพรวมการส่งออกของไทยในปีนี้ จะขยายตัว -1.0% จากคาดการณ์เดิม 0% และในปี 2563 คาดว่าส่งออกจะขยายตัว 1.7% จากคาดการ์เดิม 4.3%

สำหรับการนำเข้าในปีนี้ คาดว่าจะขยายตัว -3.6% จากคาดการณ์เดิม -0.3% และในปี 2563 คาดว่านำเข้าจะขยายตัว 3.5% จากคาดการณ์เดิม 4.8%

ดังนั้น กนง. จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.50% ต่อปี เพราะประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้จากการส่งออกที่ลดลง ตามเศรษฐกิจคู่ค้าและปริมาณการค้าโลกที่ชะลอลงจากสภาวะการกีดกันทางการค้าที่ทวีความรุนแรงและขยายวงกว้างมากขึ้น

รวมทั้งวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ฟื้นตัวช้ากว่าคาด ภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลง สำหรับด้านอุปสงค์ในประเทศ การบริโภคภาคเอกชนมีแนวโน้มชะลอลงจากรายได้และการจ้างงานที่ปรับลดลงโดยเฉพาะในภาคการผลิตเพื่อส่งออก

นอกจากนี้ยังมีแรงกดดันจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงผลกระทบจากภัยธรรมชาติ แม้ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้

อย่างไรก็ดี การย้ายฐานการผลิตมายังไทยและโครงการร่วมลงทุนของรัฐและเอกชนในโครงสร้างพื้นฐานจะช่วยสนับสนุนการลงทุนในระยะต่อไป การใช้จ่ายภาครัฐมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่าที่ประเมินไว้ ส่วนหนึ่งจากการเลื่อน
การลงทุนของรัฐวิสาหกิจ